สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูผิวข้อที่เสื่อมด้วย สเต็มเซลล์

สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูผิวข้อที่เสื่อมด้วย สเต็มเซลล์

สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูผิวข้อที่เสื่อมด้วย สเต็มเซลล์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะข้อเสื่อมนั้นพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง [อ้างอิง 1] โดยพบบ่อยที่ข้อเข่าและข้อสะโพก ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุที่มีการเสื่อมของผิวข้อตามกาลเวลา โดยอาการคือปวดเวลาใช้งานข้อนั้นมาก ๆ และอาจมีข้อบวมอักเสบขึ้นมาได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยถูกจำกัดลง เช่นไม่อยากเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ หรือไม่อยากเดินมากเหมือนเมื่อก่อน โดยการรักษาก็มักจะเริ่มจากการทานยาลดปวด, ฉีดยาหล่อลื่นข้อ, ลดน้ำหนัก, ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้เหมาะกับสภาพข้อที่เสื่อมไป และสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยประมาณ 7% [อ้างอิง 1] ที่มีภาวะข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร ที่เกิดตามหลังการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือการอักเสบของข้อนั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนั้นมักจะอายุยังน้อยและยังมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องอาศัยการใช้งานข้อนั้นๆอย่างมากอยู่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมซึ่งมีอายุการใช้งานจำกัดที่ 15-20 ปี หรือให้จำกัดการใช้ชีวิต มักส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวแย่ลง

ด้วยความก้าวหน้าในปัจจุบัน มีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวหรือในกลุ่มที่ยังไม่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โดยหวังว่าสเต็มเซลล์จะสามารถเข้าไปทดแทนเซลล์ผิวข้อที่เสียหายไปและลดอาการเสื่อมของข้อลง

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสเต็มเซลล์และโรคอื่นๆที่มีการใช้สเต็มเซลล์เข้ามาประกอบการรักษา: https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-6-heal )

โดยมีรายงานจากประเทศเกาหลีใต้ [อ้างอิง 2] ในผู้ป่วยอายุ 29 และ 47 ปีที่มีอาการข้อสะโพกเสื่อมจากกระดูกหัวสะโพกขาดเลือดและผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอายุ 70 และ 79 ปีที่ไม่อยากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจึงเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์จากเซลล์ไขมันของผู้ป่วยเอง ร่วมกับสารหล่อลื่นเทียมเข้าไปในข้อ หลังการรักษาพบการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่ในผู้ป่วยทั้ง 4 ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ รวมไปถึงอาการปวดและการเคลื่อนไหวก็ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนรักษาอีกด้วย

MEDEZE จึงขอแบ่งปันประสบการณ์ของผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์ที่เก็บจากเนื้อเยื่อไขมันของผู้ป่วยเข่าข้อสะโพก โดยต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ของคุณโชตินัย ผู้ประสบภาวะข้อสะโพกขวาเสื่อมในวัย 20 ปีหลังจากมีการติดเชื้อที่ข้อสะโพกข้างขวา

คุณโชตินัย: ย้อนกลับไปเป็นปีอาการเจ็บปวดที่สะโพกมันเป็นผลมาจากร่างกายที่อ่อนแอจากการได้รับสเตียรอยด์ เพื่อรักษาอาการป่วยที่เกี่ยวกับตาแต่ผลกระทบก็คือภูมิคุ้มกันของผมมันต่ำลงกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งควรระวังแต่เพราะไม่มีความรู้ ผมก็ยังใช้ชีวิตแบบเดิม กินอาหารร้านตามสั่ง ก็กลายเป็นว่าเราได้รับเชื้อซาลโมเนลลาจากอาหารจากนั้นก็เริ่มมีอาการเดินกะเผลก จนคนรอบข้างเริ่มทักจากตอนแรกยังพอเดินได้แต่วิ่งไม่ได้ ค่อนข้างเจ็บสะโพกด้านขวา อาการก็หนักขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องไปทำ MRI พบว่าในข้อสะโพกมีหนองอยู่ ก็ต้องผ่าตัดเพื่อเอาหนองออก

หลังผ่าตัดแล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปเยอะนะครับ จากคนที่เดินได้เยอะมาก ทำอะไรรวดเร็ว ก็ตกลงไปหมด เดินกะเผลก อาการที่หนักที่สุดคือกระดูกอ่อนถูกพวกเชื้อหนองกัดกินไป มีอาการปวดตลอดหลังจากการตื่นนอนทุกเช้า โดยเฉพาะถ้าคืนก่อนใช้ข้อสะโพกหนักมาก ก็จะมีอาการปวดหนักมากกว่าเดิม จำเป็นต้องใช้ไม้เท้าเพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อสะโพก ตอนนั้นชีวิตก็ค่อนข้างที่จะลำบากมาก กลายเป็นคนที่ไปไหนกับเพื่อนไม่ได้เลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผมก็เป็นเด็กผู้ชายธรรมดาที่ใช้ชีวิตปกติ

ตอนแรกวิธีการที่จะรักษาคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งถ้าเทียบกับอายุผมแล้ว มันไม่คุ้มค่าเลย เนื่องจากข้อสะโพกเทียมนั้นมีอายุประมาณ 10-15 ปี แล้วก็ต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่ และหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแล้วก็ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเดิม ก็ยอมรับครับว่าคิดมาก จนกระทั่งวันหนึ่งเจอคำว่าเซลล์ต้นกำเนิด พบว่ามันช่วยรักษาพวกนี้ได้ ผมก็เลยติดต่อเข้ามาที่นี่ มาตรวจว่าเราต้องรักษายังไง ก็เก็บไขมันไปเพราะว่าต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมันของตัวเอง แล้วก็ฉีดเซลล์ต้นกำเนิดไปเมื่อพฤษภาคม ปี 2560 ครับ นับตั้งแต่นั้นมาก็เป็นระยะเวลา 10 เดือนแล้วครับ ตอนนี้ผมสามารถเดินได้มากขึ้น ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น จากเดิมที่ผมเดินหนักๆ ก็จะมีอาการปวดรอบๆข้อทุกเช้า ก็รู้สึกว่าอาการนี้แทบจะไม่กลับมาอีกเลย ผมมีความสุขขึ้นนะครับ ถึงเราอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตแบบเดิมเหมือนก่อนที่จะเป็น แต่เราก็รู้สึกว่าเราสามารถหลุดจากอาการเจ็บปวดทุกเช้ามาได้ มันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วครับ

อยากจะฝากถึงทุกคนว่าเราควรจะดูแลรักษาสุขภาพตัวเองครับ ไม่ใช่หักโหมเกินไปจนร่างกายเราป่วยหรือล้มลง แล้วค่อยคิดจะมาดูแลรักษา ทางที่ดีคือเราควรจะป้องกันไว้ก่อน ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดครับ ก่อนที่จะต้องมาแก้ไขทุกอย่างทีหลัง

คุณแม่คุณโชตินัย: ตอนเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปี 3 มีอยู่วันหนึ่ง เขาก็มาบอกแม่ว่าตาของเขามองไม่เห็น จึงพาไปหาคุณหมอที่ศิริราช พบว่าน้องมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันที่ควบคุมเรื่องจอประสาทตาผิดปกติ ทำการรักษาโดยให้สเตียรอยด์มา ช่วงสองสัปดาห์แรกกินวันละ 10 เม็ด จากนั้นไม่นานน้องก็มาบอกว่ารู้สึกปวดขา ตรงข้อสะโพก เริ่มมีอาการเดินเป๋ ๆ เราก็ไปพบคุณหมอด้านกระดูกที่ศิริราช ปรากฏว่าน้องติดเชื้อซาลโมเนลลา

คุณหมอก็ทำการผ่าตัดคลีนเชื้อออก ตอนแรกเราก็เข้าใจว่าคงจะหายเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่ากระดูกอ่อนไปกับเชื้อหมดเลย คุณหมอบอกว่าอาจจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อนะ ตอนนั้นครอบครัวก็เครียดมากเพราะน้องอายุแค่ 20 ปีเอง กว่าน้องจะอายุ 90 ปี ไม่รู้เราจะเปลี่ยนอีกกี่รอบ เราก็มาคุยกันในครอบครัวค่ะ พ่อแม่ลูก ก็คุยกัน น้องก็บอกว่าเราจะต้องหาทางเลือกใหม่ พี่น้องเขาก็ปรึกษากันแล้วก็ไปค้นหา คำว่าเซลล์ต้นกำเนิด แล้วก็มาเล่าให้คุณแม่ฟัง เราก็ขอเข้ามาคุย ตอนนั้นยังเป็น Bangkok Stem Cell อยู่เลย

เราก็ตัดสินใจรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดดู ปรากฏว่าหลังฉีดประมาณ 1-2 เดือน อาการที่น้องเคยปวดข้อทุกวันก็หายไป เคยเดินแทบไม่ได้เลย ต้องใช้ไม้เท้าเพราะเจ็บปวดมาก ทุกวันนี้ก็ไม่ปวดเลย เซลล์ต้นกำเนิดช่วยให้กระดูกอ่อนที่หายไปกลับคืนมา ตอนนี้ก็ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไปเรียนปกติ แต่ก็อาจจะมีช่วงนี้ที่ยังต้องกายภาพฟื้นฟูอยู่ นอกนั้นชีวิตเขาก็มีความสุขมากขึ้น ทุกวันนี้คุณแม่มีความสุขมาก ครอบครัวก็มีความสุขค่ะ จากที่เคยทุกข์ทรมานเป็นปัญหาครอบครัวและน้องก็ได้รับการอนุเคราะห์จากมูลนิธิเมดีซสเต็มเซลล์ทางครอบครัวก็ต้องขอขอบคุณทางมูลนิธิเมดีซเป็นอย่างมากค่ะ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-interview-osteoarthritis

อ้างอิง

  1. Centers for Disease Control and Prevention. Arthritis-Related Statistics. [Online]. July 2018. Available at: https://www.cdc.gov/arthritis/data_statistics/arthritis-related-stats.htm. [August 2021]
  2. Pak, J. (2011). Regeneration of human bones in hip osteonecrosis and human cartilage in knee osteoarthritis with autologous adipose-tissue-derived stem cells: a case series. Journal of medical case reports5(1), 1-8.

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook