"ขึ้นเครื่องบิน" เสี่ยง "ซิลิโคนหน้าอกแตก" จริงหรือไม่?

"ขึ้นเครื่องบิน" เสี่ยง "ซิลิโคนหน้าอกแตก" จริงหรือไม่?

"ขึ้นเครื่องบิน" เสี่ยง "ซิลิโคนหน้าอกแตก" จริงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกความกังวลใจของผู้ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกที่ต้องเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสาร คือ ความกังวลใจว่าถุงซิลิโคนอาจแตกจากแรงดันในเครื่องบิน ซึ่งความเป็นจริง นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งและผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงาม โรงพยาบาลบางมด อธิบายไว้ว่า “ถุงซิลิโคนสำหรับใช้เสริมเต้านมที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ จะทนต่อแรงบีบ (Pressure) ได้สูงมาก หากเปรียบเทียบกับแรงดันในเครื่องบิน ซึ่งน้อยกว่าความดันที่สามารถทำให้ถุงซิลิโคนเต้านมที่ได้มาตรฐานแตกได้ 10-15 เท่า จึงเป็นไปได้ยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ถุงซิลิโคนจะแตกหรือรั่วซึมจากการขึ้นเครื่องบิน”

ปัจจัยที่มีผลสำหรับการทนต่อแรงดันของถุงซิลิโคน ได้แก่ ความหนาของถุงซิลิโคน ระยะเวลาที่ใส่และชนิดของซิลิโคนที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท ในปัจจุบันบริษัทผลิตซิลิโคนที่ได้มาตรฐานจะมีการรับประกันคุณภาพตลอดชีวิต โอกาสแตกหรือรั่วซึมน้อยมากเพียงแค่ ซึ่งน้อย 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์

ในกรณีผู้ที่เคยศัลยกรรมหน้าอกไปแล้วมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาจมีการแตก (Ruptured Implant) หรือรั่วซึม (Silicone Leakage) ของซิลิโคน ได้แก่

  1. หน้าอกผิดรูปไปจากเดิม
  2. มีอาการปวด แสบ บริเวณหน้าอก
  3. หน้าอกมีขนาดเล็กลงอย่างฉับพลัน 
  4. หน้าอกแข็ง

ทั้งนี้ บางรายอาจไม่มีอาการใดปรากฏ (Silence Rupture) แต่ทั้งนี้หากตรวจพบว่าซิลิโคนรั่วซึม หรือแตก แพทย์จะทำการผ่าตัดรักษา นำซิลิโคนเก่าออก (Remove Silicone) ล้างเนื้อเยื่อให้สะอาดและเลาะพังผืดออก (Capsulectomy) เพื่อใส่ซิลิโคนใหม่เข้าไป ซึ่งไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด

นอกจากนี้ FDA (Food and Drug Administration) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลคุณภาพสวัสดิภาพและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางด้านสุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ แนะนำให้ผู้ที่เคยศัลยกรรมเสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และแนะนำให้ตรวจด้วย MRI ครั้งแรกหลังจากเสริมหน้าอกไปแล้ว 3 ปี จากนั้นควรตรวจทุก 2 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook