ระวัง! “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” ภัยร้ายใกล้ตัว วัย 40+ เสี่ยงสูง

ระวัง! “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” ภัยร้ายใกล้ตัว วัย 40+ เสี่ยงสูง

ระวัง! “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” ภัยร้ายใกล้ตัว วัย 40+ เสี่ยงสูง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคซีโอพีดี (COPD: Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของประชากรไทย โดยในปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตสูงขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกับทั่วโลก ขณะที่ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากยังขาดความตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคดังกล่าว ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จึงมีความสำคัญอย่างมาก 

สาเหตุของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มากกว่า 90% มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่หรือการสูดดมควันบุหรี่เป็นเวลานาน ขณะที่ มลพิษทางอากาศ หรือการสูดหายใจละอองสารเคมีบางชนิดเป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถก่อให้เกิดโรคนี้ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้ต้องทรมานจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น อาการไอเรื้อรัง เหนื่อย และหายใจลำบาก อันสืบเนื่องมาจากความเสื่อมของถุงลมและปอด

อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอกร่วมด้วย หากมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบ จนไม่สามารถทำกิจกรรมตามปกติได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการในระยะสุดท้ายนั้น มีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ระบบการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกัน และดูแลไม่ให้อาการของโรคลุกลามได้

วิธีป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แม้วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันจะพัฒนามากขึ้นจนทำให้มีวิธีการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มีอาการที่ดีขึ้นได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นการดูแลตนเอง เช่น 

  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • หมั่นตรวจสมรรถภาพปอดอย่างน้อยปีละครั้ง พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ผู้ที่มีสุขภาพดีสามารถป้องกันโรคนี้ได้ หากไม่สูบบุหรี่ อยู่ห่างจากผู้ที่สูบบุหรี่หรือแหล่งละอองสารเคมี และออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเป็นนิสัย เช่น แอโรบิค หรือวิ่ง เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook