จริงหรือไม่ “กาแฟ” อันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ-ความดันสูง-กระเพาะอาหาร-เบาหวาน

จริงหรือไม่ “กาแฟ” อันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ-ความดันสูง-กระเพาะอาหาร-เบาหวาน

จริงหรือไม่ “กาแฟ” อันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ-ความดันสูง-กระเพาะอาหาร-เบาหวาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คาเฟอีนในกาแฟ จะส่งผลอันตรายต่อหัวใจ ความดันโลหิต กระเพาะอาหาร และเบาหวานของผู้ป่วยที่มีโลกเหล่านี้เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้วหรือไม่

กาแฟ vs โรคหัวใจ

นพ.เบญจ์ องควานิช อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลตำรวจ ระบุว่า คาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟสามารถรบกวนการทำงานของโรคหัวใจได้จริง แต่จากงานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกพบว่า การกินกาแฟไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว รวมไปถึงไม่ได้เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้อีกด้วย

อย่างไร แม้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจจะยังสามารถดื่มกาแฟได้ แต่ควรควบคุมปริมาณในการดื่มที่เหมาะสม

กาแฟ vs ความดันโลหิตสูง

การดื่มกาแฟ ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้จริง เพราะการดื่มกาแฟอาจเข้าไปเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน Catecholamines, Adrenaline, Epinephrine ในร่างกายที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคนเป็นทุนเดิมด้วย บางคนดื่มกาแฟแล้วระดับฮอร์โมนอาจไม่สูงขึ้น หรือบางคนอาจสูงขึ้นได้ 

ดังนั้นอาจจะไม่ได้ห้ามผู้ป่วยความดันโลหิตสูงดื่มกาแฟ แต่ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ไม่ดื่มก่อนไปออกแรง ใช้งานร่างกายหนักๆ เช่น ไปออกกำลังกาย ไปทำงานบ้านหนักๆ

กาแฟ vs กระเพาะอาหาร

กาแฟ มีฤทธิ์ที่อาจจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้จริง แต่มีงานวิจัยหนึ่งที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารว่า ในบรรดาโรคที่เกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร และในระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อน คาเฟอีนในกาแฟไม่ได้เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงให้กับโรคเหล่านี้เลย

ดังนั้น แพทย์ลงความเห็นว่า ผู้ป่วยกลุ่มกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหารต่างๆ สามารถดื่ม

ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของกระเพาะอาหารค่อนข้างเด่นชัด เช่น เพิ่งมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์อาจพิจารณาให้งดการดื่มกาแฟไปก่อนได้

กาแฟ vs เบาหวาน

กาแฟ สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำตาลเพิ่ม เพราะมันไปสร้างการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น สำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้ดีมาโดยตลอด ก็พอจะดื่มกาแฟเป็นครั้งคราวได้ แต่แนะนำให้ดื่มเป็นครั้งคราว ไม่ดื่มบ่อยจนเกินไป และไม่ผสมน้ำตาล และครีมเยอะจนเกินไป

กาแฟ vs ขาดวิตามินบี 1

หากถึงขั้นที่ร่างกายอยู่ในภาวะขาดวิตามินบี 1 แล้ว ก็ควรหยุดดื่มกาแฟไปก่อน เพราะกาแฟอาจเข้าไปลดการดูดซึมของวิตามินบี 1 ได้ ร่างกายก็จะดูดซึมวิตามินบี 1 ได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้วิตามินบี 1 ที่เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้น วิตามินบีในเลือดก็จะลดลง

ดื่มกาแฟอย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ

  1. อย่าดื่มมากเกินไป ไม่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 300 มิลลิกรัม หรือราวๆ 3 แก้ว
  2. อย่าใส่ครีมเทียม หรือน้ำตาลมากเกินไป เพราะทำให้กาแฟเหล่านั้นมีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น ไตรกลีเซอไรด์ก็สูงขึ้น

ใครอยากลดการดื่มกาแฟ ควรค่อยๆ ลดลงทีละเล็กละน้อย การหักดิบหรือหยุดไปเฉยๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงจากการหยุดคาเฟอีนกะทันหันได้ เช่น อาการปวดศีรษะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook