งานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน

งานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน

งานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สเต็มเซลล์ (stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถแบ่งตัวเองได้ไม่จำกัดและมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ใดก็ได้ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ประสาท หรือแม้กระทั่งเซลล์ตับ ทำให้การนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรคจึงเป็นการนำเสนอวิธีการรักษาที่เน้นไปที่การฟื้นฟูและทดแทนเซลล์ต่าง ๆ ที่เสียหายไปให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง [ 1]

ด้วยความก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้การคัดแยกสเต็มเซลล์มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนสามารถคัดแยกและจัดเก็บสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์ (Mesenchymal stem cell) ได้จากสายสะดือและไขมันซึ่งยังคงความสามารถในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อยู่ [1] ทำให้การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษานั้นหลากหลายมากขึ้น จนมีการศึกษาวิจัยจากหลายๆ สาขาการแพทย์ที่ให้ความสนใจในการนำสเต็มเซลล์เข้ามาประกอบการรักษา ซึ่งผลการศึกษาที่มีออกมาในปัจจุบันนั้นก็ช่วยยืนยันถึงศักยภาพของการนำสเต็มเซลล์เข้ามาร่วมรักษาได้อย่างมีความหวังมากขึ้น โดยตัวอย่างโรคที่มีการศึกษาและรายงานผลถึงความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาได้แก่โรคข้อเสื่อมและโรคเบาหวานเป็นต้น

โรคข้อเสื่อม

สำหรับโรคข้อเสื่อมนั้นในผู้ป่วยบางส่วนมักจะลงท้ายด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกหรือข้อเข่าเทียม ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันอายุการใช้งานของข้อเทียมเหล่านั้นจะมากกว่า 20 ปี แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยหลายคนที่ไม่อยากผ่าตัดหรืออายุยังน้อยเกินกว่าจะใช้ข้อเทียมได้ การนำสเต็มเซลล์เข้ามารักษานั้นหวังที่จะฟื้นฟูเซลล์กระดูกอ่อนที่เสื่อมไปให้กลับมาทำหน้าที่ได้อีกครั้ง

มีงานวิจัยจากประเทศเกาหลีใต้ตีพิมพ์ในวารสาร STEM CELLS EXPRESS เมื่อปี 2014 [2] ศึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากภาพถ่ายรังสี โดยทำการเก็บสเต็มเซล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์จากเนื้อเยื่อไขมันที่หน้าท้อง ก่อนนำมาเพาะเลี้ยงและฉีดกลับเข้าไปในข้อเข่าของผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนทำการตรวจวัดอาการและภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กเพื่อประเมินทั้งอาการและปริมาณของกระดูกอ่อนหลังได้รับการรักษา

ผลการรักษาของการฉีดสเต็มเซลล์เข้าไปในข้อเข้าที่ 6 เดือนนั้นพบว่าอาการปวดลดลงและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เข่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลทางด้านภาพถ่ายรังสี ไม่พบความแตกต่างของภาพถ่ายรังสี แต่ตรวจพบชั้นของกระดูกอ่อนเข้ามาทดแทนในตำแหน่งผิวข้อที่เคยสึกไปที่ 3 เดือน และชัดขึ้นเมื่อ 6 เดือนหลังการฉีดสเต็มเซลล์เข้าข้อเข่า ซึ่งสอดคล้องกับการส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่าเพื่อดูสภาพผิวข้อที่ 6 เดือนหลังการผ่าตัด ก็พบว่าผิวข้อที่เคยสึก ก็มีกระดูกอ่อนขึ้นมาคลุม 

โดยในการศึกษาชิ้นนี้ได้ทำการนำเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ขึ้นมาหลังจากการฉีดสเต็มเข้าข้อเข่ามาตรวจดูโครงสร้างทางกล้องจุลทรรศน์ พบว่ากระดูกอ่อนที่ขึ้นมานั้นเป็นชนิดเดียวกับที่พบได้ในกระดูกอ่อนตามธรรมชาติจริง ๆ ซึ่งสามารถกระจายและรับน้ำหนักได้ดี

โรคตับเสื่อม

ภาวะที่ตับเกิดการทำงานลดลงไม่ว่าจะจากสาเหตุใดทั้งตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ หรือติดเชื้อไวรัสตับนั้นล้วนนำไปสู่การอักเสบและเข้ามาแทนที่ด้วยเซลล์แผลเป็น ทำให้การทำงานของตับเสียไปอย่างถาวรถึงแม้ว่าเซลล์ตับจะมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ก็ตาม

การนำสเต็มเซลล์เข้ามารักษาภาวะตับเสื่อมนั้นเพื่อหวังผลสองทางได้แก่ หนึ่งสเต็มเซลล์จะเปลี่ยนตัวเองไปทดแทนเซลล์ตับที่เสียหายไปโดยตรง และสองคือสารกระตุ้นและสารลดการอักเสบต่าง ๆ ที่หลั่งมาจากสเต็มเซลล์จะช่วยลดการอักเสบ ยับยั้งการเกิดแผลเป็นในตับและช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ตับที่ยังเหลืออยู่ [3] 

ปัจจุบันมีรายงานที่ทำการรวบรวมการศึกษาที่เคยตีพิมพ์มาก่อนหน้ากว่า 17 ฉบับ [3] รายงานการใช้สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์ รวมแล้วมีจำนวนผู้ป่วยเกือบ 700 ราย โดยรายงานผลการศึกษาออกมาในแนวทางเดียวกันคือการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในผู้ป่วยตับอักเสบนั้นมีความปลอดภัยและช่วยเพิ่มการทำงานของตับโดยรวมได้ใน 15 จาก 17 การศึกษา อย่างไรก็ตามยังมีความพยายามที่จะพัฒนาการใช้งานสเต็มเซลล์ในการรักษาด้วยการนำสเต็มเซลล์มากระตุ้นให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะกับการทำงานในตับมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-research/

[Advertorial]

Reference

  1. Nair V, Talwar P, Kumar S, Chatterjee T. Umbilical cord blood transplantation and banking. Pregnancy medicine. 1st ed. Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers (P) Ltd. 2015:197-215.
  2. Jo CH, Lee YG, Shin WH, Kim H, Chai JW, Jeong EC, Kim JE, Shim H, Shin JS, Shin IS, Ra JC. Intra‐articular injection of mesenchymal stem cells for the treatment of osteoarthritis of the knee: a proof‐of‐concept clinical trial. Stem cells. 2014 May;32(5):1254-66.
  3. Alfaifi M, Eom YW, Newsome PN, Baik SK. Mesenchymal stromal cell therapy for liver diseases. Journal of hepatology. 2018 Jun 1;68(6):1272-85.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook