จุดไหนของ "ส้วม" อันตราย เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคมากที่สุด
ห้องส้วม เป็นสถานที่ที่เราปล่อยของเสียจากร่างกายออกไป แม้ว่าเราจะมีโถส้วมในการรับสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไปกำจัดอย่างปลอดภัย แต่ในระหว่างนั้นเราอาจพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ จากอุจจาระปัสสาวะได้
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม เผยผลของการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และเชื้อ E.coli บนพื้นผิวสัมผัสในห้องส้วม จุดไหนในห้องจะพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคมากที่สุด เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงการสัมผัสเมื่อใช้บริการห้องน้ำสาธารณะ
จุดไหนของ "ส้วม" อันตราย เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคมากที่สุด
จากผลของการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และเชื้อ E.coli บนพื้นผิวสัมผัสในห้องส้วมสาธารณะ 12 ประเภท ได้แก่
- สถานที่ราชการ
- สถานศึกษา
- โรงพยาบาล
- ตลาดสด
- แหล่งท่องเที่ยว
- ร้านจำหน่ายอาหาร
- แหล่งท่องเที่ยว
- สถานีบริการ
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- สวนสาธารณะ
- ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า
- สถานีขนส่งทางบก/ทางอากาศ
- ส้วมริมทาง ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
การสำรวจในปี 2564 พบว่า ส่วนต่างๆ ในห้องน้ำต่อไปนี้ พบการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ทำให้เจ็บป่วยได้ เรียงลำดับจากการพบเชื้อโรคมากที่สุด ไปน้อยที่สุด ดังนี้
- ที่รองนั่งโถส้วม
- ที่จับสายฉีดชำระ
- ก๊อกน้ำอ่างล้างมือ
นอกจากนี้ “ห้องส้วมในวัด” มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียบนที่รองนั่งโถส้วมสูงที่สุด
วิธีหลีกเลี่ยงเชื้อโรคจากห้องส้วม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสส่วนต่างๆ ในห้องส้วมโดยไม่จำเป็น เช่น กลอนประตูหรือลูกบิดประตู อาจใช้กระดาษทิชชู่วางก่อนจับ
- ใช้กระดาษทิชชู่เปียก หรือสเปรย์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% เช็ดทำความสะอาดฝารองนั่งก่อนใช้งาน
- หากใช้ส้วมหลุม ไม่ควรใช้น้ำจากที่มีอยู่ในถัง/อ่าง ควรรองน้ำใหม่จากก๊อกเพื่อนำมาราดทำความสะอาด
- ระหว่างใช้งานห้องส้วม หลีกเลี่ยงการเอามือมาสัมผัสกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ก่อนออกจากห้องส้วมสาธารณะ ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และซับมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือแบบใช้แล้วทิ้ง