เปิดมุมมองและเส้นทางจาก MEDEZE ธุรกิจที่เริ่มต้นจากคุณหมอและนักวิทยาศาสตร์

เปิดมุมมองและเส้นทางจาก MEDEZE ธุรกิจที่เริ่มต้นจากคุณหมอและนักวิทยาศาสตร์

เปิดมุมมองและเส้นทางจาก MEDEZE ธุรกิจที่เริ่มต้นจากคุณหมอและนักวิทยาศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จุดเริ่มต้นของผู้นำด้านอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ของประเทศไทย

ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณหมอวีรพล เขมะรังสรรค์ ผู้เป็นเหมือนหัวเรือใหญ่ของ MEDEZE ที่ได้มีโอกาสรู้จักและเห็นถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด ในการนำมารักษาโรคต่าง ๆ จากประสบการณ์การทำงานโดยตรง เนื่องจากคุณหมอวีรพลเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินารีซึ่งเกี่ยวข้องในกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อและเลือดจากสายสะดือของทารกเมื่อแรกคลอด

จากความเชื่อมั่นในศักยภาพของสเต็มเซลล์ที่จะเข้ามาประกอบการรักษาจะสามารถเปิดโอกาสให้กับหลาย ๆ โรคที่ยังมีทางเลือกในการรักษาจำกัดอยู่ ร่วมกับขณะนั้นในประเทศไทยมีผู้ให้บริการธนาคารสเต็มเซลล์ในประเทศน้อยรายและธนาคารสเต็มเซลล์เหล่านั้นยังรับเก็บเพียงแต่สเต็มเซลล์จากเลือดเท่านั้นซึ่งมีการใช้งานจำกัดอยู่กับโรคเลือดเพียงเท่านั้น

จึงนำมาสู่การก่อตั้งบริษัท กรุงเทพสเต็มเซลล์ จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ร่วมกับรศ.ดร. รังสรรค์ พาลพ่าย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยี ตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเป็นประธานชมรมสเต็มเซลล์แห่งประเทศไทย และนายแพทย์จำรัส สกุลไพศาล ผู้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ทำให้ในจุดเริ่มต้นของ MEDEZE นั้นเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเซลล์ต้นกำเนิดระดับต้น ๆ ของประเทศไทย

ความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ในระดับประเทศและระดับโลก

เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้น MEDEZE สร้างความแตกต่างจากธนาคารสเต็มเซลล์อื่น ๆ ในประเทศไทยด้วยการเป็นธนาคารสเต็มเซลล์แห่งแรกในประเทศไทยที่สามารถเก็บสเต็มเซลล์ได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์เม็ดเลือดหรือสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจากสายสะดือ

ในปีถัด ๆ มา MEDEZE ได้ขยายขีดความสามารถด้วยการเป็นธนาคารสเต็มเซลล์แห่งแรกในทวีปเอเชียที่สามารถจัดเก็บสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อไขมันได้ และเป็นธนาคารสเต็มเซลล์แห่งเดียวในประเทศไทยที่ใช้เครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์แบบอัตโนมัติ (AutoXpress; AXP®) ที่ช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มคุณภาพเนื้อเยื่อสเต็มเซลล์ก่อนที่จะทำการจัดเก็บ โดยมีอัตราความสำเร็จในการคืนสภาพเซลล์มากกว่า 95% เมื่อเทียบกับวิธีการที่คัดแยกด้วยมนุษย์จะอยู่ที่ 64-76% [1,2]

เนื่องจาก MEDEZE นั้นต้องการที่จะนำเสนอสิ่งที่ได้ประโยชน์ภายใต้มาตรฐานที่สูงที่สุดให้กับผู้รับบริการ โดย MEDEZE เป็นธนาคารสเต็มเซลล์ที่ได้รับมาตรฐานในเรื่องการคัดแยก การเก็บรักษาระยะยาว และการจัดส่งไปรักษาผู้ป่วย จากหน่วยงาน American Association of Blood Banks (AABB) ที่เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ให้การรับรองและกำหนดมาตรฐานแนวทางการดำเนินงานของธนาคารสเต็มเซลล์ที่เข้มงวดที่สุดในโลก รวมทั้งมาตรฐานห้องปฏิบัติการคุณภาพ National Environmental Balancing Bureau (NEBB)

MEDEZE ต่อยอดความเป็นผู้นำด้วยการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านหน่วยงาน เมดีซ วิจัยและพัฒนา เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ที่จะสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาการบริการใหม่ให้เกิดขึ้น และด้านนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดสินค้าหรือบริการใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยในปัจจุบัน MEDEZE ได้รับพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยหลาย ๆ ฉบับร่วมกับสถาบันการแพทย์ชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย

คุณหมอและทีมงานผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจที่จะยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานระดับโลกทั้งในด้านของภาคการผลิต และต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมการนำสเต็มเซลล์ไปใช้จริงในอนาคต โดยในอดีตความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สเต็มเซลล์จำกัดอยู่ที่เพียงด้านความงาม แต่ที่ MEDEZE นั้นได้ขยายการใช้งานสเต็มเซลล์มาประกอบการรักษาให้หลากหลายขึ้น ผ่านงานวิจัยและการทำงานเพื่อสังคมของมูลนิธิเมดีซ โดยอยู่ภายใต้งานวิจัยที่ได้มาตรฐานต่าง ๆ  เช่นนำมาใช้ในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อม หรือผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่า MEDEZE นั้นมุ่งมั่นที่จะทำให้การเข้าถึงสเต็มเซลล์ที่มีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับคนไทยและตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำระดับโลกในการให้บริการในด้านการฟื้นฟูสภาวะเสื่อมด้วยสเต็มเซลล์แบบครบวงจรตั้งแต่การคัดแยก จัดเก็บและเพาะเลี้ยงเพื่อรองรับการใช้งานจริงในอนาคต และพร้อมส่งมอบ “ชีวิตที่ยืนยาว” เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขเพื่อคนรอบข้างที่คุณรัก 

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/cell-bank-treasury/

อ้างอิง

  1. Rubinstein P. Cord blood banking for clinical transplantation. Bone marrow transplantation. 2009 Nov;44(10):635-42.
  2. Basford C, Forraz N, Habibollah S, Hanger K, McGuckin CP. Umbilical cord blood processing using Prepacyte‐CB increases haematopoietic progenitor cell availability over conventional Hetastarch separation. Cell proliferation. 2009 Dec;42(6):751-61.

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook