วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูก “แมลงก้นกระดก” กัด

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูก “แมลงก้นกระดก” กัด

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูก “แมลงก้นกระดก” กัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แมลงก้นกระดก หรือด้วงก้นกระดก มีส่วนหัว ปีก และหางเป็นสีดำ ช่วงอก ส่วนท้องเป็นสีส้มเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวประมาณ 7-8 มม. มักอาศัยบริเวณพงหญ้าอับชื้น ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน จะมีมากในช่วงปลายฤดูฝน แมลงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า พีเดอริน (Pederin) ซึ่งก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังของผู้ที่สัมผัส

“พีเดอริน” พิษร้ายหน้าฝน

พญ.ทิวานันท์ พรหมวรานนท์ แพทย์ผู้ชำนาญด้านผิวหนังและความงาม ศูนย์ศัลยกรรมและเวชกรรมเสริมสวย โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า พีเดอริน (Pederin) คือ สารพิษในตัวแมลงก้นกระดกที่ทำให้ผิวหนังชั้นนอกอักเสบ ระคายเคือง เกิดผิวหนังไหม้จากการสัมผัสสารพีเดอรินที่ออกมาจากตัวแมลง ไม่ใช่เกิดจากการกัดหรือต่อย ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้มักจะไม่รู้ตัว เมื่อสัมผัสแมลงชนิดนี้

 อาการจากพิษของ แมลงก้นกระดก

  • แผลมีลักษณะไหม้ โดยมักพบลักษณะไหม้เป็นทางยาว หรือพบลักษณะ kissing lesion ซึ่งเป็นผื่นบริเวณซอกพับที่ประกบกัน
  • เกิดการระคายเคือง ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง มีอาการแสบร้อน หรือคัน
  • มีตุ่มผื่นแดง ตุ่มพองน้ำ
  • ปวดแสบปวดร้อน
  • คัน ระคายเคือง
  • แผลมีลักษณะไหม้

การดูแลรักษา

  • ล้างด้วยน้ำเปล่าที่สะอาด
  • ประคบเย็นในบริเวณที่โดนสัมผัส
  • รอยเล็กๆ สามารถหายได้ใน 2-3 วัน
  • กินยาแก้แพ้
  • ทายาสเตียรอยด์ทาบริเวณที่โดนสัมผัส
  • สังเกตอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

วิธีป้องกันแมลงก้นกระดก

การป้องกันแมลงก้นกระดก คือ ไม่ควรโดนหรือสัมผัสตัวแมลงดังกล่าว หากบังเอิญแมลงโดนร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการปัดหรือสัมผัสโดยตรง และควรปัดอุปกรณ์บนที่นอน สะบัดเสื้อผ้า อุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อป้องกันแมลงซ่อนตัว รวมทั้งควรปิดประตูตู้เสื้อผ้า ประตูและหน้าต่างห้องนอนให้มิดชิดทั้งกลางวันและกลางคืน ในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะควรปิดไฟห้องนอน เพราะแมลงก้นกระดกมักชอบออกมาเล่นแสงไฟ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook