Music Addiction ฟังเพลงมากไปก็เป็นโรค
การฟังเพลงอาจเป็นเรื่องปกติที่คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เลือกทำเพื่อฆ่าเวลากัน ขึ้นรถบีทีเอสหรือเดินไปไหนแต่ละครั้งก็ไม่แปลกใจที่เราจะเห็นหลายคนใส่หูฟังเดินผ่านไปผ่านมา แต่ถ้าถึงขั้นต้องฟังเพลงแบบขาดไม่ได้เลย อาจกำลังเสี่ยงเป็นโรค Music Addiction ได้
สาเหตุของอาการ
Music Addiction หรืออาการติดการฟังเพลงเข้าขั้นหนักนี้เกิดจากการที่เราเสพติดความสุขที่ได้รับจากเสียงเพลง ทุกครั้งที่เรากดฟังเพลงที่ชอบสมองจะหลั่งสารโดพามีนอาจมาเพื่อยืนยันว่าร่างกายของเรากำลังมีความสุขกับกิจกรรมดังกล่าวจนหลั่งออกมามากกว่าผิดปกติ และทำให้เราเสพติดโดพามีนที่ได้จากการฟังเสียงเพลงจนต้องฟังเพลงตลอดเวลานั่นเอง
โดยนักทดลองอาการ Music Addiction ถึงขั้นระบุว่าอาการเสพติดการฟังเพลงจะสั่งให้เราอยากฟังเพลงซ้ำๆ เดิมๆ ซึ่งมีอาการพอๆกับอาการของคนที่ติดสารเสพติดชนิดโคเคนเลยก็ว่าได้ รวมถึงโดพามีนที่หลั่งออกมาเป็นสารสื่ออะดรีนาลีนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกคึกคัก ดังนั้นคนที่เคยฟังเพลงตลอดเวลาแต่โดนถอดหูฟังออกไปก็จะรู้สึกหงุดหงิด ไร้เรี่ยวแรง
เช็กลิสต์ชาว Music Addiction
- ฟังเพลงตลอดทั้งวันขนาดหลับหูฟังก็ยังคาที่เดิม
- ทิ้งทุกสิ่งเพื่อฟังเพลงได้
- ต้องฟังเพลงก่อนถึงจะทำงานได้
- ชอบคิดว่าชีวิตตัวเองกำลังอยู่ใน MV
- ขาดสมาธิหากไม่ได้ฟังเพลง เหมือนไม่มีดนตรีในหัวใจ
- ใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องเพลงเป็นอันดับหนึ่ง
- รู้สึกแย่ทุกครั้งที่ไม่ได้ยินเสียงเพลง
มีบทความวิจัยหลายเล่มที่บอกว่าเสียงดนตรีช่วยบรรเทาอาการจิตใจที่เหนื่อยล้ารวมถึงลบรอยช้ำเมื่อผ่านเรื่องเลวร้ายให้จางลง แต่ถ้าหากคิดเอาไว้ว่าใช่ต้องใช่แน่ๆ หากรู้สึกเข้าข่าย Music Addiction เสพติดการฟังเพลงก็อย่าลืมนึกถึงผลเสียสุขภาพจากดนตรีด้วยเหมือนกัน ลองออกไปข้างนอกแบบไม่พกหูฟังลดเวลาเสียงเพลงแล้วโฟกัสกับเสียงรอบข้างดูก็ช่วยได้