5 สัญญาณอันตราย “มะเร็งเล็บ” หนึ่งในมะเร็งชนิดร้ายแรงที่เราอาจเป็นได้

5 สัญญาณอันตราย “มะเร็งเล็บ” หนึ่งในมะเร็งชนิดร้ายแรงที่เราอาจเป็นได้

5 สัญญาณอันตราย “มะเร็งเล็บ” หนึ่งในมะเร็งชนิดร้ายแรงที่เราอาจเป็นได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเห็นความผิดปกติของเล็บ ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยง “มะเร็งเล็บ” ได้

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า “เล็บ” ก็สามารถเป็นมะเร็งได้ โดยเกิดขึ้นจากผิวหนังใต้เล็บอีกทีหนึ่ง

มะเร็งเล็บ คืออะไร

มะเร็งเล็บ หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา” เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่พัฒนาในเซลล์เมลาโนไซต์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง

สาเหตุของมะเร็งเล็บ

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นผลมาจากความผิดปกติของการผลิตเมลาโนไซต์ที่สร้างเม็ดสีผิว ความเสียหายของดีเอ็นเอทำให้เซลล์ใหม่เติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้และไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้เซลล์มะเร็งมีจำนวนมากขึ้น

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมายังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้แน่ชัด แต่นอกจจากปัจจัยในเรื่องของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผิวขาวจัด มีประวัติเคยถูกแดดเผา และสิ่งแวดล้อมทั่วไปแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ถือเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้

5 สัญญาณอันตราย อาการของมะเร็งเล็บ

อาการเริ่มแรกของมะเร็งเล็บ หรือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่เราสังเกตเห็นได้จากภายนอก ได้แก่

  1. เล็บมีรูปร่างผิดปกติ
  2. มีเส้นขอบที่เล็บผิดปกติ
  3. เล็บเปลี่ยนสี
  4. เป็นการไฝที่เกิดขึ้นใหม่และมีขนาดใหญ่กว่าหกมิลลิเมตร
  5. เกิดอาการอื่นๆ เช่น เลือดออก หรือคัน

อันตรายของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

อย่างที่บอกว่ามะเร็งเล็บคือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่เกิดขึ้นบนผิวหลังที่อยู่ใช้เล็บ ดังนั้นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาจึงอาจเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น

  • ใต้เล็บ
  • ในปาก
  • ในระบบทางเดินอาหาร
  • ในทางเดินปัสสาวะ
  • ในช่องคลอด
  • ในสายตา

นอกจากนี้ แม้ว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่เกิดขึ้นใต้เล็บ แต่ก็สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะในบริเวณจมูกและลำคอ

การรักษามะเร็งเล็บ

สำหรับวิธีการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่เล็บ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดนำส่วนที่เป็นมะเร็งออกสำหรับผู้ที่มีมะเร็งขนาดเล็ก การผ่าตัดอาจเป็นวิธีการรักษาเดียวที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกในระยะเริ่มต้น

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีเชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยั่งส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อาจพิจารณาวิธีรักษาหลากหลายขึ้น เช่น

  • การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับผลกระทบออก
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด
  • การบำบัดแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์
  • การรักษาด้วยรังสี
  • เคมีบำบัด

การป้องกันมะเร็งเล็บ หรือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่เล็บ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เรายังพอควบคุมได้ คือการหลีกเลี่ยงการออกแดดจัดๆ โดยไม่มีการป้องกันแดดใดๆ สวมเสื้อคลุม ผ้าคลุม หมวก ร่ม และอุปกรณ์กันแดดอื่นๆ เพื่อไม่ให้ผิวหนังได้รับแสงแดดจัดๆ มากเกินไป รวมถึงการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง

และควรหมั่นสังเกตเล็บของตัวเองอยู่เสมอ หากมีลักษณะผิดปกติ เช่น สีสีคล้ำขึ้น ผิวเล็บไม่เรียบเนียน มีรอยฟอกช้ำใต้เล็บที่ผ่านไปนานๆ ก็ยังไม่หายไม่ดีขึ้น ลักษณะรูปร่างของเล็บเปลี่ยนไป มีไฝหรือแผลขึ้นที่เล็บอย่างไม่รู้สาเหตุ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook