"ฮีทสโตรก" อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง "วิ่งมาราธอน"

"ฮีทสโตรก" อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง "วิ่งมาราธอน"

"ฮีทสโตรก" อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง "วิ่งมาราธอน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • ก่อนเกิดอาการฮีทสโตรก โดยทั่วไปอาจมีอาการหน้ามืด เหงื่อออกมาก อัตราการเต้นของหัวใจสูง แต่เบา เป็นตะคริวซึงเป็นอาการของภาวะลมแดด หากละเลยอาการเหล่านี้ อาจทำให้เกิดฮีทสโตรกตามมาได้  
  • สำหรับการวิ่งที่ยาวนานกว่า 4 ชั่วโมง  การดื่มน้ำผสมเกลือแร่มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายเสียทั้งน้ำและเกลือแร่  โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนจัด 
  • ฮีทสโตรกส่งผลให้ระบบหลอดเลือดสูญเสียการควบคุม มีสารพิษตกค้าง เกิดภาวะการอักเสบแบบวงกว้าง ลิ่มเลือดอุดตันกระจายตัว ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดเปราะบางภายในสมอง ส่งผลให้ชักเกร็ง หมดสติ หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจเสียชีวิตได้ 

หลังข่าวชาวต่างชาติเข้าร่วมวิ่งอัลตร้าเทรลที่เกาะช้าง เกิดฮีทสโตรกจนไตวาย กล้ามเนื้อสลาย ต้องการเกล็ดเลือดด่วน  ทำให้หลายคนสนใจและตระหนักถึงความปลอดภัยของการวิ่งเทรลมากขึ้น  

การวิ่งเทรล กับความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ

การวิ่งเทรล (Trail running) เป็นการวิ่งแบบผสมผสาน ระหว่างการวิ่งและการเดินเขา  เส้นทางวิ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่าและตามเนินเขา  โดยแต่ละเส้นทางมีค่าความสูงสะสม (Elevation gain) หรือระดับความชันแตกต่างกันออกไป ซึ่งระยะการแข่งขันในไทยมีตั้งแต่ 15- 100 กิโลเมตร หากการวิ่งเทรลมีระยะมากกว่า 42 กิโลเมตร  จะเรียกว่าการวิ่งเทรล-อัลตร้า (Trail-ultra) หรืออัลตร้าเทรล    

ปัจจุบัน การวิ่งในลักษณะต่างๆ มีมากขึ้น  พร้อมกับข่าวผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากขึ้นเช่นกัน  ส่วนใหญ่ประสบปัญหาหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า   

อีกปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี และมีช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงเกือบ 40 องศาเซลเซียส คือ ภาวะฮีทสโตรก (Heat stroke) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเสี่ยงถึงชีวิตได้ 

เจาะลึกภาวะฮีทโตรก (Heat stroke)

ฮีทสโตรก (Heat stroke) เป็นภาวะทางระบบประสาทเฉียบพลัน สาเหตุจากความร้อน มีอุณหภูมิแกนกลางสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยปกติเมื่อออกกำลังกาย ความร้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยมีเลือดเป็นตัวพาความร้อนออกสู่ภายนอกร่างกาย ผ่านกระบวนการที่หลอดเลือดบริเวณผิวหนังเกิดการขยายตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น

ส่งผลให้ผิวแดงและอุ่นขึ้น รวมถึงร่างกายอาศัยการขับเหงื่อเป็นกลไกสำคัญ ในการพาความร้อนออกจากร่างกาย  และการพาความร้อนโดยลมที่พัดผ่านบริเวณผิวหนัง  ในวันที่อาการร้อนมากๆ ความแตกต่างของอุณหภูมิผิวหนังและอากาศอาจแตกต่างกันน้อยมาก ซึ่งการระบายความร้อนของร่างกายจะอาศัยการระเหยของเหงื่อเป็นหลัก จึงทำได้น้อย ส่งผลให้การระบายความร้อนนั้นยากลำบากขึ้น

นอกจากนั้น การเผชิญกับความร้อนเป็นเวลานาน หากพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์สูง หรืออากาศร้อนอบอ้าว จะส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนได้ยากลำบาก ซึ่งร่างกายจะตอบสนองอัตโนมัติ กระตุ้นให้หลอดเลือดผิวหนังขยายตัวมากขึ้น  สูญเสียเหงื่อมากขึ้น  สารน้ำในระบบแกนกลางที่ไหลเวียนไปยังหัวใจลดลง จนเกิดภาวะลมแดด (Heat syncope ) มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติได้

ฮีทสโตรกจนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน อาจถึงขั้นเสียชีวิต

ฮีทสโตรกอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และเกลือแร่เสียสมดุล (Electrolyte imbalance) ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานแย่ลง ทำให้เป็นตะคริวและมีอาการเพลียแดด  หากปล่อยไว้จนอุณหภูมิแกนกลางร่างกายสูงต่อเนื่อง จนระบบกล้ามเนื้อทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเกิดภาวะสลาย (Rhabdomyolysis)  ระบบการทำงานภายในร่างกายล้มเหลว  ปล่อยสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลต่อการทำงานของไต เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (Renal failure)

นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบหลอดเลือดสูญเสียการควบคุม มีสารพิษตกค้าง เกิดภาวะการอักเสบแบบวงกว้าง (Inflammatory response) ลิ่มเลือดอุดตันกระจายตัว ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดเปราะบางภายในสมอง ส่งผลให้ชักเกร็ง หมดสติ สุดท้าย อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว (Multiple organ failures) หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเสียชีวิตได้

สาเหตุของภาวะฮีทสโตรก

สาเหตุของภาวะฮีทสโตรกมีปัจจัยต่างๆ ร่วมกัน  ดังนี้ 

  • ความร้อน
  • ผู้มีความเสี่ยง เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว  รวมถึงผู้ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน
  • เวลา คือ เผชิญกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน เช่น การเล่นกีฬากลางแจ้ง ขี่จักรยาน และวิ่งระยะไกล

อาการฮีทสโตรก

ก่อนเกิดฮีทสโตรก โดยทั่วไปอาจมีภาวะลมแดดหรือเพลียแดดก่อน  คือ 

  • หน้ามืด
  • เหงื่อออกมาก
  • อัตราการเต้นของหัวใจสูง แต่เบา
  • เป็นตะคริว

หากละเลยอาการลมแดด อาจทำให้เกิดฮีทสโตรกตามมา โดยมีอาการ ดังนี้ 

  • ปวดศีรษะ สับสน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไม่มีเหงื่อ ตัวแห้ง
  • ผิวแดง ร้อน
  • ชักเกร็ง
  • หมดสติ

การปฐมพยาบาลนักวิ่งที่เกิดภาวะฮีทสโตรก

หากพบว่าเริ่มมีอาการ พยายามหาที่เย็นๆ มีลมพัดผ่าน ควรปลดเสื้อผ้าให้หลวม  ดื่มน้ำทดแทนอย่างช้าๆ  เนื่องจากความสามารถในการดูดซึมน้ำและสารอาหารลดลง  จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดบริเวณข้อพับ รวมถึงการเอนตัวลงนอนพัก ซึ่งจะช่วยให้เลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น หากอาการแย่ลงควรแจ้งแพทย์หรืออาสาสมัครของงานวิ่งทันที  

กรณีพบผู้ร่วมแข่งขันเป็นลม หมดสติสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้ 

  • พยายามลดอุณหภูมิร่างกาย เช่น ประคบน้ำแข็งตามข้อพับแขนขา รักแร้ ต้นคอ    
  • ติดต่อหมายเลขฉุกเฉิน เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที 

การป้องกันภาวะฮีทสโตรก

อันที่จริงแล้ว ร่างกายมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความร้อนที่สะสมในร่างกายหรือเมื่อเผชิญอากาศร้อน โดยการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณผิวหนังมากขึ้น  ส่งผลให้เหงื่อออกเร็วขึ้น รวมถึงร่างกายจะลดปริมาณโซเดียมที่เสียไปกับเหงื่อให้น้อยลง โดยการระบายความร้อนของนักกีฬาขึ้นอยู่กับความสามารถของร่างกายในการปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศ อัตราการสร้างเหงื่อ เสื้อผ้า และสมรรถภาพทางกาย (Fitness level)

การออกกำลังกายในสภาวะอากาศร้อน

ในวงการกีฬาและแพทย์หลายท่าน มีคำเตือนและคำแนะนำการออกกำลังกายในสภาวะอากาศร้อน โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ดังนี้ 

  • ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงหรือไม่  
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน สามารถทำได้โดยซ้อมดื่มมาก่อน ไม่ให้น้ำหนักลดเกิน 3% จากก่อนออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้เกลือแร่ในร่างกายต่ำลง ซึ่งอัตราการดูดซึมของเหลวของร่างกายมากที่สุดประมาณ 1.2 ลิตรต่อชั่วโมง จึงไม่ควรดื่มเกินกว่านี้  
  • ดื่มเครื่องดื่มที่สามารถชดเชยภาวะขาดน้ำ เช่น นม น้ำส้ม หรือน้ำอัดลม   
  • รับประทานโซเดียมมากขึ้นในช่วงซ้อมหรือแข่งในช่วงอากาศร้อนจัด รวมถึงเพิ่มคาร์โบไฮเดรตประมาณ 60 กรัม/ชม.  
  • การทำร่างกายให้เย็นก่อนและระหว่างแข่ง โดยพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด   
  • สวมแว่นกันแดดที่มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันแสงยูวีได้ 
  • ทาครีมกันแดดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการระบายเหงื่อ 
  • ใส่เสื้อผ้าสีอ่อนๆ เลือกผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี  
  • ดูพยากรณ์อากาศก่อนวิ่ง โดยบวกลบ อุณหภูมิ  9-10 องศาเซลเซียส 
  • ซ้อมในสภาวะอากาศที่คล้ายกับวันแข่งขันจริง เพื่อทำร่างกายให้คุ้นเคยและปรับตัวกับสภาพอากาศก่อน 1-2 วัน 
  • หยุดวิ่งทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ 

น้ำดื่มผสมเกลือแร่ (Sport drink) จำเป็นต่อนักวิ่งอย่างไร

น้ำดื่มผสมเกลือแร่ที่เหมาะสมควรมีส่วนประกอบ ดังนี้ 

แม้จะมีข่าวอันตรายจากการวิ่งบ่อยครั้ง แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมที่งดงาม และบรรยากาศของการวิ่งที่หลายคนคิดถึง ทำให้การลงแข่งขันวิ่งรายการต่าง ๆ ยังคงคึกคักและน่าเข้าร่วมอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม การฝึกซ้อม การทำความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมตัวต่อสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ตัวการสำคัญของภาวะฮีทสโตรก จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการทำงานของอวัยวะร่างกายล้มเหลว และเหตุการณ์ที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต 

  • ปริมาณน้ำตาลกลูโคสอยู่ระหว่าง 4-8 %หรือ 4-8 กรัมต่อน้ำ 100 มล. หากมีน้ำตาลฟรุกโตสผสมไม่ควรมากกว่า 3%       
  • โซเดียมประมาณ 30 - 70 มก. / 100 มล.
    ส่วนผสมที่เหมาะสมของน้ำ กลูโคส และโซเดียม จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เร็วขึ้น  สิ่งสำคัญ คือ ทั้งกลูโคสและโซเดียมช่วยกันส่งเสริมให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้รวดเร็วขึ้นกว่าการดื่มน้ำเปล่า

    นอกจากนี้ ร่างกายมีความสามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นพลังระหว่างออกกำลังกายประมาณ 60 กรัม/ชม. ดังนั้น น้ำดื่มผสมเกลือแร่ที่มีคุณภาพ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการวิ่งที่ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมง

    สำหรับการวิ่งที่ยาวนานกว่า 4 ชั่วโมง  การดื่มน้ำผสมเกลือแร่มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายเสียทั้งน้ำและเกลือแร่  โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนจัด การดื่มน้ำเปล่าปริมาณมากอาจเจือจางความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด

    หากดื่มน้ำมากกว่าที่เสียไป อาจทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ หรือภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกินแบบเจือจาง (Dilutional hyponatremia)   อาจทำให้เสียชีวิตได้ และเรื่องเศร้าเช่นนี้ มักพบบ่อยในการวิ่งระยะยาวหรือการวิ่งที่มีความยากลำบาก อย่างอัลตร้าเทรล โดยเฉพาะในประเทศที่มีอากาศร้อน และร้อนจัดเมื่อถึงฤดูร้อน

แม้จะมีข่าวอันตรายจากการวิ่งบ่อยครั้ง แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมที่งดงาม และบรรยากาศของการวิ่งที่หลายคนคิดถึง ทำให้การลงแข่งขันวิ่งรายการต่าง ๆ ยังคงคึกคักและน่าเข้าร่วมอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม การฝึกซ้อม การทำความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมตัวต่อสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ตัวการสำคัญของภาวะฮีทสโตรก จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการทำงานของอวัยวะร่างกายล้มเหลว และเหตุการณ์ที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook