การเติบโตของธุรกิจการเก็บสเต็มเซลล์ในประเทศไทย และผู้นำตลาดอย่าง MEDEZE Group
สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดนั้นเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้วโดยบางคนอาจจะรู้จักมาจากการใช้รักษาโรคเลือดต่าง ๆ หรือจากการใช้ในธุรกิจด้านความงาม แต่ความก้าวหน้าของการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคในปัจจุบันนั้นได้เจริญก้าวหน้าขึ้นไปมาก มีการประยุกต์นำสเต็มเซลล์ไปใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย โดยมีการประมาณมูลค่าอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ของโลกนี้อยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2020 และคาดว่าจะสูงถึง 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2026 [1] หรือคิดเป็นอัตราเติบโตสะสมอยู่ที่ 8.8 - 10.2% ต่อปีเลยทีเดียว [1,2] โดยเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตสะสมของอุตสาหกรรมสุขภาพโดยรวมจะอยู่ที่เพียง 5% ต่อปี [3]
การเติบโตของการใช้งานสเต็มเซลล์นั้นสามารถประเมินได้จากปริมาณงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสเต็มเซลล์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2019 มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานสเต็มเซลล์อยู่ประมาณ 800 การศึกษา [4] ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5,000 การศึกษาในช่วงปี 2021 [5] ซึ่งมีการทดลองเกิดขึ้นในหลาย ๆ สาขาการแพทย์ เช่น กลุ่มโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไตเสื่อม โรคตับแข็ง หรือโรคข้อเสื่อม เป็นต้น ซึ่งการเติบโตดังกล่าวนั้นสอดคล้องไปกับอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งที่มากขึ้นในมนุษย์ [1] ร่วมกับภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เปิดโอกาสให้ทุก ๆ เทคโนโลยีได้มีส่วนร่วมในการจัดการกับภาวะการระบาดดังกล่าว ซึ่งสเต็มเซลล์ก็ได้แสดงศักยภาพในการเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 [6]
โดยการเติบโตของอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์นั้นเป็นไปในทางเดียวกันในทุกขั้นตอนตั้งแต่การคัดแยก การจัดเก็บ และการเพาะเลี้ยง โดยปัจจุบันอัตราส่วนการใช้สเต็มเซลล์จากผู้ป่วยเองอยู่ที่ 42% [2] ซึ่งการใช้งานสเต็มเซลล์ในส่วนนี้ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลดโอกาสการแพ้สเต็มเซลล์จากผู้อื่น ซึ่งก็ตามมาด้วยขั้นตอนการคัดแยกและจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่จะมากขึ้นด้วยเนื่องจากมีความต้องการเก็บสเต็มเซลล์ที่เป็นของส่วนตัวมากขึ้น
ผู้นำอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย MEDEZE นั้นถือเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ โดยเริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ. 2553 ในนามของ บริษัท กรุงเทพสเต็มเซลล์ จำกัด ซึ่งดำเนินการจัดตั้งธนาคารสเต็มเซลล์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพสเต็มเซลล์ที่จัดเก็บได้จากเลือดสายสะดือเด็กแรกคลอด จาก American Association of Blood Banks (AABB) ในเรื่องการคัดแยก เก็บรักษาระยะยาว และการจัดส่งไปรักษาผู้ป่วย
MEDEZE ยังเป็นธนาคารสเต็มเซลล์แห่งเดียวในประเทศไทยที่ใช้เครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์เม็ดโลหิตของ AXP® ที่เป็นเครื่องอัตโนมัติเพื่อลดความผิดพลาดจากมนุษย์และควบคุมสภาพให้อยู่ในระบบปิดเพื่อลดการปนเปื้อน ทำให้มีอัตราการฟื้นตัวของเซลล์เมื่อนำมาใช้สูงมากกว่า 95% เหนือกว่าวิธีการคัดแยกโดยมนุษย์ที่อยู่ที่ 64-76% [7,8] โดยเครื่อง AXP® นั้นเป็นเครื่องคัดแยกเซลล์ที่ห้องปฏิบัติการระดับโลกเลือกใช้ เช่น คลังเลือดที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา The New York Blood Center [9]
MEDEZE ยังเป็นธนาคารสเต็มเซลล์แห่งแรกในไทยและในเอเชียที่สามารถจัดเก็บสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมันได้ ยิ่งไปกว่านั้นด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ MEDEZE เป็นบริษัทแรกในโลก ที่ได้ให้การบริการรับฝากจัดเก็บสเต็มเซลล์ตลอดชีพ โดยที่ที่อื่นยังคงเก็บเพียง 20 ปี (ปัจจุบันปรับการรับประกันเป็น 60 ปีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการทำบัญชี เพื่อรองรับการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต) โดยปัจจุบันทำการจัดเก็บสเต็มเซลล์ไปแล้วมากกว่า 20,000 ราย
มุ่งสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมสเต็มเซลล์ในระดับโลกของ MEDEZE
MEDEZE มุ่งสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ผ่านหน่วยงาน เมดีซ วิจัยและพัฒนา เพื่อวิจัยทั้งด้านการวิจัยพื้นฐาน เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ที่จะสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาการบริการใหม่ให้เกิดขึ้น และด้านนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดสินค้าหรือบริการใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยในปัจจุบัน MEDEZE ได้พัฒนาการผลิตอวัยวะสำรอง (กระจกตา) สำหรับปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย (ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทดลองในสัตว์กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), เพิ่มศักยภาพความสามารถของเซลล์เพชฌฆาต ให้พุ่งเป้าไปที่จุดเนื้อมะเร็งที่ต้องการ (ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Osaki Method”), นวัตกรรมการบริการการเลี้ยงสเต็มเซลล์รากผม และต่อยอดการนำสเต็มเซลล์ที่จัดเก็บจากไขมันของตัวเองไปใช้ในภาวะข้อเข่าเสื่อม (ร่วมมือกับโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า)
ด้วยพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความมุ่งมั่นที่จะทำให้การเข้าถึงสเต็มเซลล์ที่มีคุณภาพเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับคนไทย ภายในปี 2026 คุณหมอวีรพลและ MEDEZE Group ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำระดับโลกในการให้บริการในด้านการฟื้นฟูสภาวะเสื่อมด้วยสเต็มเซลล์แบบครบวงจรตั้งแต่การคัดแยก จัดเก็บและเพาะเลี้ยงเพื่อรองรับการใช้งานจริงในอนาคต พร้อมส่งมอบ “ชีวิตที่ยืนยาว” เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขเพื่อคนรอบข้างที่คุณรัก
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-thailand/
อ้างอิง
- Mordorintelligence. Global Stem Cell Market Report 2021 - Growth, Trends, COVID-19 Impacts, and Forecasts 2021-2026. [Online]. 2021. Available at: https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/stem-cell-research-market. [Sep 2021]
- Grandviewresearch. Stem Cells Market Size, Share & Trends Analysis Report By Product (Mesenchymal, Adult, iPSCs), By Application, By Technology (Cell Acquisition, Cryopreservation), By Therapy, By Region, And Segment Forecasts, 2021 - 2028. [Online]. 2021. Available at : https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/stem-cells-market. [Sep 2021]
- Deloitte. 2020 US and global health care outlook. [Online]. 2020. Available at : https://www2.deloitte.com/us/en/pages/life-sciences-and-health-care/articles/global-health-care-sector-outlook.html. [Sep 2021]
- Sydney Wyatt. Stem Cell Therapy: The Future of Healthcare?. [Online]. 2020. Available at : https://davissciencesays.ucdavis.edu/news/stem-cell-therapy-future-healthcare. [Sep 2021]
- www.clinicaltrials.gov. [Online]. 2021. Available at : https://www.clinicaltrials.gov/ct2/results?cond=stem+cell&term=&cntry=&state=&city=&dist=. [Sep 2021]
- Golchin A, Seyedjafari E, Ardeshirylajimi A. Mesenchymal stem cell therapy for COVID-19: present or future. Stem cell reviews and reports. 2020 Jun;16(3):427-33.
- Rubinstein P. Cord blood banking for clinical transplantation. Bone marrow transplantation. 2009 Nov;44(10):635-42.
- Basford C, Forraz N, Habibollah S, Hanger K, McGuckin CP. Umbilical cord blood processing using Prepacyte‐CB increases haematopoietic progenitor cell availability over conventional Hetastarch separation. Cell proliferation. 2009 Dec;42(6):751-61.
- Cord Blood Registry. Cord Blood Registry Achieves Industry-Leading Stem Cell Recovery With New Automation Technology. [Online]. 2007. Available at: https://www.biospace.com/article/releases/-b-cord-blood-registry-b-achieves-industry-leading-stem-cell-recovery-with-new-automation-technology-/. [July 2021]
[Advertorial]