Digital Empathy ความเห็นใจในโลกออนไลน์ที่หายไป

Digital Empathy ความเห็นใจในโลกออนไลน์ที่หายไป

Digital Empathy ความเห็นใจในโลกออนไลน์ที่หายไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์หญิงเบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ "หมอมินบานเย็น" จากเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา โพสต์ถึง Digital Empathy สิ่งที่ควรตระหนักในการใช้โซเชียลมีเดีย ในกรณีการเสพข่าวและคอมเมนต์ถึงข่าวการจากไปของดาราสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงศ์ เอาไว้ ดังนี้


เพราะความรวดเร็วทำให้เราลืมที่จะตระหนัก

หลายวันที่ผ่านมามีข่าวที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจ คือข่าวของคุณ แตงโม นิดา พัชรวีระพงศ์ ซึ่งล่าสุดคุณแตงโมเสียชีวิตไปแล้ว

ที่ผ่านมาในช่วงที่เริ่มมีข่าวจนถึงปัจจุบัน หมอได้เห็นบางโพสต์ + คอมเมนท์ในโซเชียลมีเดียที่วิพากษ์วิจารณ์ แถมมีการพูดถึงหลายๆ เรื่องในอดีตที่ของคุณแตงโม บางอันก็ออกจะเลยเถิดและเป็นเรื่องส่วนตัวของเธอ 

ตอนที่คุณแตงโมยังมีชีวิตอยู่ ด้วยความเป็นดารานักแสดงถูกจับจ้องจากคนในสังคม บางครั้งเธอถูกโจมตีและในโลกออนไลน์ 

บางคนบอกว่าเพราะความที่ดาราเป็นบุคคลสาธารณะ จึงต้องถูกวิจารณ์ได้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าดารานักแสดง หรือคุณแตงโมก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา 

เขามีความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ เสียใจได้ ร้องไห้เป็น เหมือนกับเรา

เรื่องของคุณแตงโมหมอคิดถึงเรื่องหนึ่งที่อยากจะเขียนเป็นบทความวันนี้ คือ Digital Empathy

หรือการที่ผู้ใช้งานโลกออนไลน์ควรมีความเห็นอกเห็นใจ มีมารยาทกาลเทศะในการใช้งาน รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีก่อนที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์ 

มีการสำรวจประเทศทั่วโลกที่เสพข่าวจากโซเชียลมีเดีย พบว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเสพข่าวจากโซเชียลมีเดียมากที่สุดในโลก”

ความรวดเร็วในโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดีย อาจทำให้เราลืมจะตระหนักและเห็นอกเห็นใจกันน้อยลง บางทีไม่ทันคิดก็กดพิมพ์และส่งไปแล้ว

ก่อนที่เราจะโพสต์อะไรก็ตามลงไปในโลกออนไลน์ เราควรต้องคิดอะไรก่อนบ้าง หมอขอสรุปเป็นข้อๆ ให้ง่ายต่อการนำไปใช้เอง รวมถึงไปถ่ายทอดให้เด็กๆ ของเราฟัง

  1. ใครเห็นข้อความที่เราโพสต์ได้บ้าง
  2. จะมีใครรู้สึกว่าไม่ได้รับความเคารพหรือไม่ให้เกียรติไหม
  3. เรารับผิดชอบสิ่งที่เราโพสต์ได้ไหม
  4. ถ้าเป็นตัวเราเองหรือเป็นคนที่เรารักที่ถูกเขียนถึงแบบนั้นเราจะรู้สึกยังไง

หมออยากจะเขียนว่า ผู้ใหญ่ควรจะสอนและตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ แต่ในความเป็นจริงเรื่องแบบนี้ผู้ใหญ่มากมายที่ยังขาดอยู่ 

หมออยากสังคมมีความตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น เพราะอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียก็เปรียบเหมือนปัจจัยที่ 5 ของคนยุคนี้

มันเป็นสังคมอีกสังคมหนึ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทันและมีทักษะในการใช้งาน 

ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญไม่ให้เกิดโทษ ต่อตัวเราเองหรือคนอื่น

ขอให้ทุกคนได้เรียนรู้จากเรื่องนี้ คิดถึงใจเขาใจเรา มีความเห็นอกเห็นใจ 

ในวันนี้เธอจากไปแล้ว ขอให้คนที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย ไม่แชร์รูปหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับคุณแตงโม เป็นการให้เกียรติผู้เสียชีวิตและครอบครัวด้วย

หวังว่าเรื่องนี้จะทำให้มีความตระหนักในสังคมมากขึ้น

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ของคุณแตงโมด้วยค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook