ความหวังใหม่ของคนศีรษะล้าน

ความหวังใหม่ของคนศีรษะล้าน

ความหวังใหม่ของคนศีรษะล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศีรษะล้าน (ผมบาง ผมร่วง) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและก่อให้เกิดความไม่มั่นใจหรือกระทั่งรบกวนคุณภาพชีวิตได้ โดยปัญหาเรื่องศีรษะล้านนั้นมีแนวโน้มที่จะพบได้มากขึ้นและพบได้ในคนอายุน้อยลงเนื่องจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นมีปัจจัยที่กระตุ้นการหลุดร่วงของเส้นผมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการรักษาภาวะผมบางแบบใหม่ ๆ ถูกคิดค้นออกมาตลอดเวลา

แม้ว่าภาวะดังกล่าวจะพบได้มากขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดภาวะศีรษะล้านได้เช่น ภาวะผมบางจากกรรมพันธ์ุพบได้มากในเพศชายเนื่องจากมีผลจากฮอร์โมนเพศชายที่ทำให้เส้นผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น ภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์นั้นมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่เราคุ้นตาเช่นง่ามผมลึกขึ้น หรือรอยแสกผมที่ชัดขึ้นเรื่อย ๆ อีกสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะผมบางได้แก่ความเครียดจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด มลภาวะ การขาดสารอาหารหรือการได้รับยาบางอย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผมที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเนื่องจากอาจจะเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อที่หนังศีรษะ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ โดยโรคเหล่านี้มักทำให้เกิดอาการผมร่วงที่ไม่เข้ากับรูปแบบที่เราพบกันบ่อย ๆ เช่นร่วงเป็นหย่อม ๆ ร่วงเป็นกระจุก หรือผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน

การรักษาภาวะผมร่วงหรือศีรษะล้านที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันได้แก่[1-3]

1.การใช้ยาไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ทาที่หนังศีรษะ โดยให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ แต่ผลการรักษาจะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา โดยเดิมทีนั้นถูกนำมาใช้เพื่อการลดความดันโลหิตแต่ให้ผลข้างเคียงคือกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้ด้วยการทำให้เลือดไหลเวียนมาบริเวณที่หนังศีรษะมากขึ้น

2.การใช้ยาฟิเนสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในเพศชาย โดยส่งผลให้รากผมแข็งแรงมากขึ้นจากการลดการจับตัวของฮอร์โมนเพศชายที่รากผม อย่างไรก็ตามผลการรักษานั้นจะหายไปเมื่อหยุดการใช้งาน อีกทั้งผลการรักษายังไม่แน่ชัดในเพศหญิงอีกด้วย

3. การปลูกถ่ายรากผม โดยจะทำการผ่าตัดเก็บรากผมจากบริเวณโคนผมด้านหลังของศีรษะที่มักจะทนต่อภาวะผมร่วงได้ดี ก่อนนำมาผ่าตัดปลูกถ่ายกลับเข้ามาในตำแหน่งที่ผมบาง โดยรวมแล้วผู้ป่วยยังมีจำนวนผมเท่าเดิมแต่มีการกระจายของผมที่ทั่วถึงมากขึ้น การผ่าตัดปลูกถ่ายรากผมนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและมีความเจ็บปวดจากการผ่าตัด รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากการผ่าตัดเช่นแผลเป็นหรือการติดเชื้อเป็นต้น

4.การใช้รังสีพลังงานต่ำเพื่อกระตุ้นการทำงานของรากผม (Low-level laser therapy) โดยเชื่อว่าการกระตุ้นด้วยพลังงานต่ำ ๆ นั้นจะทำให้สเต็มเซลล์บริเวณโคนผมกลับมาทำงานมากขึ้นและกระตุ้นให้เซลล์รากผมกลับเข้าสู่กระบวนการเจริญเติบโตอีกครั้ง โดยมีทั้งแบบที่กลับไปใช้เองได้ที่บ้านหรือแบบที่ต้องให้แพทย์เป็นผู้ทำการรักษาให้ โดยเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะผมร่วงระยะเริ่มต้น

การรักษาที่มีในปัจจุบันแต่ละวิธีนั้นล้วนมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ทำให้ไม่สามารถปรับใช้กับผู้ป่วยทุกประเภทได้ ยังคงมีความสนใจในการนำเสนอวิธีการรักษาภาวะผมร่วงแบบใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ เช่น

  • การรักษาด้วยยีนส์บำบัด จากความก้าวหน้าเรื่องการตรวจลำดับพันธุกรรมในปัจจุบัน ทำให้มีการค้นพบลำดับพันธุกรรมหลายร้อยตำแหน่งที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะผมบาง โดยอาจจะนำไปสู่การผลิตยาที่ยับยั้งการทำงานของสารพันธุกรรมที่ส่งผลต่อภาวะผมบางโดยตรงได้
  • การรักษาด้วยสเต็มเซลล์รากผม หรือเซลล์ต้นกำเนิดรากผม ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงในคุณสมบัติของการเจริญเติบโตสู่การกลายเป็นรากผม นับเป็นนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยไม่ต้องกังวลว่าเซลล์ที่ปลูกถ่ายจะพัฒนากลายไปเป็นเซลล์ชนิดอื่น ทำให้การวางแผนในการรักษาในอนาคตนั้นสามารถคาดหวังผลได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญสเต็มเซลล์รากผมสามารถเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนได้จำนวนมหาศาล จึงลดข้อจำกัดที่เคยสร้างปัญหาจากการปลูกถ่ายเส้นผมในแบบเดิม ๆ

ซึ่งที่ MEDEZE นั้นเป็นธนาคารสเต็มเซลล์ที่สามารถเก็บได้จากหลายแหล่ง พร้อมด้วยกรรมวิธีที่ได้รับมาตรฐานระดับโลกเพื่อการันตีถึงจำนวนและคุณภาพสเต็มเซลล์ที่จะได้รับเมื่อตอนที่ต้องการนำมาปลูกถ่ายจริง โดยมีการรับประกันคุณภาพสเต็มเซลล์ที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย (60 ปี) รวมถึงการรับประกันคุณภาพสเต็มเซลล์ด้วยวงเงินสูงสุด 10 เท่าของค่าธรรมเนียมอีกด้วย เพื่อความมั่นใจสูงสุดในคุณภาพการจัดเก็บและการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เพื่อรองรับการใช้งานจริงต่าง ๆ ในอนาคต

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-baldness-cure/

References

  1. Hannah Nichols. Baldness: How close are we to a cure?. Online. [Jun 2017]. Available at : https://www.medicalnewstoday.com/articles/317788. [Oct 2021]
  2. สยามรัฐออนไลน์. คนหัวล้านได้เฮ...แพทย์จุฬาฯ วิจัย พบเลเซอร์ แก้ผมร่วงพันธุกรรมใน 6 เดือน. Online. [Sep 2021]. Available at : https://siamrath.co.th/n/280372. [Oct 2021]
  3. วิธีรักษา "ผมบาง-ผมร่วง" จากคำแนะนำของแพทย์. Online. [Mar 2021]. Available at : https://www.sanook.com/health/27509/. [Oct 2021]

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook