แพทย์แผนไทยแนะ “สมุนไพรไทย” แก้โรคยอดฮิต-บำรุงผิวช่วงปลายฝนต้นหนาว
กรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะตำรับยาแผนไทย ชู สมุนไพรรสเปรี้ยว ขม และ เผ็ดร้อน ช่วยแก้อาการเจ็บป่วยโรคยอดฮิตในช่วงฤดูปลายฝน ต้นหนาว ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำตำรับยา ฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไอมะขามป้อม ยาปราบชมพูทวีป พร้อมชู พืช ผักสมุนไพรรส เปรี้ยว ขม และ เผ็ดร้อน มาปรุงเป็นอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บป่วยในช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว ตามศาสตร์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะคนที่เกิดธาตุน้ำ ต้องดูแลสุขภาพร่างกายเป็นพิเศษ เพราะจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคนธาตุอื่นๆ ในช่วงฤดูนี้
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ในฤดูฝน มีธาตุลมเป็นเหตุให้เจ็บป่วย ในฤดูหนาวมีธาตุน้าเป็นเหตุให้เจ็บป่วย ช่วงเปลี่ยนฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ร่างกายมีไอความร้อนค้างอยู่ตอนหน้าฝน พออากาศเย็นลงอย่างรวดเร็วปรับตัวไม่ทันเกิดภาวะธาตุไฟพิการ ก็เลยเจ็บป่วยได้ง่าย ในคนที่มีภูมิต้านทานดีก็จะไม่มีอาการใดๆ แต่ในคนที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดอ่อน จะป่วยได้ง่ายมากในฤดูหนาว ตามหลักการแพทย์
แผนไทย มีธาตุน้ำ เป็นที่ตั้งที่แรกของการเกิดของโรคต่างๆ หมายถึงการเจ็บป่วยมักเกิดจากธาตุน้ำก่อน อากาศที่เย็นลงทำให้เสมหะกำเริบ เกิดอาการภูมิแพ้ มีอาการคัดจมูก จาม น้ามูกไหล ไอ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ
แกงส้มดอกแค เมนูบำรุงสุขภาพช่วงปลายฝนต้นหนาว
ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นแพทย์แผนไทยจะเริ่มโดยการใช้อาหารในการปรับสมดุลของร่างกาย โดยใช้รสอาหาร เปรี้ยว ขม เบื่อ เอียน ดังคำโบราณว่า ปลายฝนต้นหนาว ให้กินแกงส้มดอกแค เพื่อปรับสมดุลธาตุในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เนื่องจากแกงส้ม เครื่องแกง จะมีรสเผ็ดร้อน บำรุงและแก้เกี่ยวกับธาตุลม (ฤดูฝน) การปรุงรสโดยใส่มะขามเปียกให้มีรสเปรี้ยวจะบำรุงและแก้ธาตุน้ำ (ฤดูหนาว) รวมทั้งการใส่ดอกแค โดยดอกแคไม่ต้องเอาก้านเกสรออก (รสขม) จะช่วยแก้ไข้หัวลมได้ การกินแกงส้มดอกแคจะช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกายไม่ให้ธาตุลมลดลงอย่างเฉียบพลัน และเตรียมรองรับธาตุน้ำที่มากับฤดูหนาว ร่างกายจะเกิดสมดุลของธาตุในช่วงเปลี่ยนผ่านของสองฤดูนี้
พืชผักสมุนไพร บำรุงร่างกายช่วงปลายฝนต้นหนาว
สำหรับพืชผักสมุนไพรที่ควรรับประทานในช่วงฤดูนี้ ได้แก่ รสเปรี้ยว เช่น
- มะขามป้อม สรรพคุณ แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ เป็นยาระบาย
- ชะมวง สรรพคุณ แก้ไข้ ระบายท้อง ขับเสมหะ
- มะเขือพวง สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต
- รสขม เช่น ดอกแค สรรพคุณ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู
- ขี้เหล็ก สรรพคุณ เป็นยาระบาย ช่วยให้นอนหลับสบาย
- สะเดา สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้า
นอกจากนี้ หากเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ร่างกายอาจได้รับความเย็นมากเกินไป จนรู้สึกหนาว ท่านสามารถรับประทานอาหารที่มีพืชผักสมุนไพรรสเผ็ดร้อนเป็นส่วนผสม เพื่อเสริมสร้าง
ความอบอุ่นให้ร่างกายได้ เช่น
- พริกไทย สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ
- กระชาย สรรพคุณ ทาให้กระชุ่มกระชวยเป็นยาบำรุงร่างกาย
- กะเพรา สรรพคุณ แก้ท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม แก้คลื่นไส้
- กระเทียม สรรพคุณ แก้อาการจุกเสียดแน่นอืดเฟ้อ
- ผักชี สรรพคุณ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้ไข้ ไอ หวัด
- หอมแดง สรรพคุณ แก้ไข้หวัด คัดจมูก น้ามูกไหล ขับลม บารุงธาตุพิการ
- ขิง สรรพคุณ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ
ในส่วนตำรับยาสมุนไพร ที่ควรมีติดบ้าน ติดตัวเอาไว้ เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยในช่วงฤดูหนาว คือ
- ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ รักษาอาการเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ
- ยาแก้ไอมะขามป้อม สรรพคุณ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
- ยาปราบชมพูทวีป สรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการหวัด ภูมิแพ้อากาศ ต้านการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยยาดังกล่าวสามารถสั่งจ่ายโดยแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์ ในคลินิกการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ
พืชผักสมุนไพร ช่วยบำรุงผิวพรรณหน้าหนาว
สำหรับการดูแลผิวพรรณในช่วงฤดูหนาวก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีอาการผิวหนังแห้งและคัน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย แนะนาให้ใช้พืชผักสมุนไพรที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ ได้แก่
- ว่านหางจระเข้
- แตงกวา
- มะเขือเทศ
- กล้วย
- น้ำมันมะพร้าว
- น้ำมันงา
เป็นต้น
ในช่วงที่มีสภาพอากาศเย็นลงพร้อมยังมีฝนตกอยู่ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการตากฝน การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น รักษาความอบอุ่นของร่างกายด้วยการสวมเสื้อหนาๆ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน พร้อมทั้งนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6 – 8 ชั่วโมง ก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคในช่วงฤดูหนาวนี้