5 สัญญาณเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ "วัยทอง"

5 สัญญาณเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ "วัยทอง"

5 สัญญาณเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ "วัยทอง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเริ่มอายุมากขึ้น นอกจากอวัยวะต่างๆในร่างกายจะทยอยเสื่อมลงไปแล้ว ยังมีสิ่งที่ลดน้อยลงโดยเรามักไม่รู้ตัว นั่นก็คือ ฮอร์โมน นั่นเอง ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเหล่านี้เองที่มีส่วนให้อวัยวะ หรือการทำงานในร่างกายเราเสื่อมลง รวมถึงอารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย หรือที่เราคุ้นเคยกันดีว่า “วัยทอง” ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้หญิง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชายและหญิง

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีอาการวัยทองแล้ว พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูล วิธีสังเกตง่ายๆว่าคุณเริ่มเข้าสู่ “วัยทอง” แล้วหรือยัง

5 สัญญาณเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ "วัยทอง"

  1. อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขี้วิตกกังวล
  2. สมาธิสั้น ความจำแย่ลง การตัดสินใจช้าลง
  3. นอนหลับยาก มีคุณภาพการนอนไม่ดี อ่อนเพลีย
  4. ง่วงเหงาหาวนอนบ่อยๆในช่วงกลางวัน ไม่กระฉับกระเฉง
  5. เหนื่อยง่าย ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดศีรษะ

โดยปกติฮอร์โมนในร่างกายเราจะทำงานร่วมกัน ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมนเพศ (ชาย : เทสโทสเทอโรน , หญิง : เอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรน) ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนดีเอชอีเอ และโกรว์ธฮอร์โมน ทำให้เรารู้สึกสดชื่น แจ่มใส สมองปลอดโปร่ง นอนหลับสบาย ร่างกายแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย มีสมาธิและความจำดี แต่เมื่อใดที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น นั่นเป็นอาการแสดงที่ร่างกายเราฟ้องว่า ฮอร์โมนต่างๆ เหล่านี้เริ่มทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์

แล้วเราจะทำยังไงให้ร่างกายเราทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม โชคดีที่การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆ ได้อย่างละเอียด หลักการก็คือ ร่างกายเราขาดฮอร์โมนตัวไหน ก็ให้ตัวนั้นเข้าไปทดแทน หรือที่เรียกว่า การให้ฮอร์โมนทดแทน นั่นเอง ฟังดูเหมือนง่าย แต่ที่ยากก็คือ เราไม่สามารถให้ฮอร์โมนได้ด้วยตัวเอง เพราะเราไม่ทราบว่าร่างกายขาดฮอร์โมนตัวไหนบ้าง การรับประทานฮอร์โมนเองอาจทำให้เราได้รับอันตรายจากการได้รับยาเกินขนาด หรือรับยาโดยไม่จำเป็น รวมถึงข้อห้ามใช้ต่างๆ

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อตรวจดูระดับฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จากนั้นแพทย์ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามระดับที่เหมาะสม โดยฮอร์โมนที่ใช้ควรเป็น Bio-Identical Hormones คือ ฮอร์โมนที่มีลักษณะเหมือนฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook