ปวดหัว “ไมเกรน” กินยาแก้ปวดธรรมดาได้หรือไม่?

ปวดหัว “ไมเกรน” กินยาแก้ปวดธรรมดาได้หรือไม่?

ปวดหัว “ไมเกรน” กินยาแก้ปวดธรรมดาได้หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ไมเกรน” คือโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ไม่ใช่อาการป่วยทางใจแต่อย่างใด ผศ.นพ.เสกข์ แทนประเสริฐสุข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ความเครียดทางจิตใจ เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นที่ทำให้ปวดหัวไมเกรนได้ แต่ก็ยังมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อีกมากที่ทำให้เกิดไมเกรนได้

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน

  • อดนอน นอนหลับไม่เพียงพอ
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด อากาศชื้น
  • การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ มะเขือเทศ
  • การได้รับกลิ่นที่รุนแรง
  • การอยู่ที่ที่แสงจ้า หรือการจ้องหน้าจอที่มีความสว่างของแสงมากเป็นเวลานาน
  • การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล
  • การอยู่ที่พื้นที่ที่เสียงดังเกินไป

หากเป็นไปได้ ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองว่า อะไรคือสิงกระตุ้นที่ทำให้เราปวดไมเกรน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น

ปวดหัวไมเกรน กินยาแก้ปวดธรรมดาได้หรือไม่?

หากปวดไม่ถี่มาก (เช่น น้อยกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) สามารถรับประทานยาแก้ปวดเองได้ แต่ควรกินยาแก้ปวดตั้งแต่เริ่มมีอาการเนิ่นๆ ในแต่ละครั้งหากทิ้งไว้นาน มักได้ผลไม่ดี

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนที่กินได้

ยาแก้ปวดที่สามารถรับประทานเองได้ เช่น พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และควรระมัดระวังการแพ้ยาด้วย

ส่วนยาแก้ปวดกลุ่มที่ออกฤทธิ์แรง (เช่นยากลุ่มเออร์โกตามีน ยากลุ่มทริปแทน ยาทรามาดอล เป็นต้น) ไม่ควรซื้อมาใช้เอง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สังเกตอาการเพื่อไปพบแพทย์

เมื่อปวดถี่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง ไม่ควรกินยาแก้ปวดเอง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงจากยา และอาจทำให้อาการปวดหัวเป็นถี่มากขึ้นอีก เมื่อกังวลว่าอาจจะเป็นโรคปวดศีรษะอื่นที่ไม่ใช่ไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook