Sleep Debt นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะ "ติดหนี้การนอน" อยู่หรือเปล่า?

Sleep Debt นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะ "ติดหนี้การนอน" อยู่หรือเปล่า?

Sleep Debt นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะ "ติดหนี้การนอน" อยู่หรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นกันอยู่หรือเปล่ากับการที่นอนเท่าไหร่ฉันก็ยังรู้สึกอ่อนเพลียนอนไม่พอทุกที หรือใครที่จำไม่ได้แล้วว่าคืนล่าสุดที่หลับครบ 8 ชั่วโมงคือวันไหน หากสงสัยแล้วตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ คุณอาจจะกำลังติดหนี้การนอน (Sleep Debt) ก็ได้

หนี้การนอนคืออะไร?

Sleep Debt ที่แปลเป็นไทยตรงๆว่า หนี้การนอน คือการรู้สึกไม่ผ่อนคลาย อ่อนเพลียในช่วงเวลาตื่น โดยสาเหตุหลักมาจากการอดนอนหรือนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานานจนสะสมเป็นหนี้สินค้างชำระที่รอเวลาสำหรับการชดเชย มันก็ไม่ต่างอะไรกับการติดหนี้ธนาคาร

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราติดนิสัยการอดนอนนี้ต่อเนื่องเรื่อยๆ จนหนี้การนอนพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนร่างกายไม่สามารถแบกรับได้ไหว เราก็สามารถล้มละลายได้เช่นเดียวกันจากการแบกรับไม่ไหวของร่างกายที่เรียกว่า “ภาวะล้มละลายทางการนอน” สมองจะสัปหงกและหลับในจนนำมาซึ่งอันตรายนั่นเอง

ผลเสียจากหนี้การนอน

  1. ความเครียดไม่ระบาย

เมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงพักผ่อนในขณะนอนหลับ สมองจะปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่งรวมถึงระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนความเครียดจึงทำให้ช่วงเช้าจะรู้สึกสดใสหากนอนหลับเต็มอิ่ม 8 ชั่วโมง รวมถึงการขาดนอนจะคอยยับยั้งระบบไตร่ตรองของเราทำให้ตัดสินใจลำบากจนนำมาสู่ความเครียดได้

  1. ไม่มีสมาธิ

เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอจนติดหนี้จะทำให้ร่างกายไม่ได้ซ่อมแซมส่วนสึกหรอในร่างกายซึ่งรวมไปถึงเซลล์สมอง ส่งผลให้อวัยวะส่วนต่างๆสูญเสียเซลล์อย่างถาวร ความจำและสมาธิก็ยากที่จะตื่นตัวอีกครั้ง

  1. เสี่ยงโรคเรื้อรัง

ปัญหาการนอนไม่หลับไม่เพียงแต่จำเพิ่มพูนหนี้การนอน แต่ยังนำมาด้วยโรคเรื้อรังต่างๆทั้ง โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน เบาหวาน หรือสาเหตุของโรคหัวใจที่อันตรายต่อสุขภาพระยะยาว

  1. หวิดอุบัติเหตุร้ายแรง

เพราะที่เคยบอกไว้ว่าการอดหลับอดนอนก็ทำให้ร่างกายล้มละลายได้เช่นเดียวกัน สมองทำงานไม่ไหว เข้าโหมดสัปหงกและหลับในจนเกิดเป็นอุบัติเหตุที่เห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในทุกๆวัน

วิธีชำระหนี้การนอน

แม้การพักผ่อนร่างกายจะมีระบบหนี้เหมือนระบบการเงิน แต่น่าเสียดายเราไม่สามารถจ่ายทบต้นทบดอกในทีเดียวได้ นี่จึงเป็นคำตอบของหลายๆคนที่สงสัยว่าทำไมนอนเยอะเกือบครึ่งวันแต่ตื่นมายังรู้สึกง่วงอยู่ เพราะวิธีการชำระหนี้การนอนมีอยู่วิธีเดียว นั่นก็คือการนอนอย่างเต็มอิ่ม 8-10 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นนิสัย

หลังจากนี้คำถาม นอนน้อยมากี่วันแล้ว? คงเป็นคำถามที่เราต้องให้ความสำคัญมากกว่าเดิม เพราะคงไม่มีใครอยากติดหนี้ทั้งบนหน้าสมุดบัญชีและบนหน้าผากตัวเองในฐานะ หนี้การนอน จนล้มละลายแบบที่ใครก็ชดเชยแทนไม่ได้นอกจากตัวเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook