“ส้นเท้าแตก” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรถึงจะถูกวิธี

“ส้นเท้าแตก” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรถึงจะถูกวิธี

“ส้นเท้าแตก” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรถึงจะถูกวิธี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครที่มีส้นเท้าแตก แก้ปัญหากันอย่างไรบ้าง ใครเอาตะไบถู กรรไกรเล็ม หรือขัดแรงๆ ลองมาเช็กเลยว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องหรือเปล่า

ส้นเท้าแตก มีอาการอย่างไร

อาการส้นเท้าแตก คืออาการที่ส้นเท้ามีความแห้ง หนา หยาบ แข็ง จนแตกและแยกออกมาเป็นแผ่น หากรอยแตกของแผลไปจนถึงด้านใน อาจทำให้เป็นแผลเลือดออกหรือมีอาการเจ็บแสบได้

อาการส้นเท้าแตก มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นและแห้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกเมื่อ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

ส้นเท้าแตก เกิดจากอะไร

  • อากาศที่แห้งหรือหนาวเย็น 
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ 
  • ดื่มน้ำน้อย 
  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นที่ร้อนจนเกินไป แช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลานานหรือบ่อยเกินไป 
  • ใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง ไม่ทาครีมบำรุงที่ทำให้เท้ามีความชุ่มชื้น 
  • การขัดเท้ารุนแรงเกินไป
  • การใส่รองเท้าที่ไม่ถนอมเท้าหรือเปิดผิวเท้ามากเกินไป 
  • มีภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก 
  • เป็นผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

อันตรายของอาการส้นเท้าแตก

นอกจากอาการส้นเท้าแตกจะไม่น่ามองในเรื่องของความสวยความงามแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับคนที่เป็นเพราะอาจมีอาการเจ็บแสบจากการเป็นแผล และหากปัญหาส้นเท้าแตกถูกปล่อยไว้จนเป็นแผลลึกและไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน

วิธีรักษาอาการส้นเท้าแตกที่ถูกต้อง

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่บำรุง ให้ความชุ่มชื้นกับผิวบริเวณส้นเท้า โดยเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดครีม โลชั่น ที่บำรุงผิวในส่วนของส้นเท้า เพื่อลดปัญหาส้นเท้าแตกโดยเฉพาะ อาจเป็นครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของ ไดเมทิโคน (Dimethicone) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง และเพิ่มความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำให้แก่ผิว ลดการเกิดหนังที่หนาและด้านจากภาวะผิวแห้งที่จะทำให้เกิดผิวส้นเท้าแตกตามมา รวมถึงครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้น หรือครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมัน
  2. ทาปิโตรเลียม เจลลี่ บริเวณที่เป็นส้นเท้าแตก ควรทาไว้ก่อนนอนแล้วสวมถุงเท้าทับ ให้ผิวบริเวณส้นเท้าที่แตกได้ดูดซับความชุ่มชื้นจากเจลไปตลอดคืนในระหว่างที่นอน
  3. ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอ
  4. ไม่ใช้สบู่ที่มีสารเคมีเข้มข้นหรือที่มีส่วนผสมทำให้ผิวแห้งได้ เลือกใช้สบู่ที่ถนอมผิว ไม่ก่ออาการแพ้ ไม่ระคายเคืองผิว และไม่ทำให้ผิวแห้ง
  5. ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  6. เลือกสวมใส่รองเท้าที่พื้นรองเท้านุ่ม ถนอมเท้า หรือสวมถุงเท้าผ้าหนา เพื่อช่วยถนอมผิวส้นเท้า

หากอาการส้นเท้าแตกไม่ดีขึ้น ควรแก้ไขอย่างไร

ในบางรายที่มีปัญหาส้นเท้าแตกอย่างรุนแรง จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำอย่างมาก หรือแผลที่ส้นเท้าแตกเจ็บแสบมาก หรือติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี โดยแพทย์อาจพิจารณาวิธีรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็น

  1. ผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะตัดเอาผิวหนังแตกบางส่วนที่แข็งและหนาออกไป ควรให้แพทย์เป็นผู้ทำให้เท่านั้น หากทำเองอาจเสี่ยงแผลติดเชื้อได้
  2. ใช้ผ้าพันปิดบาดแผล เพื่อลดแรงกระเทือนและการฉีกขาดของแผลที่ส้นเท้า
  3. รักษาด้วยยา ทั้งยาทา ยากิน หรือทั้งสองอย่าง เพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบที่เกิดขึ้น หรือยาประเภทครีมที่มีส่วนผสมของยูเรียหรือกรดซาลิไซลิก
  4. เสริมพื้นรองเท้า โดยใช้แผ่นยางรองรองเท้าเพื่อผ่อนน้ำหนักและแรงกดที่ส้นเท้า ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการและความรุนแรงของอาการส้นเท้าแตกได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook