เปรียบเทียบ "ครัวซองต์" ในไทย พลังงาน ไขมัน และโซเดียมที่ควรระวัง

เปรียบเทียบ "ครัวซองต์" ในไทย พลังงาน ไขมัน และโซเดียมที่ควรระวัง

เปรียบเทียบ "ครัวซองต์" ในไทย พลังงาน ไขมัน และโซเดียมที่ควรระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิตยสารฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่าง “ครัวซองต์” ที่จำหน่ายในประเทศไทยกว่า 31 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อวัดค่าพลังงาน ไขมัน (ไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์) และปริมาณโซเดียม เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อรับประทาน

606ec20e6b8ed_attachment

606ec21a51b45_attachment

606ec22213567_attachment หมายเหตุ : เก็บตัวอย่างเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น                                                                    

สรุปผลทดสอบ

ในการแสดงผลด้วยภาพ นิตยสารฉลาดซื้อ จะเรียงลำดับด้วยผลการทดสอบต่อหนึ่งหน่วยบริโภคหรือ 1 ชิ้น ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน (มีน้ำหนักตั้งแต่ 20 – 94 กรัม) และนำเสนอเปรียบเทียบในปริมาณต่อน้ำหนัก 100 กรัมไว้ในตาราง 

พลังงาน 

ครัวซองต์ทั้ง 31 ตัวอย่าง จะมีค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) ต่อน้ำหนัก 100 กรัม อยู่ในช่วง 415 – 511 กิโลแคลอรี

ไขมัน 

ครัวซองต์ทั้ง 31 ตัวอย่าง จะมีค่าไขมันรวม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม อยู่ในช่วง 21.6 – 33 กรัม    

ค่าไขมันอิ่มตัว ต่อน้ำหนัก 100 กรัม อยู่ในช่วง 9.53 – 19.83 กรัม

ไขมันทรานส์ ต่อน้ำหนัก 100 กรัม อยู่ในช่วง 0.13 – 1.09 กรัม ทั้งนี้เมื่อนำมาคำนวณตามปริมาณในหนึ่งหน่วยบริโภค (1 ชิ้น) พบว่ามี 3 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณไขมันทรานส์ เกิน 0.5 กรัม ได้แก่ กาโตว์ เฮ้าส์ (0.56 กรัม/หน่วยบริโภค 52 กรัม) Au bon pain (0.60 กรัม/หน่วยบริโภค 58 กรัม) และ พรมารีย์ เบเกอรี (0.63 กรัม/หน่วยบริโภค 63 กรัม)

โซเดียม 

ครัวซองต์ทั้ง 31 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ในช่วง 244.83 – 522.26 มิลลิกรัม

การตรวจพบปริมาณไขมันทรานส์

องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) แนะนํา ปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้องไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัม ต่อวัน หรือประมาณ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค) อย่างไรก็ตาม FAO ยังแนะนําปริมาณสูงสุดในการ บริโภคไขมันอิ่มตัวที่ไม่เกิน 10% ของค่าพลังงาน (หรือประมาณ 20 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัม ต่อมื้อ) ไว้ด้วย เนื่องจากตระหนักว่าไขมันทั้งสองประเภทยังเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคร่วมกัน

แม้ประเทศไทยมีการแบนไขมันทรานส์ (ผลิตภัณฑ์ที่วางจําหน่ายในท้องตลาดจะต้องไม่มีส่วนประกอบ ของน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่อง กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 แล้ว แต่ ไขมันทรานส์สามารถตรวจพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบบางชนิดที่ได้จาก สัตว์เคี้ยวเอื้องซึ่งตามธรรมชาติมีไขมันทรานส์เป็นองค์ประกอบ เช่น นม เนย ชีส เป็นต้น แต่ทั้งนี้แหล่งที่มา ต้องไม่ใช่จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน

การกินไขมันกับปัญหาโรคหัวใจ 

ไม่ว่าจะกินไขมันชนิดไหน ก็เสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากกินในปริมาณมากเกินไป ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต กล่าวว่า ที่จริงแล้วคนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากไขมันอิ่มตัว คนไทยส่วนใหญ่กินไขมัน อิ่มตัวมาก ส่วนไขมันทรานส์นั้นกินเป็นส่วนน้อย ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเลิกกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ แต่ไปกิน อาหารอย่างอื่นที่มีไขมันสูง ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook