เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น "หุงข้าว" อย่างไรให้ข้าวนุ่ม

เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น "หุงข้าว" อย่างไรให้ข้าวนุ่ม

เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น "หุงข้าว" อย่างไรให้ข้าวนุ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าข้าวญี่ปุ่นกับข้าวไทยจะแตกต่างกัน แต่รับรองว่าหากใช้เคล็ดลับนี้ในการหุงข้าว จะได้ข้าวนิ่มน่ารับประทานใกล้เคียงกับที่แม่บ้านญี่ปุ่นหุงเลยทีเดียว

หลายคนเริ่มหันมาทำข้าวกล่องกินเองที่ทำงาน อาจจะต้องเผื่อเวลาในการตื่นมาหุงข้าวในตอนเช้า หรืออาจจะหุงข้าวตอนกลางคืนแล้วอุ่นอีกครั้งในตอนเช้า รวมถึงคนที่ทำงานที่บ้านที่อาจจะเริ่มหันมาหุงข้าวกินที่บ้านบ่อยขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ว่าคุณจะรับประทานข้าวพันธุ์อะไร หอมมะลิ เสาไห้ หรืออื่นๆ สามารถทำตามวิธีหุงข้าวเพื่อให้ข้าวนิ่มตามฉบับแม่บ้านญี่ปุ่นได้ทั้งนั้น

เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น "หุงข้าว" อย่างไรให้ข้าวนุ่ม

คนญี่ปุ่นมักแช่ข้าวสารในน้ำก่อนนำมาหุง เพื่อให้ข้าวสารดูดซึมน้ำเข้าปในเมล็ดข้าว เมื่อนำมาหุงจะทำให้ความร้อนผ่านเข้าไปในเมล็ดข้าวได้อย่างทั่วถึง เกิดกระบวนการเจลาติไนซ์ (Gelatinization) ที่ทำให้เม็ดแป้งพองตัวสูงสุดจนได้ข้าวสุกที่เหนียวนุ่มฟูอร่อย ซึ่งแตกต่างจากข้าวสารที่ไม่แช่น้ำที่ความร้อนจะผ่านไปไม่ถึงแกนกลางของข้าว จึงทำให้ข้าวสุกเหนียวนุ่มเฉพาะรอบนอกแต่ข้างในยังคงแข็งซึ่งคนญี่ปุ่นบอกว่าเป็นข้าวสวยที่ไม่อร่อย

เวลาการแช่ข้าวสารเพื่อให้ได้ข้าวสวยเหนียวนุ่มอร่อย

โดยทั่วไปการแช่ข้าวสารในน้ำจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง น้ำจะดูดซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวสารได้ถึง 80% หลังจากการแช่น้ำประมาณ 30 นาที ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ความร้อนผ่านเข้าสู่เม็ดข้าวเพื่อทำให้ได้ข้าวสุกที่เหนียวนุ่มฟู ทั้งนี้เวลาการซึมผ่านของน้ำเข้าสู่เมล็ดข้าวนั้นจะมีอัตราเร็วที่แตกต่างกันตามฤดูกาล โดยระยะเวลาการแช่ข้าวสารก่อนหุงในฤดูกาลที่แตกต่างกันมีดังนี้

  • ฤดูร้อน 20-30 นาที
  • ฤดูหนาว 60-90 นาที
  • ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง 45 นาที

แน่นอนว่าสำหรับประเทศไทย เพียง 20-30 นาทีก็เพียงพอ

นอกจากนี้เวลาที่ใช้แช่ข้าวสารไม่ได้ขึ้นกับแค่เพียงฤดูกาล แต่ขึ้นกับชนิดข้าวสารโดยหากเป็นข้าวสารที่เก็บเกี่ยวใหม่ซึ่งมีความชื้นอยู่ในเมล็ดมากจะใช้เวลาในการแช่น้ำที่น้อยลงกว่าข้าวสารปกติ และหากเป็นข้าวสารเก่าก็อาจจะต้องเพิ่มเวลาการแช่น้ำ

หลังจากแช่น้ำควรเทน้ำทิ้งหรือไม่

หลังจากการล้างข้าวสารคนญี่ปุ่นมักจะเติมน้ำตามปริมาณข้าวสารและแช่น้ำไว้ตามเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงกดหม้อหุงข้าวเพื่อหุงตามปกติ ทั้งนี้หม้อหุงข้าวบางยี่ห้ออาจมีขั้นตอนการแช่น้ำโดยไม่จำเป็นต้องแช่น้ำเอง ซึ่งสามารถตั้งเวลาการแช่น้ำข้าวสารได้ตามความชอบ อย่างไรก็ตาม หากเป็นเมนูข้าวหุงต่างๆ ของคนญี่ปุ่น หรือการหุงด้วยหม้อดิน อาจต้องมีการเทน้ำที่แช่ไว้ทิ้งก่อน แล้วจึงจะตวงน้ำหรือน้ำซุปเติมลงไปทีหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวสารหักจึงควรเทข้าวสารผ่านตะแกรงที่รองไว้ด้วยผ้าชุบน้ำ แล้วจึงนำมาหุงได้ตามวัตถุประสงค์

ไม่ว่าคุณจะใช้ข้าวญี่ปุ่น หรือข้าวไทย ก็สามารถแช่น้ำก่อนหุงได้โดยไม่ทำให้ข้าวแฉะ ยิ่งหากหมอหุงข้าวไฟฟ้าของคุณสามารถตั้งเวลาหุงข้าวได้ สามารถกดตั้งเวลาไว้ล่วงหน้าได้เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเราได้อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook