“มวลกระดูกหาย” จาก “Long-COVID” ผลร้ายหลังหายป่วย

“มวลกระดูกหาย” จาก “Long-COVID” ผลร้ายหลังหายป่วย

“มวลกระดูกหาย” จาก “Long-COVID” ผลร้ายหลังหายป่วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกๆ วันเรามักได้เห็นอินโฟกราฟิกแสดงตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้หายป่วย จากอาการของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ซึ่งหลายคนเข้าใจดีว่า ความกังวลของโรคนี้คือการมีตัวเลขสีแดง หรือจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นแต่ละวัน แต่ในขณะเดียวกัน ยิ่งจำนวนตัวเลขสีเขียว หรือผู้หายป่วยมีมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงประเทศไทยก็กำลังถอยห่างจากวิกฤตมากขึ้นเท่านั้น

จริงอยู่ว่าการหายจากอาการโควิด-19 เป็นเรื่องน่ายินดี ทว่าในมุมกลับกัน ตัวเลขสีเขียวที่เพิ่มมากขึ้น หมายความว่า เรากำลังเผชิญความเสี่ยงของผู้ได้รับผลกระทบจาก Long-term effects of coronavirus หรือ Long-COVID ภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบได้หลายระดับ ระยะเวลาไม่แน่นอน และซ้ำร้ายกว่านั้น ลองโควิดอาจส่งผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูก ซึ่งเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว

นักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า ค้นพบว่า SARS-CoV-2 หรือโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจทำให้ผู้ติดเชื้อสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว แม้การติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรงก็ตาม และมวลกระดูกที่ลดลงมักเกิดพร้อมกับโรคกระดูกพรุน ที่ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย ซึ่งผลเสียจะตกอยู่กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และแนวโน้มจะเกิดการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกพรุน อีกกลุ่มคือเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูก จากปกติที่มวลกระดูกไม่ถึงหยุดเติบโตจนกว่าจะถึงจุดสูงสุดที่อายุประมาณ 25 ปี

การเสริมแคลเซียมและวิตามินดี เป็นการเสริมสุขภาพกระดูกสำหรับกลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก จากผลกระทบของเชื้อเอชไอวี แน่นอนว่ารวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะ Long-COVID ด้วยเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook