ระวัง “ขยี้ตา” อาจแพร่-รับเชื้อ “โควิด-19” เพราะติดต่อทางน้ำตาได้

ระวัง “ขยี้ตา” อาจแพร่-รับเชื้อ “โควิด-19” เพราะติดต่อทางน้ำตาได้

ระวัง “ขยี้ตา” อาจแพร่-รับเชื้อ “โควิด-19” เพราะติดต่อทางน้ำตาได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา  อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้

ผู้ป่วยโควิด-19 บางราย อาจมีอาการ “ตาแดง”

อาการตาแดง สามารถพบได้ในผู้ป่วยโควิด-19 บางราย ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ตาแดง ผื่น น้ำมูกไหล มีไข้ หรือบางรายไม่มีไข้ ซึ่งสามารถพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่แสดงอาการทางตาเพียงอย่างเดียวได้ แต่พบเป็นส่วนน้อยมากมีประมาณ 0.8-31% เท่านั้น

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า อาการตาแดงนั้นแยกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  1. ตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือ Adenovirus หรือเชื้อแบคทีเรีย 
  2. โรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งอาการตาแดงที่พบในโควิด-19 นั้นเข้าข่ายตกอยู่ในกรณีแรกคือ จากการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยอาการตาแดงจากโควิด-19 ไม่ใช่อาการใหม่ หากแต่พบมากขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ เกิดได้กับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง

พบเชื้อโควิด-19 ได้ในน้ำตาของผู้ป่วยโควิดอาการรุนแรงบางราย

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการพบว่าหากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ 

ดังนั้น หากมีอาการตาแดง อย่าเพิ่งตื่นตระหนกว่าติดเชื้อโควิด เพราะเยื่อบุตาอักเสบจากโควิดพบน้อยกว่าเยื่อบุตาอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ มาก และมักจะมีอาการทางกายอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิดร่วมด้วย

“ตาแดง” ไม่ได้มาจากการติดเชื้อโควิด-19 เพียงอย่างเดียว

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการตาแดงร่วมด้วยพบเชื้อไวรัสนี้ในน้ำตาสารคัดหลั่งเยื่อบุตาแพร่กระจายจากคนสู่คนโดยได้รับสารคัดหลั่งเช่นน้ำตา น้ำมูก น้ำลายที่มีเชื้อโรคผ่านทางระบบทางเดินหายใจ

ดังนั้น อาการที่ต้องเฝ้าระวังคือ 

  • ผื่น 
  • ตาแดง 
  • น้ำมูกไหล
  • บางรายอาจไม่มีไข้

อาการตาแดงนั้นไม่เฉพาะเจาะจงกับการติดเชื้อโควิด สามารถพบได้ในการติดเชื้อไวรัสทั่วไปได้เช่นเดียวกัน เช่น มีอาการน้ำตาไหล มีขี้ตาใสๆ ลักษณะเป็นเมือกได้ โดยอาการนี้พื้นฐานมีความใกล้เคียงกับโรคภาวะตาแห้ง อาการตาแดงจากการใส่ contact lens ภูมิแพ้ที่ตา ซึ่งอาจเป็นโรคประจำตัวของหลายๆ คน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น แนะนำปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

ไม่ควร “ขยี้ตา” อาจนำเชื้อสู่เยื่อบุตาได้

หากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา  อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ ดังนั้น หากมีอาการตาแดง อย่าเพิ่งตื่นตระหนกว่าติดเชื้อโควิด เพราะเยื่อบุตาอักเสบจากโควิดพบน้อยกว่าเยื่อบุตาอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ มาก และมักจะมีอาการทางกายอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิดร่วมด้วย

สาเหตุของอาการตาแดงอื่นๆ

แพทย์หญิงวธูกานต์ รุ่งภูวภัทร จักษุแพทย์ด้านกระจกตา และแก้ไขสายตาผิดปกติ กล่าวเสริมว่า จากอาการตาแดงที่เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีตาแดงนอกเหนือจากการติดเชื้อโควิดได้ ได้แก่ 

  • กระจกตาอักเสบเป็นแผล 
  • กระจกตาติดเชื้อ 
  • ม่านตาอักเสบ 
  • ต้อหินเฉียบพลัน 

เป็นต้น 

ซึ่งต้องวินิจฉัยแยกโรคกับการติดเชื้อกระจกตาจากสาเหตุอื่นๆ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในผู้ที่ใส่ contact lens ควรงดการใช้ไปก่อนเนื่องจากมีการสัมผัส อาจมีโอกาสติดเชื้อได้ แนะให้ใช้แว่นสายตาแทนเพื่อความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส ทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 

หากมีอาการตาแดง หรือสงสัยว่ามีตาแดงจากโควิด-19 เช่น พบอาการตาแดงร่วมกับอาการทางทางเดินหายใจ มีไข้หรืออาจไม่มีไข้ ผื่นแดง แนะนำให้ไปรักษาโควิด-19 เป็นอย่างแรก เนื่องจากอาการทางตาพบได้น้อยกว่าอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาการไม่รุนแรงสามารถหายเอง หากได้รับการดูแลรักษาความสะอาดดวงตาอย่างถูกวิธี ถ้าอาการทางตาเร่งด่วน แต่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงมาก ให้ไปที่หน่วยแยกโรคของโรงพยาบาลตามระบบขั้นตอนการรักษา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook