โรคพาร์กินสัน แนวทางการรักษาปัจจุบันและอนาคต
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตสารโดปามีน ทำให้มีปริมาณสารโดปามีนหลั่งออกมาลดลง เป็นผลให้การทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทำงานผิดปกติไป จนแสดงออกมาเป็นอาการมือสั่น ไม่สามารถควบคุมได้แม่นยำเหมือนเดิม การเคลื่อนไหวทำได้ลำบากมากขึ้น รวมไปถึงการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าผิดปกติจนถึงขั้นไม่สามารถแสดงสีหน้าได้ [1,2]
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันนั้นยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน โดยเชื่อว่ามีทั้งปัจจัยทั้งจากเรื่องพันธุกรรมและการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเช่นสารพิษปนเปื้อนต่างๆ และเนื่องจากเซลล์สมองนั้นมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองต่ำมาก จึงทำให้ความเสื่อมต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์สมองอย่างถาวร การรักษาที่ผ่านมานั้นจึงพยายามเน้นไปที่ป้องกันความเสื่อมที่จะเกิดขึ้น ส่วนการรักษาด้วยยาของโรคพาร์กินสันในปัจจุบันนั้นก็จะเน้นไปที่การให้ยาเพื่อทดแทนสารโดปามีนที่สมองผลิตออกมาได้ลดลง แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องอยู่กับผลข้างเคียงของยาดังกล่าว [1-3]
สเต็มเซลล์ได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นทางเลือกในการรักษาของโรคพาร์กินสัน เนื่องจากคุณสมบัติในการแบ่งตัวเป็นเซลล์อะไรก็ได้ รวมถึงเซลล์ประสาทด้วย ซึ่งสเต็มเซลล์ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันนั้นก็สามารถใช้ได้ทั้งสเต็มเซลล์เม็ดเลือด หรือสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์ โดยหวังผลการรักษาจากสเต็มเซลล์ได้สองทาง หนึ่งคือจากการที่สเต็มเซลล์เปลี่ยนตัวเองไปทดแทนเป็นเซลล์ประสาทที่เสียหายไป และสองคือหวังผลจากสารกระตุ้นต่างๆที่สเต็มเซลล์สร้างออกมาเพื่อลดการอักเสบ หรือกระตุ้นการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ประสาทเดิมที่มีอยู่
โรคพาร์กินสันนั้นเป็นเป้าหมายในการรักษาด้วยสเต็มเซลล์มาโดยตลอดเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทที่เกิดขึ้นในโรคพาร์กินสันนั้นเกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทเพียงแค่ชนิดเดียวที่ทำหน้าที่ผลิตสารโดปามีนเท่านั้น [1-3] โดยเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากวิทยาการในสมัยนั้นทำให้ประสิทธิภาพสเต็มเซลล์รวมถึงความแม่นยำในการปลูกถ่ายยังต่ำมาก จึงไม่สามารถหวังผลการรักษาด้วยวิธีนี้อย่างจริงจังได้ [3] แต่ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสันด้วยสเต็มเซลล์ก็ถูกพัฒนาต่อยอดให้ได้ผลการรักษาดีขึ้น เช่นการดัดแปลงพันธุกรรมให้กับสเต็มเซลล์มีเซนไคม์ให้เน้นที่ที่การผลิตสารโดปามีนที่เป็นต้นเหตุของโรคพาร์กินสันก่อนนำกลับไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย [1-3]
โดยมีการศึกษาถึงผลการทดลองการใช้สเต็มเซลล์ที่ผ่านการกระตุ้นในหลอดทดลอง พบว่าเซลล์ดังกล่าวสามารถผลิตสารโดปามีนออกมาได้ และยังได้มีการทดลองปลูกถ่ายเซลล์ด้วยวิธีการรักษานี้ทั้งในหนูและลิงทดลอง [2,3] ซึ่งผลการทดลองพบว่าการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ถูกกระตุ้นให้กลายเป็นเซลล์ที่เน้นการผลิตสารโดปามีนนั้นสามารถลดอาการการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกลุ่มอาการโรคพาร์กินสันได้ โดยไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงเกิดขึ้น และในปัจจุบันก็เริ่มมีการศึกษาถึงการใช้งานสเต็มเซลล์ดังกล่าวในกลุ่มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจริงๆที่อยู่ระหว่างการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคต่างๆที่เคยเป็นปัญหาของมนุษย์นั้นกำลังจะถูกรักษาให้หายได้หรือทำให้ความรุนแรงของตัวโรคลดลงอย่างมากด้วยความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่จะเข้ามาประกอบการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆ สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการฝากเก็บสเต็มเซลล์ของตนเองหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการฝากเก็บสเต็มเซลล์สามารถติดต่อ MEDEZE ได้ทุกช่องทาง
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/parkinson-stem-cell/
[Advertorial]
References
- Kitada M, Dezawa M. Parkinson's disease and mesenchymal stem cells: potential for cell-based therapy. Parkinson’s disease. 2012 Jan 1;2012.
- Inden M, Yanagisawa D, Hijioka M, Kitamura Y. Therapeutic effects of mesenchymal stem cells for Parkinson’s disease. Ann Neurodegener Dis. 2016;1(1):1002-9.
- Lauren Gravitz. The promise and potential of stem cells in Parkinson’s disease. [Online]. Sep 2021. Available at: https://www.nature.com/articles/d41586-021-02622-3. [Nov 2021]