เตือนภัย "ไม้-ไม้ไผ่" ทำอาหาร เสี่ยงมีเชื้อรา อันตรายต่อผู้บริโภค

เตือนภัย "ไม้-ไม้ไผ่" ทำอาหาร เสี่ยงมีเชื้อรา อันตรายต่อผู้บริโภค

เตือนภัย "ไม้-ไม้ไผ่" ทำอาหาร เสี่ยงมีเชื้อรา อันตรายต่อผู้บริโภค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุปกรณ์ทำอาหารที่ทำจากไม้ หรือไม่ไผ่ เช่น เสื่อม้วนซูชิ อาจมีราขึ้นได้ง่ายถ้าดูแลรักษาความสะอาดได้ไม่ดีพอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนกินได้ เตือนผู้ประกอบการร้านอาหาร ใส่ใจถึงความสะอาด และความปลอดภัยของภาชนะต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่นำมาจากไม้ หรือไม้ไผ่ หลังใช้งานต้องล้างให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อรา และสร้างความมั่นใจผู้บริโภค

อันตรายจากเชื้อราในอุปกรณ์ไม้ทำอาหาร

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เสื่อพันข้าวปั้นส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ไผ่ หากล้างทำความสะอาดแล้วไม่ผึ่งแดดหรือผ่านการอบให้แห้งสนิท และใช้ไปเป็นเวลานาน ทำให้เสี่ยงเกิดเชื้อรา ที่ผลิตอะฟลาทอกซินได้ บางครั้งสามารถมองเห็นเป็นจุดดำเล็กๆ อยู่โดยรอบ รวมถึงเชื้อราอยู่หลายชนิด เช่น Penicillium, Aspergillus และ Alternaria 

หากผู้บริโภคได้รับสารอะฟลาทอกซินไปสะสมในร่างกายจนมีผลทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ตับอักเสบ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับได้ 

วิธีลดความเสี่ยงเชื้อราในอุปกรณ์ไม้ทำอาหาร

อุปกรณ์ทำอาหารที่ทำจากไม้ หรือไม้ไผ่ เช่น ตะเกียบ เขียง เสื่อพันข้าว เป็นต้น ควรดูแลรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ดังนี้

  1. ล้างอุปกรณ์ประเภทไม้ให้สะอาด ล้างน้ำเปล่าหลายๆ ครั้ง ไม่ให้มีเศษอาหารติดค้าง
  2. ตากให้แห้ง ผึ่งแดด หรืออบให้แห้งสนิท อย่าให้มีความชื้นสะสม ก่อนจะนำมาใช้ในครั้งต่อไป
  3. หมั่นสังเกตความสะอาดของอุปกรณ์ หากพบมีเชื้อราให้ทิ้งทันที ห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำ 
  4. ห้ามนำตะเกียบไม้ไผ่แบบใช้ครั้งเดียวมาใช้ซ้ำ ผู้ประกอบการหรือบริโภคบางคนอาจรู้สึกเสียดาย และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยคิดว่าล้างทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว แต่ความจริงตะเกียบใช้แล้วทิ้ง หากเก็บไม่ถูกสุขลักษณะ เก็บในที่ชื้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา เมื่อนำมาใช้คีบอาหารทำให้ปนเปื้อนได้

สุขอนามัยของผู้ปรุงประกอบอาหารที่ควรทราบ

  1. แต่งกายให้สะอาด สวมเสื้อมีแขน ผูกผ้ากันเปื้อน สวมหมวกหรือตาข่ายคลุมผมตลอดระยะเวลา 
  2. ดูแลมือให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น ไม่ทาสีเล็บ 
  3. กรณีเกิดบาดแผลที่มือ ให้ทำความสะอาดใส่ยาฆ่าเชื้อ ทำแผล ปิดพลาสเตอร์ เพื่อปกปิดส่วนที่เป็นบาดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำให้มิดชิด หรือสวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสอาหาร
  4.  ใช้อุปกรณ์หยิบตักอาหารที่เตรียมหรือปรุงสำเร็จแล้ว เช่น ทัพพี คีมคีบอาหาร ช้อนตัก ตะเกียบคีบ ไม่ควรใช้มือหยิบจับอาหาร 
  5. ติดบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกรมอนามัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook