หายจากโควิด-19 เมื่อไรถึงควรฉีดวัคซีนอีกเข็ม? ควรฉีดชนิดไหน?

หายจากโควิด-19 เมื่อไรถึงควรฉีดวัคซีนอีกเข็ม? ควรฉีดชนิดไหน?

หายจากโควิด-19 เมื่อไรถึงควรฉีดวัคซีนอีกเข็ม? ควรฉีดชนิดไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ว่ากันว่าหลังหายโควิด-19 จะยังมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่ แล้วหากต้องการฉีดวัคซีนเข็ม 2, 3 หรือ 4 จะฉีดได้เมื่อไร และควรฉีดวัคซีนของเจ้าไหน

ผศ.นพ. กำธร มาลาธรรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนั้นโดยธรรมชาติ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งภูมิต้านทานจะมีมากหรือน้อย ขึ้นกับแต่ละบุคคล

หลังหายจากโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนอีกเข็มเมื่อไร

โดยส่วนใหญ่ในช่วงเวลาประมาณ 2 เดือนจากการติดเชื้อโควิด-19 และรักษาหายแล้วจะยังมีภูมิต้านทานอยู่ในร่างกาย แต่ภูมิต้านทานนั้นจะค่อย ๆ ลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ใหม่ เพราะฉะนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากที่รักษาหายแล้วภายใน 3-6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันเริ่มตกลง

หลังหายโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนแบบไหน

เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเบื้องต้นอยู่แล้ว การฉีดวัคซีนเพิ่มอีก 1 เข็ม ซึ่งแนะนำเป็นวัคซีนในกลุ่ม mRNA โดยพบว่าจะมีระดับภูมิต้านทานสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน

ผู้ที่ยังไม่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน

หากเป็นผู้ที่อยู่ในระยะกักตัว ไม่แนะนำให้ไปรับวัคซีน ควรรอจนพ้นระยะก่อนแต่อย่างไรก็ตามหากได้รับวัคซีนในขณะที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการโดยไม่รู้ตัว ไม่มีผลอันตรายใดๆ

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19

  1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน หรือพบปะกับคนอื่นๆ
  2. เว้นระยะห่างกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเปิดหน้ากากกินอาหาร
  3. ไม่ใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกับผู้อื่น เช่น ไม่ใช้ช้อน ส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ ร่วมกับคนอื่น
  4. รับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ร้อนๆ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก การรับรู้รสหรือกลิ่นเปลี่ยนไป (ไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกอย่างที่กล่าวมา) และหากคิดว่ามีความเสี่ยงจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนใดคนหนึ่ง ควรลองตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองจาก ATK และรักษาระยะห่างกับคนในบ้าน หากพบว่าติดเชื้อ (2 ขีด) ติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิการรักษาต่อไป (บัตรทอง ประกันสังคม ฯลฯ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook