"Skinny Shaming" ผอมไปก็โดนทำร้ายจิตใจเหมือนกัน

"Skinny Shaming" ผอมไปก็โดนทำร้ายจิตใจเหมือนกัน

"Skinny Shaming" ผอมไปก็โดนทำร้ายจิตใจเหมือนกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"กินข้าวบ้างนะ" ประโยคที่ดูเหมือนเป็นห่วงแต่ความแฝงคือต้องการบอกว่าเราผอมเกินไป แม้เรานั้นจะไม่ได้อยากผอมหรือผ่านการไดเอทจนน้ำหนักลดเหลือเพียงเท่านี้แต่ความผอมที่หลายคนอยากได้ บางทีก็กลับทำร้ายจิตใจคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเหมือนกันกับ Skinny Shaming

ค่านิยมความงามที่สังคมสมัยนี้มอบสปอร์ตไลต์ให้ส่วนใหญ่ก็คือคนผอมกับมายาคติที่เชิดชูว่า ผอม=สวย นอกจากทำร้ายจิตใจคนเจ้าเนื้อให้รู้สึกหมดหวังกับความอร่อยของอาหารที่อยู่ตรงหน้าแล้ว ในอีกด้านของใบมีดปนน้ำผึ้งอย่าง "หุ่นดี" ก็ทำให้ชีวิตผู้หญิงที่ผอมรู้สึกเจ็บปวดด้วยเช่นกัน

การวิจารณ์รูปร่างคนอื่นเกี่ยวกับความผอมอย่าง Skinny Shamingนับเป็นหนึ่งในส่วนของ Body Shaming หรือการวิจารณ์เรือนร่างแต่เปลี่ยนจากความอ้วนเป็นความผอมเหลือแต่กระดูกแทน ซึ่งอาจไม่ได้เป็นที่พูดถึงในวงกว้างเหมือนกับ Fat Shaming เพราะอย่างที่รู้ว่าโลกนี้ให้ความสำคัญกับหุ่นดี จึงทำให้เสียงของผู้หญิงที่ตกระกำลำบากกับการวิจารณ์ความผอมนี้ไม่ค่อยมีใครได้ยินเช่นเดียวกัน

วาชนาวี ซูเรช (Vaishnavi Suresh ขออภัยหากออกเสียงผิด) สาวชาวฮินดีผู้ตกเป็นหนึ่งในเหยื่อของการถูกวิจารณ์ความผอม เปิดใจเล่าชีวิตของเธอเองผ่านเว็บเพจว่าครั้งหนึ่งเธอก็เคยเกลียดร่างกายของตัวเองเพราะความผอมถึงกับต้องหาจิตแพทย์บำบัดความรู้สึกแย่ๆนี้ออกไป

ตลอดชีวิตวัยเด็กของวาชนาวีถูกล้อปมด้อยเรื่องน้ำหนักที่ผอมจนเห็นกระดูกว่าเหมือนแมลง รวมถึงแม่ของเธอก็โดนตำหนิจากคนรอบข้างว่าไม่ได้เลี้ยงดูลูกตัวเองให้อยู่ดีกินดีเหมือนคนอื่น แม้เวลาผ่านไปแต่น้ำหนักก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม เมื่อโตขึ้นชื่อของเธอก็ถูกเปลี่ยนเป็น atigambheer kuposhit ที่แปลว่าอาการขาดสารอาหารในภาษาอินเดียไปโดยปริยาย

ชีวิตที่โดนดูถูกกับความผอมที่ติดตัวทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่จนต้องพบจิตแพทย์รักษาจิตใจให้หายกลับมาเป็นปกติ นำมาสู่คำตอบของเธอเองที่ค้างคามานานว่าสรุปแล้ว คนอ้วนกับคนผอม ใครรู้สึกแย่กับ Beauty Standard มากกว่ากัน? ซึ่งนั่นก็คือ “ไม่มีใครสมควรเสียใจกับกฎเกณฑ์นี้” ต่างหาก

ถึงชีวิตของสาวอินเดียคนนี้จะเริ่มเปิดใจให้กับความสุขกับเรือนร่างตัวเอง แต่ยังมีผู้หญิงอีกมากที่โดนใช้ร่างกายเป็นเสียงหัวเราะของบทสนทนาโดยเฉพาะดาราที่เป็นเป้าสายตาของสังคม มิหนำซ้ำ skinny shamingยังตอกย้ำคนอ้วนให้รู้สึกกดดันว่า การเป็นคนผอมก็ดีกว่าคนอ้วนไม่รู้ตั้งเท่าไหร่

ท้ายที่สุดค่านิยม Beauty Standard ที่หลายคนโดยเฉพาะสาวๆแบกรับเอาไว้เราอาจจะต้องเขวี้ยงออกไปแล้วจับเข่าคุยกันว่าร่างกายคนเราไม่ว่าจะ สูง ต่ำ ผอม หนัก ดำ ขาว นั้นเป็นเรื่องปกติ จะไม่ปกติก็ตรงการ shaming คนอื่นเพื่อความบันเทิง(หรือไม่ว่าจะเพื่ออะไรก็ตาม)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook