“ออกเจ-หยุดกินเจ” อย่างไร ไม่ให้ร่างกายพัง แถมสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิม

“ออกเจ-หยุดกินเจ” อย่างไร ไม่ให้ร่างกายพัง แถมสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิม

“ออกเจ-หยุดกินเจ” อย่างไร ไม่ให้ร่างกายพัง แถมสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าการกินเจ ที่ทำให้เรางดเว้นจากการบริโภคเนื้อสัตว์ จะส่งผลให้เราได้ทั้งบุญ และสุขภาพที่ดีจากการได้ลองกินโปรตีนที่มาจากพืชมากขึ้น แต่การออกเจมากลับมากินเนื้อสัตว์ และอาหารอื่นๆ ในทันที ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน และส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า “การออกเจ มักจะออกผิดกันเยอะ อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ การออกเจ ก็เหมือนกับการเข้าเจ ต้องทำให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพการรับเนื้อสัตว์อย่างค่อยเป็นค่อยไป 9 วันของการกินเจ ร่างกายเริ่มจะปรับตัวได้ โดยเฉพาะ 2 วันสุดท้าย เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้กับการไม่กินเนื้อสัตว์ เริ่มคุ้นชินกับการกินผักและผลไม้ เมื่อออกเจ แล้วกลับมากินเนื้อสัตว์ทันที หรือที่เรียกว่า หักดิบ อาจจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ได้”

“ออกเจ-หยุดกินเจ” อย่างไร ไม่ให้ร่างกายพัง แถมสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิม

  1. เลือกกินโปรตีนจากนม ไข่ ปลา และโปรตีนที่ย่อยง่าย

ดื่มนม กินไข่และปลาเป็นหลักก่อน อย่าเพิ่งแตะต้องอาหารประเภทเนื้อ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อชนิดไหนก็ตาม ควรดื่มนม กินไข่และปลา ติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ จากนั้นถึงค่อยๆ เริ่มกินเนื้อสัตว์อย่างไก่ หมู วัว อาหารทะเล เป็นต้น โดยค่อยๆ เริ่มกินทีละน้อยๆ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ดื่มนม และงดดื่มนมในช่วงเทศกาลกินเจว่า เมื่อออกเจแล้วกลับมาดื่ม อาจเกิดอาการท้องอืดได้ เนื่องจากร่างกายอาจไม่ได้ผลิตน้ำย่อย ย่อยนม ที่เรียกว่า แลกเทส จะทำให้นมไม่ย่อย ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์หมักอยู่ในท้อง และทำให้เกิดแก๊สในท้องได้ จึงไม่ควรดื่มนมขณะที่ท้องว่าง ควรดื่มหลังอาหารมื้อหลักและค่อยๆ ดื่มทีละนิด ไม่ควรดื่มครั้งเดียวหมด หรือจะดื่มนมจืดอุ่นๆ ก็จะดี ซึ่งหลังจากนี้ไม่กี่วัน ร่างกายก็จะปรับสภาพเป็นปกติ

  1. เลือกกินอาหารย่อยง่าย รสอ่อน

อย่าเพิ่งหันไปกินอาหารรสจัด และย่อยยากในทันที กระเพาะอาหารอาจยังไม่คุ้นชินกับอาหารรสจัด ทั้งเค็มจัด หวานจัด มันจัด เผ็ดจัด จึงค่อยๆ เลือกกินอาหารรสอ่อนๆ ไปก่อน 2-3 วัน แล้วค่อยเริ่มกินอาหารตามปกติ

  1. กินผักและผลไม้ ลดแป้ง

มีคนจำนวนไม่น้อยที่น้ำหนักเพิ่มช่วง กินเจ ซึ่งเกิดจากการกินแป้งเยอะ กินจุกกินจิกและกินอาหารที่มัน อย่างทอดและผัด ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ สำหรับวิธีการควบคุมน้ำหนัก มี 3 วิธีด้วยกันคือ 

  • กินผักและผลไม้ เพราะผักผลไม้มีไฟเบอร์ไปดูดซับเอาไขมันและน้ำตาลออกจากร่างกายได้
  • ลดการกินแป้ง รวมถึงขนมปัง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ข้าวโพด เผือกมัน
  • หันกลับมากินอาหารที่ไม่มันมาก ประเภท ต้ม ย่าง ยำ อบ นึ่ง อย่างเช่น อาหารพื้นบ้านพวกแกงเลียง แกงป่า แกงอ่อม แกงแค ที่ไม่ใส่หมู ไม่ใส่น้ำมัน ก็จะลดน้ำหนักได้ และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน ไม่กินจุกกินจิกหรืออาจจะเปลี่ยนเป็นกินผลไม้แทนขนมหวาน
  1. กินอาหารมื้อเช้าให้มากกว่ามื้ออื่นๆ

ควรกินอาหารมื้อเช้าๆ ในปริมาณมาก กินมื้อเที่ยงให้พอดี และมื้อเย็นควรกินให้น้อย และห่างจากเวลาเข้านอน 3-4 ชม.และอย่าลืมออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นการเผาผลาญไขมันให้ออกจากร่างกาย ถ้าจะลดน้ำหนักหลังจากการออกเจ โดยควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวจะลดน้ำหนักได้เพียง 9% แต่ถ้าออกกำลังกายอย่างเดียวไม่ควบคุมอาหารเลยลดน้ำหนักได้แค่ 1% แต่ถ้าออกกำลังกายและควบคุมอาหารควบคู่ไปด้วย 90%

อย่างไรก็ตาม หากใครยังอยากรักษาสุขภาพโดยการไม่กินเนื้อสัตว์ต่อจากเทศกาลกินเจ สามารถทำได้โดยเป็นการกินเจเต็มรูปแบบเหมือนเดิม หรือสามารถปรับเป็นมังสวิรัติที่สามารถดื่มนม กินไข่ได้ หรืออาจจะเน้นโปรตีนที่มาจากพืช หรือโปรตีนที่ย่อยง่ายอย่าง ปลา มากกว่าขึ้น ก็ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ง่ายๆ เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook