วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วย "ลมชัก" ที่ถูกต้อง
เมื่อเจอผู้ป่วยมีอาการลมชัก ควรช่วยเหลืออย่างไรถึงจะถูกวิธี
อาการของผู้ป่วยโรคลมชัก
ผศ.(พิเศษ) นพ.ชูศักดิ์ ลิโมทัย แพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจรสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาจเกิดอาการชักขึ้นได้ในรูปแบบเดียวกันทุกครั้ง แต่ละครั้งนานประมาณ 1-2 นาที ไม่เกิน 5 นาที และจะหยุดเอง หลังชักผู้ป่วยจะค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาได้เอง
การปฐมพยาบาลอาการลมชัก
- ชักแบบเกร็งกระตุกไม่รู้ตัว
- เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย และตะแคงหน้า
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้หายใจได้สะดวก
- ห้ามใช้ไม้กดลิ้น หรือวัตถุใดๆ สอดเข้าไปในปาก เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง และผู้ที่ให้การช่วยเหลือ
- ชักเหม่อไม่รู้ตัว
- เฝ้าระวังให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
- กันไม่ให้เดินไปที่หน้าต่างหรือบันได ระวังการล้ม
- รอจนกระทั่งอาการชักหายไป ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวเอง
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับรัด หรือฉุดยื้อผู้ป่วยมากเกินไป เพราะในขณะชัก ผู้ป่วยไม่รู้ตัว อาจเกิดการต่อสู้ และทำให้เกิดอันตรายได้
หากอาการค่อยๆ หายดี สามารถให้ผู้ป่วยพักสักครู่จนหายไปเป็นปกติได้ แต่หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น หรือชักนานกว่า 5 นาที ควรรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที