4 ระยะความรุนแรง “นิ้วล็อก” แบบไหนควรรีบพบแพทย์

4 ระยะความรุนแรง “นิ้วล็อก” แบบไหนควรรีบพบแพทย์

4 ระยะความรุนแรง “นิ้วล็อก” แบบไหนควรรีบพบแพทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิ้วล็อก เป็นอาการที่พบได้ในคนที่ใช้มือ และนิ้วมือในการทำงานในระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่นๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว

อาชีพเสี่ยงนิ้วล็อก

  • พนักงานบริษัทที่ต้องพิมพ์เอกสารจำนวนมาก พิมพ์เป็นเวลานาน
  • กราฟิกดีไซน์เนอร์
  • ทันตแพทย์
  • แม่บ้านที่ต้องซับผ้า และบิดผ้าบ่อยๆ หรือหิ้งถุง หรือถังหนักๆ
  • คนงาน คนสวน ช่างไม้ ช่างฝีมือ
  • นักกีฬาที่ต้องใช้การจับอุปกรณ์ที่แน่น ๆ เช่น เทนนิส แบดมินตัน และปั่นจักรยานภูเขา เป็นต้น
  • คนที่ชอบเล่นมือถือ แท็บเล็ต ที่ต้องใช้การจับมือถือให้มั่นคงอยู่ในมือ เพื่อไม่ให้มือถือหลุดจากมือ

เป็นต้น

อาการนิ้วล็อก

อาการนิ้วล็อกที่สังเกตได้ อาจมีอาการปวดบริเวณฝ่ามือใกล้ๆ โคนนิ้ว และโดยมากมักมีอาการนิ้วเคลื่อนที่ไม่สะดวก มีอาการติด หรือสะดุดเวลาขยับนิ้ว

4 ระยะความรุนแรง “นิ้วล็อก” แบบไหนควรรีบพบแพทย์

อ.นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุอาการนิ้วล็อก แบ่งตามระยะที่เป็น ดังนี้

ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ แต่ยังไม่มีการสะดุดระหว่างการเคลื่อนไหวนิ้ว

ระยะที่ 2 เริ่มมีการสะดุดเวลาขยับนิ้ว แต่ยังขยับได้อยู่

ระยะที่ 3 นิ้วติดล็อก แต่ยังสามารถเหยียดออกได้โดยการใช้มืออีกข้างช่วยแกะ

ระยะที่ 4 นิ้วติดจนไม่สามารถขยับออกได้

การรักษาอาการนิ้วล็อก

นิ้วล็อกระยะที่ 1-2 

ผู้ป่วยสามารถกินยาแก้ปวด ลดการใช้งานนิ้วมือให้น้อยลง และสามารถช่วยผ่อนคลายนิ้วด้วยการแช่น้ำอุ่น 10-20 นาที พร้อมบำบัดด้วยคลื่นกระแทกได้ (ultrasound+shock wave)

นิ้วล็อกระยะที่ 3-4

แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดยาสเตียรอยด์ หรือผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็น

วิธีป้องกันนิ้วล็อก

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ระบุถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อกเอาไว้ ดังนี้

  1. ไม่หิ้วหรือถือของหนักเกินไป ลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  2. พักการใช้นิ้วมือเป็นระยะๆ ขณะทำงานที่ต้องใช้นิ้วมือเป็นเวลานานๆ
  3. ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือเป็นพักๆ
  4. เมื่อต้องใช้มือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น การขุดดิน การใช้ค้อน การตีกอล์ฟ ควรใช้ถุงมือหรือผ้านุ่มๆ พันรอบๆ เพื่อลดแรงกดกระแทกต่อนิ้วมือ
  5. การแช่มือในน้ำอุ่นในช่วงเช้าๆ จะทำให้ข้อฝืดลดลง เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook