“แมลงมีพิษ” กัดต่อย แพ้รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต

“แมลงมีพิษ” กัดต่อย แพ้รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต

“แมลงมีพิษ” กัดต่อย แพ้รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แมลงมีพิษกัดต่อย แพ้รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต มาทำความรู้จักอาการแพ้รุนแรง ลักษณะของอาการ และข้อพึงระวังและสิ่งที่ต้องพึงระวัง พร้อมแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการแพ้ หากมีความรู้ความเข้าใจในอาการของโรคสามารถเฝ้าระวัง จะช่วยลดโอกาสเกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) เป็นภาวะฉุกเฉิน ที่มีปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น มักมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีอาการแสดงในหลายระบบ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดจากอาหาร ได้แก่ 

  • อาหารทะเล 
  • นม 
  • ไข่ 
  • แป้งสาลี 

สาเหตุรองได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น 

  • penicillin 
  • cephalosporin 
  • sulfonamide 
  • quinolone
  • macrolides

สาเหตุที่มักพบร่วมได้บ่อย ได้แก่ แมลงในตระกูล Hymenoptera ได้แก่ 

  • มดมีพิษ เช่น มดคันไฟ มดตะนอย 
  • ผึ้ง 
  • ต่อหัวเสือ
  • แตน

เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการแพ้รุนแรง

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการแพ้รุนแรง ได้แก่ 

  • อายุ พบความรุนแรงในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก 
  • โรคประจำตัว เช่น โรคระบบหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ 
  • การรับประทานยาบางกลุ่ม 

อาการแพ้อย่างรุนแรง เป็นอย่างไรบ้าง

อาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) มักเกิดในระยะเวลา 5-30 นาที หลังได้รับสิ่งกระตุ้นแพ้ โดยอาการแสดงที่พบได้บ่อยสูงสุด คือ 

  • อาการในระบบผิวหนัง ได้แก่ ผื่นลมพิษ(urticaria) อาการปากบวมตาบวม (angioedema) ซึ่งพบได้ 85-90%
  • อาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด 
  • อาการในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เวียนศีรษะ เป็นลม ความดันโลหิตลดลง
  • อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง ตามลำดับ

วิธีปฐมพยาบาล ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวถึงการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ขั้นแรกให้ทำการดูแลปฐมพยาบาลเรื่องทางเดินหายใจ (airway) การหายใจ (breathing) ระบบไหลเวียนโลหิต (circulation) ร่วมกับรีบให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยยา ได้แก่ 

  • epinephrine 
  • antihistamine 
  • corticosteroid 
  • ยาพ่นขยายหลอดลม 
  • การให้สารน้ำทางเส้นเลือด 

วิธีป้องกันอาการแพ้รุนแรง

แนวทางการป้องกันการเป็นซ้ำ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยภาวะอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ควรได้รับความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และรู้วิธีปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการ รวมถึงการให้ผู้ป่วยอาการแพ้รุนแรง พกยาฉีด epinephrine ติดตัวเพื่อให้สามารถใช้รักษาพยาบาลได้รวดเร็ว เมื่อมีอาการแพ้รุนแรงเกิดขึ้น อาการแพ้รุนแรงหรือ anaphylaxis เป็นภาวะที่สามารถเฝ้าระวังและให้การรักษาได้หากมีความรู้ความเข้าใจในอาการของโรค และการให้การรักษาได้อย่างทันท่วงทีจะช่วยลดโอกาสเกิดความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook