ทำไมคุณภาพของ NK Cell (ภูมิคุ้มกันธรรมชาติ) จากแต่ละที่ถึงต่างกัน มีสาเหตุมาจากอะไร
NK Cell หรือเซลล์เพชฌฆาตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกันด่านหน้าซึ่งมีหน้าที่โดดเด่นในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสหรือเซลล์ร่างกายที่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดย NK Cell นั้นจะลาดตระเวนล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดจนกระทั่งเจอเซลล์ที่มีปัญหาและทำการทำลายเซลล์ดังกล่าวด้วยการปล่อยสารโปรตีน (Interferon gamma) เข้าไปทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นและยังหลั่งสารที่ช่วยในการเรียกเม็ดเลือดขาวกลุ่มอื่นๆเข้ามาช่วยกันกำจัดเซลล์เป้าหมายอีกด้วย [อ้างอิง 1]
โดยปกตินั้นจะมีปริมาณ NK Cell อยู่ในกระแสเลือดประมาณ 5-10% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการเกิดมะเร็งและป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยมีรายงานอัตราการเกิดมะเร็งที่ต่ำกว่าในกลุ่มอาสาสมัครที่มีปริมาณการทำงานของ NK Cell ในระดับสูง [อ้างอิง 2,3] ซึ่งการศึกษาดังกล่าวเป็นการเน้นความสำคัญที่การทำงานของ NK Cell เป็นหลักโดยไม่ได้ดูเพียงแต่จำนวน NK Cell เท่านั้น ซึ่งเป็นการตอบคำถามว่าทำไมเราจึงไม่สามารถดูแต่เพียงจำนวนเม็ดเลือดขาวเพื่อตรวจสอบระดับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้
ด้วยหน้าที่ของ NK Cell ดังกล่าวจึงมีการนำ NK Cell เข้ามาประกอบการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ด้วยการปลูกถ่าย NK Cell ที่ถูกปรับปรุงศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้นและเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนให้มีจำนวนมากก่อนใส่กลับเข้าไปในตัวผู้ป่วย โดยมีรายงานผลการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิดทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นต้น [อ้างอิง 4,5] โดยหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลถึงผลการรักษาด้วย NK Cell ที่แตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา คือการปลูกถ่าย NK Cell กลับเข้าไปในร่างกายนั้น จำเป็นจะต้องได้เซลล์ที่มีสภาพพร้อมทำงาน ซึ่งขึ้นกับวิธีการเพาะเลี้ยง NK Cell ของแต่ละห้องปฏิบัติการ [อ้างอิง 1]
การเพาะ NK Cell นั้นมีแบบที่ใช้เซลล์พี่เลี้ยงและแบบไม่ใช้เซลล์พี่เลี้ยง โดยวิธีการเพาะแบบมีเซลล์พี่เลี้ยงนั้นให้จำนวน NK Cell ที่ได้ออกมาเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นจึงเป็นที่นิยม แต่การเพาะ NK Cell แบบอาศัยเซลล์พี่เลี้ยงนั้นมีข้อเสียเรื่องการทำงานของ NK Cell ที่อาจจะลดลงเมื่อถูกปลูกถ่ายกลับเข้าไปในร่างกายที่ไม่มีเซลล์พี่เลี้ยงอยู่ด้วย ส่วนการเพาะเลี้ยง NK Cell แบบไม่มีเซลล์พี่เลี้ยงนั้นมักจะให้จำนวน NK Cell ที่ต่ำกว่า
ที่ MEDEZE ได้ใช้นวัตกรรมการเพาะเลี้ยง NK Cell แบบไม่ใช้เซลล์พี่เลี้ยงด้วยวิธี Osaki Method ที่ถูกคิดค้นโดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น นายแพทย์จุนอิชิ มัตซึยามา (Junichi Masuyama, M.D., Ph.D.) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์ภูมิคุ้มกัน โดยเป็นการเพาะเลี้ยง NK Cell ในน้ำยาสูตรเฉพาะที่บรรจุในระบบปิดที่ได้รับสิทธิบัตรรับรอง ที่มีสารที่กระตุ้นการทำงานและการแบ่งตัวของ NK Cell ให้ได้จำนวนเซลล์มากขึ้นและเป็นเซลล์ที่อยู่ในสภาพที่ถูกกระตุ้นแล้วพร้อมทำงานทันทีซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพจากวิธีการเพาะเลี้ยงแบบอื่นๆ [อ้างอิง 6] โดยปริมาณ NK Cell ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย Osaki Method นั้นสามารถเพิ่มจำนวน NK Cell ที่ถูกกระตุ้นแล้วได้มากถึง 510-1500 เท่า [อ้างอิง 6,7]
โดยที่ญี่ปุ่นนั้นมีการใช้ NK Cell ในการรักษาผู้ป่วยด้วย NK Cell ที่เพาะเลี้ยงจากวิธี Osaki Method ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้น [อ้างอิง 8] ควบคู่กับการรักษาหลัก และยังมีรายงานการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดในประเทศไทยด้วยการปลูกถ่าย NK Cell ที่ถูกกระตุ้นด้วยวิธี Osaki Method โดยอาการของผู้ป่วยหลังการรักษาก็ดีขึ้นตามลำดับ [อ้างอิง 5]
ด้วยความร่วมมือของนายแพทย์จุนอิชิ มัตซึยามาผู้คิดค้นการเพาะเลี้ยง NK Cell ด้วยวิธี Osaki Method จาก New City Osaki Clinic ประเทศญี่ปุ่นและนายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ผู้ก่อตั้ง MEDEZE ทำให้ MEDEZE ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง NK Cell ด้วยวิธี Osaki Method โดยตรง ตั้งแต่สารอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยง ไปจนถึงการควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะเลี้ยงเซลล์ตามวิธี Osaki Method ที่ทำให้ได้ NK Cell แบบที่ถูกกระตุ้นให้พร้อมทำงานปริมาณสูงเพื่อใช้ในการปลูกถ่ายกลับเข้าไปในร่างกาย (Highly Active NK Cell Therapy)
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/nk-cell-osaki-method
[Advertorial]
อ้างอิง
1. Childs, R. W., & Berg, M. (2013). Bringing natural killer cells to the clinic: ex vivo manipulation. Hematology 2013, the American Society of Hematology Education Program Book, 2013(1), 234-246.
2. IMAI, Kazue, et al. Natural cytotoxic activity of peripheral-blood lymphocytes and cancer incidence: an 11-year follow-up study of a general population. The lancet, 2000, 356.9244: 1795-1799.
3. LEE, Saet-byul, et al. A high-throughput assay of NK cell activity in whole blood and its clinical application. Biochemical and biophysical research communications, 2014, 445.3: 584-590.
4. WU, Song-Yang, et al. Natural killer cells in cancer biology and therapy. Molecular Cancer, 2020, 19.1: 1-26.
5. MASUYAMA, Junichi, et al. NK cell therapy for end‑stage cancerous patient: A case study. South Asian journal of cancer, 2014, 3.02: 143-143.
6. MASUYAMA, Jun-ichi, et al. Ex vivo expansion of natural killer cells from human peripheral blood mononuclear cells co-stimulated with anti-CD3 and anti-CD52 monoclonal antibodies. Cytotherapy, 2016, 18.1: 80-90.
7. REZAEIFARD, Somayeh, et al. Autologous Natural Killer Cell-enrichment for Immune Cell Therapy: Preclinical Setting Phase, Shiraz Experience. Iranian Journal of Allergy, Asthma and Immunology, 2021, 1-11.
8. New City Osaki Clinic. Types of cancer and number of cases treated at the New City Osaki Clinic. [Online]. 2021. Available at: https://www.nco-clinic.jp/e/case/index.html. [August 2021].