กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น "กรดไหลย้อน"

กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น "กรดไหลย้อน"

กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น "กรดไหลย้อน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ป่วยกรดไหลย้อน นอกจากต้องปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตแล้ว ควรปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารด้วย

คุณศิริกานต์ นารี นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โรคกรดไหลย้อน เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ไม่สามารถกันให้กรด น้ำย่อย หรืออาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนหน้าอกหรือแน่นหน้าอก

อาหารที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง

  1. อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีไขมันแฝง เช่น ของทอด นม เนย และชีส
  2. อาหารที่ทำให้เกิดกรด และแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ของหมักดอง อาหารรสจัด และถั่ว
  3. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง เช่น ชาและกาแฟ

วิธีป้องกันไม่ให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบ

ศ.พญ.ดวงพร วีระวัฒกานนท์ แพทย์ฝ่ายสรีรวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุวิธีปรับพฤติกรรมป้องกัน และรักษากรดไหลย้อน

  1. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อช่วยลดภาวะการทำงานของกระเพาะอาหาร
  2. ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เพื่อให้กระเพาะอาหาร ทำงานไม่หนักมาก
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ย่อยยาก อาหารมัน เช่น ช็อกโกแลต
  4. ลดการรับประทานครั้งละมากๆ มื้อใหญ่ๆ ลดอาหารมื้อดึก
  5. หลังมื้ออาหารควรเว้นระยะเวลา 3-4 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อให้กระเพาะอาหารได้ย่อยอาหาร
  6. ควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักในคนที่มีภาวะอ้วน
  7. งดสูบบุหรี่
  8. งดดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ
  9. ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดช่วงเอวมากเกินไป
  10. ท่านอนที่ดี คือการนอนตะแคงซ้าย
  11. นอนยกศีรษะสูงขึ้น โดยใช้หมอนที่เอียงสูงขึ้น 45-60 องศา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook