การเก็บสเต็มเซลล์มีกี่แบบ สามารถเก็บได้จากที่ไหนบ้างและแตกต่างกันอย่างไร

การเก็บสเต็มเซลล์มีกี่แบบ สามารถเก็บได้จากที่ไหนบ้างและแตกต่างกันอย่างไร

การเก็บสเต็มเซลล์มีกี่แบบ สามารถเก็บได้จากที่ไหนบ้างและแตกต่างกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การใช้งานของสเต็มเซลล์นั้นหลากหลายมากขึ้น โดยหลายๆท่านอาจเคยผ่านหูผ่านตาเรื่องสเต็มเซลล์มาบ้างไม่มากก็น้อยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์ต้องเก็บจากที่ไหน จะเอาสเต็มเซลล์จากไหนมาใช้ดี หรือสเต็มเซลล์สามารถนำมาใช้กับโรคอะไรได้บ้าง ในบทความนี้จะพาลงรายละเอียดในเรื่องที่มาของสเต็มเซลล์แต่ละแบบ

สเต็มเซลล์มีทั้งหมดกี่แบบ

 สเต็มเซลล์ในปัจจุบันที่มนุษย์รู้จักนั้นมีหลากหลายแบบ [1-4]  ถ้าให้แบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ที่ใช้กันในวงการแพทย์ในปัจจุบันนั้น มักนิยมแบ่งตามลักษณะของเซลล์ในสเต็มเซลล์นั้นๆ โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆได้แก่

  1. สเต็มเซลล์เม็ดเลือด โดยสเต็มเซลล์ชนิดนี้นั้นมีความสามารถในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เป็นเซลล์ในกลุ่มเม็ดเลือดต่างๆเท่านั้นเช่นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด ซึ่งทำให้การนำมาใช้งานนั้นก็จะอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเลือดเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในบางกรณีก็มีการนำสเต็มเซลล์เม็ดเลือดมาใช้ในภาวะอื่นๆที่ไม่ใช่กลุ่มโรคเลือดด้วย โดยหวังผลการรักษาจากสารกระตุ้นต่างๆที่ผลิตมาจากสเต็มเซลล์เม็ดเลือดได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยสเต็มเซลล์เม็ดเลือดนั้นสามารถเก็บได้ทั้งจากไขกระดูกในคนที่โตเต็มวัยแล้ว หรือเก็บจากเลือดสายสะดือทารกเมื่อตอนคลอดก็ได้
  2. สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์ (หรือสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อ) สเต็มเซลล์ชนิดนี้นั้นมีคุณสมบัติในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้หลากหลายกว่า ทำให้มีความหลากหลายในการใช้งานสูงกว่าสเต็มเซลล์เม็ดเลือด โดยการเก็บสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อนั้นสามารถเก็บได้จากเนื้อเยื่อไขมันในคนที่โตเต็มวัยแล้ว หรือสามารถเก็บจากเนื้อเยื่อสายสะดือทารกเมื่อแรกคลอดก็ได้

แต่การเก็บสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจากไขมันนั้นจะมีความซับซ้อนกว่าปกติเนื่องจากสามารถเก็บได้ในธนาคารสเต็มเซลล์เพียงบางแห่งเท่านั้น เช่น MEDEZE เป็นต้น

หรือสามารถแบ่งประเภทของสเต็มเซลล์ตามแหล่งที่ทำการเก็บก็ได้ โดยจะแบ่งได้เป็นสองประเภทคือสเต็มเซลล์ที่เก็บจากทารกเมื่อแรกเกิด (สเต็มเซลล์เม็ดเลือดจากเลือดสายสะดือและสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจากสายสะดือ) และสเต็มเซลล์ที่เก็บจากมนุษย์ที่โตเต็มวัยแล้ว (สเต็มเซลล์เม็ดเลือดจากไขกระดูกและสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจากเซลล์ไขมัน)

การเก็บสเต็มเซลล์จากแต่ละตำแหน่งก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป โดยการเก็บสเต็มเซลล์ตั้งแต่แรกเกิดนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการเก็บดูแลรักษาสเต็มเซลล์เพิ่มขึ้นมา แต่ก็ดีกว่าการเก็บสเต็มเซลล์ตอนโตแล้วตรงที่

  1. การเก็บสเต็มเซลล์ในผู้ใหญ่นั้น สำหรับสเต็มเซลล์ชนิดเนื้อเยื่อมีเซนไคม์จะเก็บโดยการจัดเก็บเนื้อเยื่อไขมันจากหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา หรือสะโพก  ซึ่งเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและทำได้โดยทั่วไปแต่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมา หรือสเต็มเซลล์เม็ดโลหิตที่จะเจาะเข้าไปในไขกระดูก ซึ่งเป็นหัตถการที่ค่อนข้างเจ็บปวดและจำเป็นต้องทำในห้องปลอดเชื้อ ต่างจากการเก็บเนื้อเยื่อสายสะดือและเลือดสายสะดือในเด็กแรกเกิดที่เก็บจากสายสะดือ หรือรกที่แยกจากทารกแล้ว  ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นรกและสายสะดือจะหลุดมาพร้อมทารกและถูกกำจัดทิ้งอยู่แล้ว ทำให้การเก็บสเต็มเซลล์จากทารกนั้นไม่ก่อให้เกิดความทรมานแก่ทารกใดๆทั้งสิ้น
  2. แม้ว่าปัจจุบันการนำสเต็มเซลล์ไปใช้งานจะยังไม่แตกต่างกันมาก แต่สเต็มเซลล์ที่เก็บจากเนื้อเยื่อสายสะดือนั้นมีศักยภาพในการแบ่งตัว และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้สูงกว่ามาก ซึ่งรองรับความเป็นไปในในการรักษาแบบใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต [อ้างอิง 4]
  3. เซลล์ที่เก็บจากสายสะดือยังไม่ผ่านการเจอสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี รังสีต่างๆ ทำให้สภาพของเซลล์สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลจากหลายๆการศึกษาที่รายงานถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ที่ลดลงตามอายุตอนที่ทำการเก็บสเต็มเซลล์ [อ้างอิง 5]

 

โดยในแง่ของการใช้งานนั้นสเต็มเซลล์เม็ดเลือดไม่ว่าจะเก็บจากแหล่งไหน (ไขกระดูกในคนโตแล้วหรือจากเลือดสายสะดือในเด็กแรกเกิด) นั้นก็จะสามารถแบ่งตัวเองไปเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดเท่านั้น ทำให้การใช้งานถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มโรคเลือดเป็นหลัก

ส่วนสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อนั้นจะมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้หลากหลายกว่า เช่นสามารถเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หรือเซลล์ตับเป็นต้น ทำให้มีการใช้งานได้หลากหลายกว่า ด้วยชนิดและศักยภาพของสเต็มเซลล์ที่แตกต่างกันไป ทำให้การเก็บสเต็มเซลล์นั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการใช้งานว่าต้องการใช้งานในรูปแบบไหน เพื่อวางแผนการเก็บสเต็มเซลล์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-type 

 [Advertorial] 

อ้างอิง

  1. Nair V, Talwar P, Kumar S, Chatterjee T. Umbilical cord blood transplantation and banking. Pregnancy medicine. 1st ed. Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers (P) Ltd. 2015:197-215.
  2. Mayo Clinic Staff. Stem cells: What they are and what they do. [Online]. June 2019. Available at: https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/bone-marrow-transplant/in-depth/stem-cells/art-20048117. [August 2021]
  3. อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร. สเต็มเซลล์ (Stem Cell); เซลล์ต้นกำเนิด ตอนที่ 2: รู้จักเซลล์ต้นกำเนิดไอพีเอส ?. [Online]. 2014. Available at: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th [August 2021]
  4. Mayani H. Biological differences between neonatal and adult human hematopoietic stem/progenitor cells. Stem cells and development. 2010 Mar 1;19(3):285-98.
  5. Harris DT. Stem cell banking for regenerative and personalized medicine. Biomedicines. 2014 Mar;2(1):50-79.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook