Stem Cell กับ COVID-19 ความหวังหรือความฝัน

Stem Cell กับ COVID-19 ความหวังหรือความฝัน

Stem Cell กับ COVID-19 ความหวังหรือความฝัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคโควิด 19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ผ่านทางละอองฝอยหรือจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อคนอื่น ซึ่งเซลล์ผิวเยื่อบุทางเดินหายใจเป็นตำแหน่งหลักที่เกิดการติดเชื้อ โดยการแพร่ระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 นั้นมีรายงานครั้งแรกที่เมืองอู่หั่น ประเทศจีนในช่วงปลายปี 2019 จึงเป็นที่มาของเลข 19 ในชื่อโรคนี้ ก่อนจะเกิดรายงานการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศให้เป็นภาวะการระบาดครั้งใหญ่ในวันที่ 11 มีนาคม 2020 [1]

อาการของผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 นั้นส่วนมาก (80%) มักไม่มีอาการหรืออาการคล้ายการติดเชื้อไข้หวัดธรรมดา ผู้ป่วยส่วนน้อยมีอาการรุนแรง (ที่บางครั้งเรียกกันว่าโควิดลงปอด) จะมีอาการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกายอย่างรุนแรงจนระบบต่าง ๆ ในร่างกายรับไม่ไหว ร่วมกับภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 แล้วอาการรุนแรงนั้นเกิดจากสองส่วน ได้แก่ความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจจากการติดเชื้อโดยตรง และอีกส่วนได้แก่ภาวะการอักเสบที่รุนแรงเกินไปจนระบบต่าง ๆ รับไม่ไหว การรักษาจะเน้นไปที่การประคับประคองผลที่เกิดตามมาจากปัญหาทั้งสองข้อนี้เช่น การให้ยาสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบเพื่อลดการอักเสบ หรือการให้ออกซิเจนและการใช้ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยประคับประคองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง ซึ่งทั้งสองปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยคุณสมบัติของสเต็มเซลล์ [2,3]

สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถแบ่งตัวเองได้ไม่จำกัดและมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ใดก็ได้ทำให้เหมาะกับการนำไปรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ต่าง ๆ นอกจากนั้นสเต็มเซลล์ยังมีคุณสมบัติในการควบคุมสารเคมีต่าง ๆ รอบตัวให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง (Immunomodulator) จึงมีการนำสเต็มเซลล์เข้ามาใช้ในการรักษาเพื่อหวังผลให้กระตุ้นหรือยับยั้งสารเคมีต่าง ๆ ที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย

การใช้งานของสเต็มเซลล์นั้นมักจะนำมาจากผู้บริจาคหรือสามารถใช้สเต็มเซลล์ของตนเองได้ ในกรณีที่ทำการเก็บสเต็มเซลล์ไว้ก่อนเมื่อตอนที่ยังแข็งแรงดี โดยสเต็มเซลล์นั้นสามารถเก็บได้จากไขกระดูก (จะได้เป็นสเต็มเซลล์เม็ดเลือดที่คุณสมบัติในการแบ่งตัวอาจจะน้อย) หรือจากเนื้อเยื่อรกหรือเนื้อเยื่อไขมัน (จะได้สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อที่มีความสามารถในการแบ่งตัวสูงกว่า) [5]

ในอดีตนั้นมีการใช้งานสเต็มเซลล์เข้ามาประกอบการรักษาแล้วในหลาย ๆ แขนงการแพทย์ [4] ซึ่งมีการรายงานผลการรักษาที่น่าพอใจออกมาเป็นจำนวนมาก สำหรับในภาวะการระบาดของโรคโควิด 19 นั้น สเต็มเซลล์ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาเนื่องจากคุณสมบัติของสเต็มเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวมาทดแทนเซลล์ทางเดินหายใจที่เสียหายไปและสามารถหลั่งสารเพื่อควบคุมภาวะการอักเสบให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันนั้นมีรายงานการศึกษาการใช้สเต็มเซลล์แบบต่าง ๆ เข้ามาประกอบการรักษาผู้ป้วยโควิด 19 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่มีอาการหนักและรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 เช่น รายงานการศึกษาจากประเทศจีนในเดือนเมษายน 2020 [6] โดยเปรียบเทียบการใช้สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจำนวน 1 ล้านเซลล์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมให้กับผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 7 คน (โดยเป็นผู้ป่วยอาการหนัก 5 คน) เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ให้สเต็มเซลล์ พบว่าในกลุ่มที่ได้รับสเต็มเซลล์หลังการรักษาประมาณ 2-4 วันอาการดีขึ้น และตรวจไม่พบเชื้อหลังการรักษาได้ 7-14 วัน อีกทั้งตรวจพบระดับการอักเสบที่ใกล้เคียงกับภาวะปกติได้ภายใน 6 วันหลังการรักษา ผู้วิจัยได้สรุปว่าการใช้สเต็มเซลล์นั้นมีประโยชน์โดยที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโควิด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง

อีกหนึ่งตัวอย่างงานวิจัยจัดทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการใช้สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อมีเซนไคม์กับผู้ป่วยโควิด 19 ที่้มีอาการรุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงจำนวน 24 ราย โดยผลการศึกษาพบว่าหลังการให้สเต็มเซลล์ อัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน จำนวนเม็ดเลือดขาว ค่าการอักเสบในเลือดดีขึ้นอย่างมีนับสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนรักษา [7]

โดยสำหรับผู้ที่สนใจการเก็บสเต็มเซลล์หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาที่ MEDEZE ได้โดยตรง โดยที่ MEDEZE มีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บและเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เพื่อรองรับสำหรับการรักษา โดยมีตัวเลือกการบริการที่หลากหลายและห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถให้บริการเก็บสเต็มเซลล์ได้จากหลายแหล่ง พร้อมการการันตีคุณภาพสเต็มเซลล์เมื่อตอนนำมาใช้งานจริง

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-covid-19 

Reference

  1. "WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 – 11 March 2020". World Health Organization (WHO) (Press release). 11 March 2020. Archived from the original on 11 March 2020. Retrieved Dec 2021.
  2. Rajarshi K, Chatterjee A, Ray S. Combating COVID-19 with mesenchymal stem cell therapy. Biotechnology reports. 2020 Jun 1;26:e00467.
  3. Pal D, Goyal J, Sharma U, Sharma A, Prashar S, Rathi G, Sharma B, Kumar U. Mesenchymal stem cells in SARS-CoV-2 infection: A hype or hope. Life Sciences. 2021 Nov 1;284:119901.
  4. Mayo Clinic Staff. Stem cells: What they are and what they do. [Online]. June 2019. Available at: https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/bone-marrow-transplant/in-depth/stem-cells/art-20048117. [August 2021]
  5. Nair V, Talwar P, Kumar S, Chatterjee T. Umbilical cord blood transplantation and banking. Pregnancy medicine. 1st ed. Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers (P) Ltd. 2015:197-215.
  6. Leng Z, Zhu R, Hou W, Feng Y, Yang Y, Han Q, Shan G, Meng F, Du D, Wang S, Fan J. Transplantation of ACE2-mesenchymal stem cells improves the outcome of patients with COVID-19 pneumonia. Aging and disease. 2020 Apr;11(2):216.
  7. Mesenchymal stem cells derived from perinatal tissues for treatment of critically ill COVID-19-induced ARDS patients: a case series

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook