นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอนไม่หลับทีไร ต้อง “นับแกะ” ทุกที จริงๆ แล้วในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความเชื่อที่ว่า นอนไม่หลับให้นับแกะ ได้ผลจริงหรือไม่

นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่

หลายคนคงเคยได้ยินว่า เวลานอนไม่หลับให้นับแกะดู แต่กลับไม่เคยมีข้อเฉลยว่าต้องใช้แกะกี่ตัว? ถึงจะหลับ แต่กุศโลบายนี้ ในทางวิทยาศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับการเข้านอนไว้หลายประเด็น บ้างก็ว่าสมาธิสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสมองได้ถาวร การหลั่งสารเมลาโทนิน (Melatonin) และการมีสารซีโรโทนิน (Serotonin) อย่างสมดุล ช่วยให้ร่างกายหลับในปริมาณมากขึ้น จะเป็นตัวส่งสัญญาณให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายทำงานช้าลงเพื่อเข้าสู่สภาวะพักผ่อน 

ในทางตรงกันข้าม บางชุดข้อมูลกลับระบุว่า การพยายามตั้งใจนอนหรือการนอนหลับในเวลาที่ร่างกายยังไม่ง่วง จะทำให้นอนหลับยาก หากทำซ้ำๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก ข้อมูลจาก Sleep Foundation เพิ่มเติมว่าวิธีการดังกล่าวยังไม่ใช้แก้ปัญหาโรคที่เกี่ยวกับการนอนผิดปกติต่างๆ ทั้งโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือ โรคลมหลับ (Narcolepsy)

ดังนั้น อาจไม่สามารถสรุปได้ 100% ว่าวิธีนับแกะเป็นวิธีที่ดีในการแก้ปัญหานอนไม่หลับหรือไม่ อาจเหมาะกับการลองนับแกะในเวลาไม่เกิน 10-15 นาที หากหลังจากนั้นไปแล้ว วิธีนับแกะอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป และไม่ควรทนนับต่อจนได้แกะเป็นฟาร์ม

นอนไม่หลับ ควรทำอย่างไร

หากนอนไม่หลับจริงๆ พลิกตัวไปมา นับแกะไปเป็นฝูงแล้วก็ยังไม่ง่วง ข่มตาหลับไปนานมากกว่า 20-30 นาทีแล้วยังไม่เวิร์ค ไม่จำเป็นต้องพยายามข่มตานอนหรือนับแกะต่อไป ควรลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายสมอง สามารถลองเลือกทำกิจกรรมที่ตัวเองน่าจะชอบดู จนกว่าจะเจอวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น

  • ดื่มนมอุ่นๆ
  • อ่านหนังสือ (แนะนำแนวเบาสมอง ไม่เลือกเรื่องที่ทำให้หัวใจเต้นแรง)
  • ฟังเพลงเบาๆ (เลือกแนวดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ)
  • ดูวิวท้องฟ้านอกหน้าต่าง
  • ฯลฯ

ไม่แนะนำให้เปิดทีวี คอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเลตมาดู เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์รบกวนสายตา และทำให้ตื่นตัว นอนหลับยากกว่าเดิม

หากมีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่หลับ หรือหลับยากกว่าปกตินานมากกว่า 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีรักษาที่ตรงจุดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook