สาเหตุ “ตาปลา” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง
ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีก้อนกรวด ติดอยู่กับเท้าตลอดเวลาจึงรู้สึกเจ็บเมื่อเดินทั้งเวลาสวมรองเท้า หรือแม้เดินด้วยเท้าเปล่าอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิตได้
ศ. ดร. นพ.ประวิตร อัศวานนท์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตาปลามีหลายชนิด แต่ 2 ชนิดที่พบบ่อย คือ
- ตาปลาชนิดตุ่มเล็กและมีแกนตรงกลาง (hard corn)
เกิดจากการกด โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก จึงมักพบบริเวณฝ่าเท้า พบได้ในทุกช่วงวัย - ตาปลาแบบผิวด้าน (callus)
เกิดจากการเสียดสี มักพบในนักกีฬาและผู้สูงอายุที่เท้าเริ่มมีการผิดรูป ทำให้เกิดการเสียดสีบางจุดมากกว่าปกติ จึงเกิดได้หลายตำแหน่งของเท้า
การรักษาตาปลา
- ทายาเพื่อช่วยลอกผิวหนังกำพร้า
- การผ่านผิวหนังที่หนาออก ซึ่งเป็นหัตถการที่ควรทำโดยแพทย์
- เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับ หลวม หรือ แข็ง จนเกินไป