วิจัยเผย คนเสี่ยงติดโควิด-19จาก "อากาศ" มากกว่า "สัมผัสสิ่งของ" ถึง 1,000 เท่า

วิจัยเผย คนเสี่ยงติดโควิด-19จาก "อากาศ" มากกว่า "สัมผัสสิ่งของ" ถึง 1,000 เท่า

วิจัยเผย คนเสี่ยงติดโควิด-19จาก "อากาศ" มากกว่า "สัมผัสสิ่งของ" ถึง 1,000 เท่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานนี้คงรักหน้ากากอนามัยมากขึ้นกว่าเดิม หลังนักวิจัยเผยแล้วว่าโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 นี้ ส่วนใหญ่ติดผ่านสัมผัสเชื้อทางละอองเสมหะที่แพร่ผ่านอากาศ (Airborne) มากกว่าสัมผัสเชื้อบนพื้นผิว

โดยดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้เผยความจริงดังกล่าวแล้วว่า อย่างที่ทราบกันดี ไวรัสโรคโควิด-19 สามารถติดได้จากการหายใจรับไวรัสเข้าไปโดยตรง และการสัมผัสเชื้อจากพื้นผิวที่ปนเปื้อนกับไวรัส แต่ทว่าการที่เราหายใจโดยไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อมากกว่าการจับสิ่งของร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ล้างมือ มากกว่าถึง 1,000 เท่า

ซึ่ง ดร.อนันต์ อิงความรู้มาจากผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำการตรวจหาโอกาสการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (ไวรัสโควิด) ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ทั้งจาก 215 ตัวอย่างที่เป็นอากาศ และ 517 ตัวอย่างที่เป็นวัตถุ พบว่า อัตราการติดเชื้อผ่านการสัมผัสสิ่งของมีโอกาสเกิดแค่ 1 ใน 100,000 เท่านั้น กลับกันแล้ว อัตราการติดเชื้อผ่านการหายใจ มีโอกาศเสี่ยงถึง 1 ใน 100

หากถอดภาษาวิทยาศาสตร์มาเป็นภาษาบ้านๆ ก็จะเท่ากับว่า สิ่งของ 1 ชิ้น หากให้คนนับแสนคนมาสัมผัสทีละคน จะมีเพียง 1 ใน 100,000 คนเท่านั้นที่ติดเชื้อโควิด แต่หากปล่อยให้คน 100 คนหายใจในพื้นที่เดียวกัน(แบบไม่ใส่หน้ากากอนามัย) ใน 100 คนนั้นจะมีคนติดโควิด 1 คน

อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตราการรักษาโควิด-19 ให้เบาลง และประชาชนสามารถถอดหน้ากากอนามัยหายใจในที่สาธารณะได้แล้ว นั่นก็เพราะรัฐสามารถจัดสรรพื้นที่ให้ผู้คนสามารถเว้นระยะห่างได้ (social distancing) รวมถึงมีจำหน่ายวัคซีนคุณภาพทั่วถึง  กลับกันในประเทศที่ต้องเบียดเสียดบนรถเมล์ หน้ากากอนามัยยังคงเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ที่สำคัญต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook