เช็กเลย อาการ "เชื้อราที่เล็บ" สาเหตุ และวิธีรักษา

เช็กเลย อาการ "เชื้อราที่เล็บ" สาเหตุ และวิธีรักษา

เช็กเลย อาการ "เชื้อราที่เล็บ" สาเหตุ และวิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหามีเชื้อราที่เล็บ เนื่องจากพฤติกรรมการดูแลเล็บที่ไม่เหมาะสม 

ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ และ ผศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช คลินิกโรคเชื้อราที่เล็บ สาขาวิชาโรคเชื้อราผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis) หมายถึง การติดเชื้อราซึ่งรวมถึงราที่เป็นสายรา หรือ เชื้อราในรูปของยีสต์ (ราที่มีลักษณะเป็นเซลล์กลม) ที่เล็บ โดยปกติแล้วเชื้อราที่กล่าวมานี้มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการเพาะเชื้อรา เป็นต้น ในประเทศไทยชนิดของเชื้อราที่พบบ่อยๆ คือ เชื้อกลากแท้(dermatophytes) เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) และเกิดจากยีสต์ (yeasts) โดยเฉพาะเชื้อแคนดิดา (Candida)

ผศ. พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงอาการเชื้อราที่เล็บเอาไว้ ดังนี้

การติดเชื้อราที่เล็บ มี 2 รูปแบบ

  1. มีอาการกดเจ็บรอบเล็บ รอบเล็บมวมแดง ผิวเล็บขรุขระ

มักเกิดจากนิ้วมือที่เปียกน้ำบ่อยหรือแช่น้ำ เช่น ซักผ้า ล้างจาน เป็นต้น โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุเกิดจากเชื้อแคนดิดา

รักษาได้ด้วยการทายาต้านเชื้อรานานเป็นสัปดาห์ หรือใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน

  1. เล็บร่น

เนื่องจากแผ่นเล็บไม่ติดกับพื้นเล็บทำให้เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ บางรายพบว่ามีภาวะใต้เล็บหนาหรืออาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระได้

เล็บร่น เกิดจากเชื้อราในกลุ่มราสายทั้งที่เป็นเชื้อกลาก และไม่ใช่ซื้อกลาก ที่เข้าไปใต้ล็บ อาจติดจากดิน สัตว์ และคนสู่คนได้

รักษาได้โดย

– ใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทานหรือยาต้านเชื้อราในรูปแบบของยาทาเล็บ

– หมั่นทำความสะอาดเล็บมือหลังสัมผัสดินและสัตว์ ที่มีอาการขนร่วงหรือมีรอยโรคที่ผิวหนัง

– ดูแลไม่ให้เล็บมือและเท้าอับชื้น

นอกจากนี้ ผศ.พญ.จรัสศรี และ ผศ.นพ.สุมนัส ระบุว่า สำหรับอาการเชื้อราที่เล็บ ยังมีวิธรการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้แสงเลเซอร์รักษาเชื้อราที่เล็บ หรือเครื่องมือทางกายภาพบางชนิดในการรักษา หรือร่วมการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ หรือการใช้ครีมหรือสารเคมีที่ช่วยเสริมการรักษาโรค หลายวิธีแม้ยังเป็นวิธีการใหม่ แต่ก็มีผลการศึกษายืนยันความเป็นไปได้ ให้การรักษาที่ให้ผลดีและปลอดภัย

โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อราแต่การติดต่อก็ไม่สามารถติดกันง่าย เชื้อราที่พบเกิดโรคนั้นส่วนหนึ่งติดต่อด้วยกันจากมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และเชื้อราหลาย ๆ ชนิดก็อยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือดิน ต้นไม้ ฯลฯ

การรักษาเชื้อราที่เล็บต้องใช้ระยะเวลานาน อาจใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และยังมีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ แม้ว่าเล็บที่ดูเหมือนเกือบจะปกติหลังการรักษาแล้ว ยังอาจมีเชื้อราจำนวนน้อยอยู่ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดโรคซ้ำดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งโดย เฉพาะก่อนหยุดการรักษาก็นับว่ามีความสำคัญ

วิธีป้องกันเชื้อราที่เล็บ

  1. ดูแลเท้าให้แห้งไม่ควรเดินเท้าเปล่า โดยเฉพาะในที่สาธารณะที่ใช้ของร่วมกัน
  2. ไม่ควรใช้วิธีตัดเซาะหรือเลาะเล็มส่วนด้านข้างของเล็บ หรือให้ช่างทำเล็บตัดเล็บอย่างไม่ถูกวิธี เพราะทำให้เกิดเล็บขบ ติดเชื้อแทรกซ้อนเพิ่มเติม 
  3. เลือกชนิดรองเท้าที่เหมาะสม ไม่ควรรัดแน่น อับชื้น หรือเปิดปลายเท้า
  4. ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการดูแลสุขภาพเท้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน หรือใน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการมองเห็น การเคลื่อนไหว การมีความผิด ปกติของโครงสร้างเท้าร่วมด้วย การได้รับยาอื่นๆ หลายชนิด ฯลฯ

การใช้ยารักษาเชื้อราชนิดรับประทาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาอื่น ๆ ที่ได้ร่วมกันโดยเฉพาะยากลุ่มลดไขมันหรือโรคประจำตัว อื่นที่มีร่วมอยู่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook