เซลล์มะเร็งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด มาดูทางเลือกการป้องกันและรักษามะเร็งกับ NK Cell หรือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ
มะเร็ง (Cancer) นั้นคือโรคที่เกิดจากกลุ่มเซลล์ร่างกายที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมไม่ว่าจะเกิดจากการกลายพันธุ์หรือเกิดความเสียหายโดยตรงต่อรหัสพันธุกรรม ซึ่งนำไปสู่การเสียความสามารถในการควบคุมการแบ่งตัวและมีความสามารถในการแทรกซึมหรือแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่นๆของร่างกายได้ [อ้างอิง 1] โดยสาเหตุในการเกิดมะเร็งนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของมะเร็งได้แก่ [อ้างอิง 1,2]
1.กรรมพันธุ์ พบประมาณ 5-10% จากสาเหตุการเกิดมะเร็งทั้งหมด [อ้างอิง 3] ปัจจุบันสามารถระบุตำแหน่งพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของมะเร็งได้มากกว่า 50 ชนิด โดยสามารถเข้ารับการตรวจรหัสพันธุกรรมตามสถานพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการต่างๆได้ด้วยตัวเอง (Genetic test) เพื่อทราบถึงความเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่อาจซ่อนอยู่ในรหัสพันธุกรรมของเรา โดยกรณีที่โด่งดังคือการตรวจพบเจอความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมของนักแสดงสาวแองเจลินา โจลี่ (Angelina Jolie) ที่มีการกลายพันธุ์ของรหัสพันธุกรรมที่ชื่อ BCRA1 และ BCRA2 ที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า โดยโจลี่ตัดสินใจที่จะทำการผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างออกเพื่อตัดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมออกไป [อ้างอิง 4]
2.บุหรี่ การสูบบุหรี่ (รวมถึงยาสูบ ซิการ์ หรือไปป์) ทั้งผู้สูบและการเป็นนักสูบมือสอง (Second hand smoker: ผู้ที่ไม่ได้สูบโดยตรงแต่ได้รับควันจากคนที่สูบอยู่บริเวณใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง) ล้วนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดทั้งสิ้น โดยมีสารเคมีหลายชนิดที่ถูกเผาไหม้ออกมาเป็นควันขณะสูบบุหรี่ที่เป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) เช่นตะกั่ว หรือสารฟอร์มัลดีไฮด์
3.อาหารก่อมะเร็ง อาหารที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้นั้นมีหลายประเภทตั้งแต่สารที่เกิดตามธรรมชาติเช่นสารพิษจากเชื้อราในถั่วที่กระตุ้นการเกิดมะเร็งตับ หรือสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการสังเคราะห์หรือปรุงแต่งของมนุษย์เช่นสีผสมอาหารบางประเภท ยาฆ่าแมลงตกค้างในอาหาร การบริโภคเนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน (Processed Meat) หรือสารเคมีจากการใส่สารถนอมอาหาร [อ้างอิง 5]
4.รังสี บางชนิดนั้นสามารถทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อสารพันธุกรรมได้ เช่นรังสียูวีจากแสงแดดโดยตรงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือการได้รับรังสีทางการแพทย์เช่นรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ [อ้างอิง 6]
5.การติดเชื้อบางชนิด มีการติดเชื้อบางอย่างที่สามารถนำไปสู่มะเร็งได้เช่นการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV virus) เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรังก็เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับได้ หรือการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่สัมพันธุ์กับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV virus)
ซึ่งแม้ไม่ได้สัมผัสกับความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้โดยตรง แต่ก็ยังสามารถมีการกลายพันธุ์ของเซลล์ร่างกายเราเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากบางเซลล์ในร่างกายยังมีการแบ่งตัวตลอดเวลาซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดในระหว่างการแบ่งตัวได้จากสาเหตุอื่นๆที่ซ่อนอยู่ แต่จะเห็นว่าความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้บางส่วนที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเกิดมะเร็งขึ้น เนื่องจากเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นมักจะถูกตรวจพบโดย NK Cell หรือ เซลล์เพชฌฆาตจากระบบภูมิคุ้มกันด่านหน้า ที่คอยลาดตระเวนอยู่ในกระแสเลือดและทำลายเซลล์ดังกล่าวด้วยการปล่อยสารโปรตีน (Interferon gamma) เข้าไปทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นและยังหลั่งสารที่ช่วยในการเรียกเม็ดเลือดขาวกลุ่มอื่นๆเข้ามาช่วยกันกำจัดเซลล์เป้าหมายอีกด้วย [อ้างอิง 7] ซึ่งมีรายงานว่าเมื่อจำนวนและการทำงานของ NK Cell ที่ลดลงนั้นเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งหลายๆชนิด [อ้างอิง 8,9]
(ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง NK Cell: https://www.medezegroup.com/th/news/nkcell)
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ รวมถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำอื่นๆเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ NK Cell นั้นบางครั้งอาจไม่เหมาะสมกับบางคน แต่ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจระดับการทำงานของ NK Cell พร้อมทั้งทำการคัดแยก NK Cell จากเลือดพร้อมกับเพราะเลี้ยงเพิ่มจำนวน ก่อนถ่ายเทกลับเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ NK Cell ในร่างกาย ซึ่งวิธีการนี้ในบางประเทศรองรับให้ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) ควบคู่กับการรักษาแบบเดิมแล้ว โดยแต่ละห้องปฏิบัติการจะมีวิธีการคัดแยกและเพิ่มจำนวน NK Cell ที่แตกต่างกัน
ที่ MEDEZE ใช้วิธี Osaki Method จากประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถเพิ่มจำนวน NK Cell โดยเน้นไปที่การเพิ่มเฉพาะ NK Cell ที่ถูกพัฒนาให้แข็งแรงแล้ว (Active NK Cell) [อ้างอิง 10] เพื่อทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสทั้งหลายในร่างกายของเราได้ดียิ่งขึ้น โดยความร่วมมือโดยตรงระหว่างนายแพทย์จุนอิชิ มัตซึยามา ผู้คิดค้นวิธีดังกล่าวร่วมกับนายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ผู้ก่อตั้ง MEDEZE ทำให้ MEDEZE ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง NK Cell ด้วยวิธี Osaki Method โดยตรง เพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันการเกิดมะเร็งแบบเชิงรุกที่ทุกคนสามารถทำได้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/nk-cell-natural-killer-cell-cancer
อ้างอิง
- Mayo Clinic Stuff. Cancer. [Online]. 2021. Available at: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cancer/symptoms-causes/syc-20370588. [August 2021]
- American Cancer Society. What causes cancer?. [Online]. 2021. Available at: https://www.cancer.org/cancer/cancer-causes.html. [August 2021]
- National Cancer Institute. The Genetics of Cancer. [Online]. 2017. Available at: https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/genetics. [August 2021]
- Steven Reinberg (HealthDay Reporter). Angelina Jolie Has Preventative Double Mastectomy. [Online]. 2013. Available at: https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=169836. [August 2021]
- กลุ่มงานโภชนวิทยา (โรงพยาบาลราชวิถึ). อาหารกับโรคมะเร็ง. [Online]. 2012. Available at: http://110.164.68.234/nutrition/index.php?option=com_content&view=article&id=7:2012-06-23-09-44-28&catid=3:2012-06-21-06-09-12. [August 2021]
- Adrienne Santos-Longhurst. X-Ray Cancer: What You Need to Know. [Online]. 2019. Available at: https://www.healthline.com/health/cancer/x-ray-cancer. [August 2021]
- Childs, R. W., & Berg, M. (2013). Bringing natural killer cells to the clinic: ex vivo manipulation. Hematology 2013, the American Society of Hematology Education Program Book, 2013(1), 234-246.
- IMAI, Kazue, et al. Natural cytotoxic activity of peripheral-blood lymphocytes and cancer incidence: an 11-year follow-up study of a general population. The lancet, 2000, 356.9244: 1795-1799.
- LEE, Saet-byul, et al. A high-throughput assay of NK cell activity in whole blood and its clinical application. Biochemical and biophysical research communications, 2014, 445.3: 584-590.
- Masuyama JI, Murakami T, Iwamoto S, Fujita S. Ex vivo expansion of natural killer cells from human peripheral blood mononuclear cells co-stimulated with anti-CD3 and anti-CD52 monoclonal antibodies. Cytotherapy. 2016 Jan 1;18(1):80-90.
[Advertorial]