“สมองเสื่อม” ไม่เหมือน “อัลไซเมอร์” และสิ่งอื่นๆ ที่คนมักเข้าใจผิด

“สมองเสื่อม” ไม่เหมือน “อัลไซเมอร์” และสิ่งอื่นๆ ที่คนมักเข้าใจผิด

“สมองเสื่อม” ไม่เหมือน “อัลไซเมอร์” และสิ่งอื่นๆ ที่คนมักเข้าใจผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคเดียวกันเสียทีเดียว เรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการที่ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ คนรอบข้างจึงต้องคอยสังเกตให้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากขึ้น

สมองเสื่อม คืออะไร

ผศ.พญ.อรพิชญา ศรีวรรโณภาส สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า โรคสมองเสื่อม คือการที่สมองมีการทำงานแย่ลงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน จนในที่สุดผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสาเหตุที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ

  1. โรคสมองเสื่อมจากความเสื่อมของสมองโดยตรง หรือโรคอัลไซเมอร์

เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาการของโรคจะเป็นแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปจนมีอาการมากขึ้น

สมองเสื่อม VS อัลไซเมอร์

กล่าวได้ว่า อัลไซเมอร์ที่เป็นอาการเสื่อมของสมองโดยตรง เป็นเพียงหนึ่งในประเภท หรือสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

  1. โรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมองผิดปกติ

เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคต่างๆ ทั้งโรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง พาร์กินสัน ทำให้เส้นเลือดเล็กๆ ในสมองแตก หรือตีบตัน ส่งผลให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้สมองส่วนความคิด ความจำ และการรับรู้เสียไปด้วย

สมองเสื่อม VS ขี้หลงขี้ลืม กับเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด

อาการขี้ลืมเกิดจากการที่เราไม่มีสมาธิในการจำ ถือเป็นนิสัย ไม่ใช่โรค แต่ผู้ป่วยที่มีอาการหลงลืม มักมีอาการเด่นๆ คือ ไม่สามารถจดจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับการบอกซ้ำหรือทำซ้ำหลายครั้งแล้วก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถสมองเดิมของผู้สูงอายุรายนั้นๆ

อันตรายจากโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ คนรอบข้างจึงต้องคอยสังเกตให้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากขึ้น ดังนั้นหากพบว่าตนเอง หรือคนรอบข้างมีปัญหาเรื่องความจำ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะหากตรวจพบโรคและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคให้ช้าลงได้

ทั้งนี้ การจัดระเบียบความคิดและความจำ ก็สามารถช่วยยืดอายุสมองให้เสื่อมช้าลงได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook