โรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อนความเหมือนที่แตกต่าง
ในภาวะสังคมที่เร่งรีบกับชีวิตประจำวันที่เคร่งเครียดวุ่นวาย ทำให้กิจกรรมทุกอย่างต้องผันไปตามตัวแปรของเวลา จนบางครั้งกระทบถึงการทานอาหาร ทำให้ทานอาหารไม่เป็นเวลา กว่าจะได้ทานมื้ออาหารมื้อนึงของบางคนก็ล่วงเลยเวลาไปมาก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยๆ ปัญหาสุขภาพที่จะตามมาก็คือโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน ซึ่งโรคนี้กลายเป็นโรคที่คุ้นเคยและถือเป็นประจำตัวคนเมืองไปเสียแล้ว
2 โรคสุดฮิตความเหมือนที่แตกต่าง
ทั้งโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น อาการสองโรคนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่มีอาการปวด จุกเสียดแน่นท้องคล้ายอาหารไม่ย่อย เหมือนมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ปวดแสบบริเวณลิ้นปี่ แต่ทั้งสองโรคนี้จะมีความแตกต่างกันที่รายละเอียดของอาการและตำแหน่งการแสดงอาการ
โรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าโรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึงการเกิดแผลขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร ตรงส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย ตำแหน่งที่พบอาการได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
ซึ่งคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการดูแล อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดแสบ ปวดเสียด ตื้อ จุกและแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการจะเด่นชัดทั้งเวลาก่อนและหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หรือเวลาที่ท้องว่าง ในตอนเช้าหรือก่อนนอน
อาการปวดเหล่านี้เกิดจากภาวะกรดในกระเพาะอาหารสูง กรดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองกัดผนังกระเพาะจนทำให้เกิดแผล โดยอาการปวด จุกเสียดแน่นนี้จะเป็นๆหายๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละหลายครั้งตามเวลาของมื้ออาหาร และจะทุเลาลงเมื่อทานอาหารและน้ำเข้าไป
เช็คหน่อยว่าเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะหรือเปล่า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารมาจาก 4 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่
- เกิดจากความบกพร่องทางร่างกายที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อาจมีเนื้อเยื่อบุกระเพาะที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทนกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาได้ นานวันเข้าจึงทำให้เกิดแผลและเป็นโรคกระเพาะอาหารตามมา
- เกิดจากภาวะทางอารมณ์ การทำงานหนักบนแรงกดดันสูง มีภาวะความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด นอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ
- เกิดจากลักษณะการใช้ชีวิต มีลักษณะการรับประทานอาหารที่ไม่ดี กินเร็ว รีบเร่ง ทานอาหารไม่เป็นเวลา อดหรือข้ามมื้ออาหาร ดื่มชา กาแฟมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น ยาจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูก ข้อ ยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร” ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผนังและเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง มีความทนทานต่อกรดและน้ำย่อยน้อยลง ทำให้แผลหายช้า นอกจากนี้ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรยังเป็นเชื้อที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
โรคกรดไหลย้อน
สำหรับกรดไหลย้อน “เกิร์ด” (GERD) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่มีน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด (ประกอบด้วย กรดเกลือ หรือกรดไฮโดรคลอลิก) ล้นไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอ แสบร้อนบริเวณทรวงอก และจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการที่คล้ายกันแบบนี้ทำให้คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร หย่อนสมรรถภาพ โดยปรกติแล้วเมื่ออาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร หูรูดตัวนี้จะทำงานหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร แต่สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้หูรูดจะหย่อน ทำให้มีช่องว่างพอให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ เกิดความระคายเคืองขึ้นในหลอดอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่เยื่อบุหลอดอาหารได้
ลักษณะอาการที่เด่นชัดของโรคกรดไหลย้อน คือมีอาการแสบจุดเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที แน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย อาจมีอาหารคลื่นไส้ร่วมด้วยได้เช่นกัน เรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ แต่จะเป็นมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 1-2 ชม.
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้สามารถเกิดจากภาวะความผิดปรกติที่เกิดขึ้นได้เองภายในร่างกาย และ เกิดจากพฤติกรรมกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค
- เกิดจากอาการเสื่อมสมรรถภาพของหูรูดหลอดอาหาร สาเหตุอาจมากจากความเสื่อมถอยตามอายุ เพราะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมักพบว่าป่วยเป็นโรคนี้ หรือ เกิดจากการที่หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ซึ่งจะพบมากในทารก หรือเป็นความผิดปรกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และ ยังพบว่าโรคกรดไหลย้อนอาจเป็นผลพวงจากโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไล้เลื่อนดันกระบังลม และ ภาวะการตั้งครรภ์
- เกิดจากพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ทานมากเกินไป ทานอาหารปริมาณมากๆ ในมื้อเดียวทำให้น้ำย่อยที่หลั่งออกมามีปริมาณมาก กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ทำให้หูรูดคลายตัว นิสัยกินแล้วนอน กินแล้วนั่งงอตัว หรือโค้งตัวต่ำลง โดยเฉพาะหลังทานอาหารภายใน 2 ชม. แม้แต่การใส่กางเกงหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไปก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคได้
- เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงอย่างชาและกาแฟ นอกจากกระตุ้นการเกิดโรคกระเพาะอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะหูรูดคลายตัวที่เป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนได้
- เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงๆ ของทอดๆ มันๆ จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าลงทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้มากขึ้นเช่นกัน
- เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต การรับประทานอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยวบ่อยๆ ปริมาณมากๆ ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ทำให้หูรูดคลายตัวและมีกรดในกระเพาะอาหารสูง
แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร และ โรคกรดไหลย้อน
แนวทางการบรรเทาอาการของโรคทั้งสองโรคนี้ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดและกระตุ้นอาการของโรค ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิดๆ การทานอาหารมันๆ อาหารรสชาติจัดจ้านมากเกินไป ลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ทานอาหารในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารแล้วนอน เป็นต้น
แนวทางการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน เช่น การใช้ยาลดกรด ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและหลอดอาหาร หรือยารักษาโรคกระเพาะ ยาลดกรดแผนปัจจุบันต่างๆ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้บ่อยๆ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอ่อนเพลีย มีอาการไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร ฯลฯ
แนวทางการรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยอย่างขมิ้นชันก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้รับความนิยม เนื่องจากขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ มีฤทธิ์ช่วยขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ไม่มีพิษเฉียบพลัน ไม่สะสมในตับ ถือว่ามีความปลอดภัยสูงในการนำมาใช้รับประทาน
นอกจากขมิ้นชันจะดีกับกระเพาะและระบบทางเดินอาหารแล้ว ขมิ้นชันไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในแง่การบรรเทาโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นสมุนไพรที่ช่วย บำรุงร่างกายได้อีกด้วย ในขมิ้นชันนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เมื่อทำงานพร้อมกันจะช่วยลดไขมันในตับ ช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยทำความสะอาดลำไส้ บำรุงสมอง และช่วยบำรุงปอด นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ยังช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบที่เกิดกับอวัยวะภายใน
ทานง่ายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
เดี๋ยวนี้การทานขมิ้นชันไม่เป็นเรื่องยุ่งยากอีกต่อไป โดยปัจจุบันได้มีการจัดทำขมิ้นชันให้อยู่ในรูปแบบของแคปซูล ติดตามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก http://bit.ly/1LTkqG8
credit: lovefitt.com, thaicrudedrug.com, doctor.or.th, medplant.mahidol.ac.th, drug.pharmacy.psu.ac.th, guru.sanook.com, th.wikipedia.org, rspg.or.th, hiso.or.th, samunpri.com, ouayun.com, pharmacy.mahidol.ac.th
[Advertorial]