ทำไมเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนถึง "ห้ามดื่มน้ำ"

ทำไมเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนถึง "ห้ามดื่มน้ำ"

ทำไมเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนถึง "ห้ามดื่มน้ำ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กไทยต่ำกว่า 6 เดือนยังกินน้ำหลังกินนมอยู่มากกว่า 30%

ผศ.นพ. วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก จากเฟซบุ๊กเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ระบุว่า พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช ตัวแทนจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวในที่ประชุมอนุกรรมการสื่อสารภาคีเครือข่าย และขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อควบคุม การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยพ่อหมอเป็นหนึ่งในอนุกรรมการชุดนี้ด้วยเพื่อขับเคลื่อนการใช้ พรบ. อย่างมีประสิทธิภาพ

รศ. ดร. พัตธนี วินิจจะกูล และ ผศ. พญ. อรพร ดำรงวงศ์ศิริ ทบทวนข้อมูลตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการ พบว่า เด็กไทยถูกเลี้ยงด้วยนมแม่และน้ำใน 6 เดือนแรกสูงถึง 42.1%

ทั้งที่เราให้ความรู้เสมอว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนไม่ควรดื่มน้ำในทุกกรณี ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะกินนมแม่หรือนมผสม ไม่ว่าจะเป็นน้ำต้ม น้ำแร่ หรือน้ำขวดก็ไม่ต้องการ เพราะมันไม่จำเป็น และมันอันตรายต่อเด็ก

ทำไมเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนถึง "ห้ามดื่มน้ำ"

ไม่จำเป็น เพราะเด็กทารกได้รับปริมาตรน้ำอย่างเพียงพออยู่แล้วจาก “นม” นอกจากไม่จำเป็นแล้วยังทำให้เด็กได้นมไม่เต็มที่อีกด้วยเพราะอิ่มน้ำไปเสียก่อน 

อันตราย เพราะไตของเด็กทารกยังมีความสามารถในการขับน้ำส่วนเกิน (Free water excess) ได้ไม่ดี หากได้รับน้ำที่มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) ทำให้สมดุลเกลือแร่ของร่างกายผิดปกติไป อาจทำให้เด็กซึมลง ชัก หมดสติและถึงแก่ชีวิตได้

นี่เป็นเหตุผลเดียวกับการที่เราห้ามชงนมจาง (ในกลุ่มเด็กที่กินนมผง) ด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้อุจจาระไม่แข็ง หรือช่วยตอนที่เด็กถ่ายท้องเสีย ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย ไม่ควรทำ เพราะไตของเด็กยังไม่พร้อมที่จะได้รับน้ำจากแหล่งอื่นนอกจากที่มากับนม

ดังนั้น เด็กเล็กต่ำกว่า 6 เดือนต้องกินน้ำควรกินนมแม่อย่างเดียว แล้วเช็ดทำความสะอาดลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มสักวันละ 2 ครั้งด้วยผ้าสะอาดหรือก๊อซชุบน้ำสะอาดพอหมาดๆ ก็เพียงพอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook