5 โรคอันตราย จากการติด "สมาร์ทโฟน"
การใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นประจำ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณได้มากกว่าที่คิด Sanook Health มีข้อมูลจาก อ.พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ แพทย์ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถึงความเสี่ยงของโรคต่างๆ จากพฤติกรรมสังคมก้มหน้า ที่มาของหลากโรค มาฝากกัน
5 โรคอันตราย จากการติด "สมาร์ทโฟน"
- นิ้วล็อก
นิ้วล็อก เกิดขึ้นได้จากการเกร็งมือเพื่อจับ และกดจิ้มสมาร์ทโฟนบ่อยๆ หรือถือค้างไว้เป็นระยะเวลานานๆ
- ตาแห้ง สายตาล้า
ตาแห้ง และสายตาล้าจากการมองหน้าจอที่มีขนาดเล็กติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ
- สมาร์ทโฟนซินโดรม
สมาร์ทโฟนซินโดรม เป็นอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากพฤติกรรมการก้มหน้าจดจ่ออยู่กับหน้าจอนานๆ
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
แสงสีฟ้าจากหน้าจอส่งผลกระทบกับการผลิตสารเมลาโทนินที่ควบคุมการหลับและตื่น ทำให้นอนหลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิทได้
- โรคกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรม
การอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือภาวะอ้วนได้
ใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตอย่างไรไม่ให้เสี่ยงโรค
Sanook Health แนะนำว่า ไม่ควรใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เป็นเวลานานเกินไป หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานาน เช่น ดูคลิปหรือดูซีรีส์เป็นชั่วโมงๆ ควรต่อขึ้นจอโทรทัศน์ดูจะดีกว่า ให้ร่างกายอยู่ในท่านั่ง คอตั้งตรง มองตรงไปข้างหน้า และขยับอิริยาบถระหว่างชมไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ยังควรงดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด รวมถึงโทรทัศน์ ก่อนเข้านอนเป็นเวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง หรี่ไฟในห้องนอนลง เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมต่อการนอนหลับให้มากที่สุดด้วย