ป้องกันผู้รุกรานทั้งภายในและภายนอกร่างกาย กับภูมิคุ้มกันธรรมชาติ NK Cell

ป้องกันผู้รุกรานทั้งภายในและภายนอกร่างกาย กับภูมิคุ้มกันธรรมชาติ NK Cell

ป้องกันผู้รุกรานทั้งภายในและภายนอกร่างกาย กับภูมิคุ้มกันธรรมชาติ NK Cell
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร

            สิ่งที่คอยปกป้องร่างกายเราจากเชื้อโรคและกำจัดสิ่งแปลกปลอม รวมไปถึงกำจัดเซลล์ของร่างกายที่เริ่มทำงานผิดพลาดหรือกำลังจะกลายเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นอยู่ในร่างกายเราทุกวัน (ใช่แล้ว ร่างกายเรามีเซลล์ที่แบ่งตัวผิดพลาดแล้วพร้อมจะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นทุกวัน) เพราะเรามีระบบภูมิคุ้มกันคอยจัดการปัญหาเหล่านี้อยู่ [อ้างอิง 1]

            ถ้าให้เปรียบเทียบร่างกายเราเป็นเมืองเมืองหนึ่ง ผิวหนัง ก็เหมือนกำแพงเมือง ระบบภูมิคุ้มกันก็เหมือนเหล่าทหารที่คอยดูแลความปลอดภัยเราจากผู้รุกรานทั้งภายนอกและภายใน [อ้างอิง 1,2] ไม่ว่าจะเป็นพวกด่านหน้าที่มีมาตั้งแต่เกิด (Innate Immunity) ได้แก่ หน่วยพลีชีพ (Neutrophil) ที่จะเข้าไปกินแบคทีเรีย, หน่วยลาดตระเวน NK Cell ที่คอยกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสหรือเซลล์ที่กลายเป็นมะเร็ง หรือหน่วยสอดแนม Dendritic Cell ที่จะนำข้อมูลจุดอ่อนผู้รุกรานไปส่งข่าวต่อให้เม็ดเลือดขาวหน่วยอื่นๆ ถ้าระบบภูมิคุ้มกันด่านหน้ารับมือไม่ไหวก็จะเป็นหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะทาง (Adaptive Immunity) ที่จะสร้างแอนติบอดีที่เล่นงานจุดอ่อนของผู้รุกรานนั้นๆ

โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันสามารถจัดการผู้รุกรานเหล่านี้ได้หมด อาจจะมีบางครั้งที่ผู้รุกรานร้ายกาจจนระบบภูมิคุ้มกันเรารับมือไม่ไหว คุณหมออาจจะให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อมาช่วยร่างกายเรากำจัดเชื้อเหล่านั้น แต่การติดเชื้อส่วนใหญ่ที่เป็นไวรัสนั้นไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ ทำได้เพียงการรักษาตามอาการ มีไข้ก็ให้ยาลดไข้ หายใจเหนื่อยก็ให้อ๊อกซิเจนเป็นต้น ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันด่านหน้าเช่น NK Cell จึงเป็นส่วนสำคัญในการจัดการการติดเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็วหรือแม้กระทั่งกำจัดเซลล์เราเองที่เป็นมะเร็ง

สัญญาณของภูมิต่ำ

เรามักจะเคยได้ยินมาตลอดว่าต้องดูแลสุขภาพให้ภูมิคุ้มกันจะได้แข็งแรง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจริงๆแล้วตอนนี้ระบบภูมิคุ้มกันเรายังทำงานดีอยู่หรือเปล่า ต่อไปนี้ที่อาจจะเป็นสัญญาณจากร่างกายคุณที่พยายามจะบอกว่าภูมิคุ้มกันของคุณอาจกำลังมีปัญหา [อ้างอิง 3]

1. เป็นหวัดบ่อยๆ คนทั่วไปการจะเป็นหวัด 1-2 ครั้งต่อปีถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าคุณเป็นหวัดบ่อยและแต่ละครั้งนานเกินสัปดาห์ หรือช่วงไหนแค่พักผ่อนน้อยหรือเครียดเรื่องงานคุณก็ไม่สบายทันที
2. มีปัญหาเรื่องทางเดินอาหารบ่อยๆ เช่นท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด เพราะในทางเดินอาหารนั้นมีระบบภูมิคุ้มกันอยู่หนาแน่นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารที่เราทานเข้าไป ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนแอย่อมส่งผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติไป
3. แผลหายช้า ปกติร่างกายสามารถสมานแผลได้ใน 2 สัปดาห์ แต่ในคนที่แผลหายช้า เรื้อรัง อาจจะเกิดจากมีการติดเชื้อที่แผลหรือเซลล์ที่ตอบสนองต่อการสมานแผลทำงานได้ไม่ดี
4. คุณมีปัญหาการติดเชื้อและอักเสบบ่อยๆ เช่นติดเชื้อในหูซ้ำๆ เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นงูสวัดเรื้อรัง หรือเป็นปอดอักเสบซ้ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณของภูมิคุ้มกันที่มีปัญหา [อ้างอิง 4]

วิธีการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน

ถ้าคุณมีอาการต่างๆที่สงสัยว่าภูมิคุ้มมีปัญหา ลองดูคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันและลดโอกาสการเจ็บป่วยต่างๆ

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกัน [อ้างอิง 5,7]
2. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนน้อยทำให้การทำงานของ NK Cell ผิดเพี้ยนไป รวมถึงรบกวนสมดุลย์กระบวนการอักเสบในร่างกาย [อ้างอิง 5] คุณไม่ได้คิดไปเองคนเดียวหรอกว่ามักจะไม่สบายหลังโหมงานอย่างต่อเนื่อง
3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หนักหรือเบาเกินไป มีหลักฐานว่าการออกกำลังกายทั้งหนักและเบาไปทำให้การทำงานของ NK Cell ลดลง [อ้างอิง 5,7]
4. จัดการกับความเครียด คนที่ต้องทำงานในระดับสูง มีความกดดันตลอดเวลาจะส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทั้งแบบกำเนิดและแบบเฉพาะทางลดลง [อ้างอิง 5]
5. ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันสม่ำเสมอ เน้นไปที่ปริมาณของ NK Cell ที่มีส่วนสำคัญในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง

การตรวจระดับภูมิคุ้มกัน NK Cell

มีการศึกษาที่แสดงความสัมพันธ์ของระดับ NK Cell กับการเกิดมะเร็งหลายๆชนิด [อ้างอิง 8] ทำให้การตรวจวัดระดับการทำงานของ NK Cell (ความแข็งแรง) นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากจะดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

โชคดีที่ปัจจุบันสามารถคัดแยก NK Cell จากเลือดพร้อมกับเพราะเลี้ยงเพิ่มจำนวน ก่อนถ่ายเทกลับเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ NK Cell ในร่างกาย เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้จริงๆ ซึ่งวิธีการนี้ในบางประเทศรองรับให้ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) ควบคู่กับการรักษาแบบเดิมแล้ว โดยวิธีการคัดแยกและเพิ่มจำนวน NK Cell นั้นมีหลายวิธี โดย MEDEZE ใช่วิธีการของ Osaki Method จากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถเพิ่มจำนวน NK Cell โดยเน้นเฉพาะ NK Cell ที่ถูกพัฒนาให้แข็งแรงแล้ว (Active NK Cell) [อ้างอิง 9] เพื่อทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสทั้งหลายในร่างกายของเราได้ดียิ่งขึ้น
การตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันร่วมกับการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ NK Cell ที่สมบูรณ์ (Active NK Cell) ที่ MEDEZE นั้นเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ในการป้องกันการเกิดมะเร็งแบบเชิงรุกที่ทุกคนสามารถทำได้

ทั้งนี้ใครที่สนใจก็ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้งนะคะ เพราะความปลอดภัยสำคัญที่สุด

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/nkcell

[Advertorial]

อ้างอิง
1. CTCA. How does the immune system work? When it comes to cancer, it's complicated
[Online]. 2017. available at: https://www.cancercenter.com/community/blog/2017/10/how does the immune system work when it comes to cancer its complicated. [July 2021]
2. José Ignacio Saldana. Macrophage. [Online]. available at: https://www.immunology.org/public information/bitesized immunology/cells/macrophages. [July 2021]
3. Nadia Hasan. 6 Signs You Have a Weakened Immune System. [Online]. 2020. Available at: https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/health and wellness/2020/march/weakened immune system. [July 2021]
4. Andrew Moore. Recurrent Infections May Signal Immunodeficiencies. [Online]. 2020. Available at: https://www.aaaai.org/Tools-for-the-Public/Conditions Library/Immuno Deficiency/recurrent infections immunodeficiencies. [July 2021]
5. Maggini S, Pierre A, Calder PC. Immune function and micronutrient requirements change over the life course. Nutrients. 2018 Oct;10(10):1531.
6. Gayoso I, Sanchez-Correa B, Campos C, Alonso C, Pera A, Casado JG, Morgado S, Tarazona R, Solana R. Immunosenescence of human natural killer cells. Journal of innate immunity. 2011;3(4):337-43.
7. Pedersen BK, Ullum HE. NK cell response to physical activity: possible mechanisms of action. Medicine and science in sports and exercise. 1994 Feb 1;26(2):140-6.
8. Lee SB, Cha J, Kim IK, Yoon JC, Lee HJ, Park SW, Cho S, Youn DY, Lee H, Lee CH, Lee JM. A high-throughput assay of NK cell activity in whole blood and its clinical application. Biochemical and biophysical research communications. 2014 Mar 14;445(3):584-90.
9. Masuyama JI, Murakami T, Iwamoto S, Fujita S. Ex vivo expansion of natural killer cells from human peripheral blood mononuclear cells co-stimulated with anti-CD3 and anti-CD52 monoclonal antibodies. Cytotherapy. 2016 Jan 1;18(1):80-90.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook