10 พฤติกรรมเสี่ยงเป็น "วัณโรค" พร้อมวิธีป้องกันตัวเองจากวัณโรค

10 พฤติกรรมเสี่ยงเป็น "วัณโรค" พร้อมวิธีป้องกันตัวเองจากวัณโรค

10 พฤติกรรมเสี่ยงเป็น "วัณโรค" พร้อมวิธีป้องกันตัวเองจากวัณโรค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักโรค “วัณโรค” ดูจะเป็นชื่อโรคเก่าๆ ที่คนสมัยนี้ไม่น่าจะเป็นกันแล้ว แต่อันที่จริงในประเทศไทยยังพบผู้ป่วยวัณโรคอยู่เป็นจำนวนมาก และต่อเนื่องยาวนานยังไม่ลดลงไปไหน อย่างตัวเราเองก็เพิ่งจะไปร่วมงานพิธีฌาปนกิจศพของอดีตเพื่อนร่วมงาน ที่เสียชีวิตจากวัณโรคไปเมื่อปีที่แล้วนี่เอง

วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคมักไม่แสดงอาการใด ๆ ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแฝง จะยังมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย แต่ตัวเชื้อจะอยู่นิ่ง ไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ ต่อร่างกาย

10 พฤติกรรมเสี่ยงเป็น “วัณโรค”

  1. อาศัย หรือทำงานอยู่ในที่ๆ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องทำงานที่ไม่เปิดหน้าต่าง มีแต่เครื่องปรับอากาศ แดดส่องไม่ถึง และพื้นปูพรม
  2. มีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้านเดียวกัน หรือใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ๆ เดียวกัน เช่น ออฟฟิศ ห้องทำงาน ห้องประชุม (เพราะวัณโรค เป็นโรคติดต่อ)
  3. อยู่ในห้อง หรือพื้นที่จำกัด กับผู้ป่วย หรือแหล่งที่มีเชื้อวัณโรคเป็นเวลานาน
  4. ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง และผู้ที่ทำการตัดต่อกระเพาะ หรือลำไส้
  6. ผู้ที่ต้องทานยากดภูมิคุ้มกันตัวเอง เพื่อทำการรักษาโรคอื่นอยู่
  7. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือติดสารเสพติด

อาการน่าสงสัยของวัณโรค

  1. ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
  2. ไอมีเสมหะ และเลือดปน หรืออาจจะไอแห้งๆ ก็ได้
  3. มีไข้ต่ำๆ ในช่วงบ่าย หรือค่ำ
  4. น้ำหนักลด แม้ว่าจะทานอาหารได้ตามปกติ
  5. เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย
  6. มีเหงื่อออกมากผิดปกติในเวลากลางคืน

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป 

วิธีป้องกันตัวเองจากวัณโรค

  1. หากจำเป็นต้องทำงานอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ให้ออกมาสูดอากาศภายนอกบ้างในระหว่างวัน
  2. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์
  3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ
  4. สวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีความเสี่ยงต่อการอยู่ใกล้ผู้ป่วยวัณโรค
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
  6. ลดการดื่มแอกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอย่าใช้สารเสพติด
  7. ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ใครก็ตามที่มีญาติพี่น้อง หรือคนรู้จักป่วยเป็นวัณโรค สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ คือกำลังใจในการรักษานะคะ ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อ แต่เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย เพียงแต่เราเองก็ต้องรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้ดี ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย และจัดบ้านช่อง สถานที่ทำงานให้สว่างสดใส รับแสงแดด และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เท่านี้ก็ปลอดภัยจากวัณโรคได้อย่างง่ายๆ แล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สำนักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข, siamhealth.net
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook