อันตรายจาก “พิษคางคก” อาการและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย

อันตรายจาก “พิษคางคก” อาการและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย

อันตรายจาก “พิษคางคก” อาการและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฤดูฝนเป็นช่วงการวางไข่ของคางคก ซึ่งมักมีรายงานการเสียชีวิตจากการกินคางคกทุกปี เนื่องจากในตัวคางคกมีต่อมน้ำเมือก หรือยางคางคกที่มีพิษ

อันตรายจากพิษคางคก

อ.พญ.สุทธิมน ธรรมเตโช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ยางคางคกมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง และยังประกอบด้วยสารชีวพิษประเภท digitaloids ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของหัวใจและระบบประสาทอย่างมาก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับพิษจากการรับประทานหนัง เลือด เครื่องใน หรือไข่ของคางคก ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชำนาญในการชำแหละ ทั้งนี้ เนื่องจากพิษคางคุกทนต่อความร้อนการทำให้สุกจึงไม่ทำให้พิษหายไป

อาการหากได้รับพิษคางคก

อาการจากการได้รับพิษจากคางคก มักเกิดขึ้นหลังรับประทานในหลักชั่วโมงความรุนแรงขึ้นกับปริมาณพิษที่ได้รับ

  • น้ำลายมาก
  • คลื่นใส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • หากผิวหนังหรือดวงตาสัมผัสยางคางคกจะทำให้ระคายเคืองได้
  • หากอาการรุนแรงจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน เพ้อ ไปจนถึงชัก
  • หรือหมดสติ หรืออาการทางระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้

การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากคางคก

ผศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน รพ.รามาธิบดี ระบุว่า หากผู้ป่วยเผลอรับประทานพิษคางคกเข้าไปแล้วมีอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด โทร. 1669 เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี มีสิทธิ์รักษาหายได้เป็นปกติ ไม่ปฐมพยาบาลที่ทำให้อาเจียน ล้วงคอ หรือกินไข่ขาว เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสับสน และสำลักที่สิ่งกินเข้าไปได้

ให้แพทย์รักษาตามหลักการรักษาผู้ป่วยที่รับสารพิษ ควบคู่กับการประกับประคองอาการ และติดตามอาการอย่างเหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook