วัคซีน "แอสตร้าฯ" ได้รับอนุญาตให้ใช้ฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ในยุโรป
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในสหภาพยุโรป
การอนุมัตินี้เกิดขึ้นหลังจากคำแนะนำของคณะกรรมการพิจารณายาสำหรับมนุษย์ของสหภาพยุโรป ในการอนุมัติให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของยุโรป (EMA) ให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในผู้ใหญ่
ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป
การอนุมัติครั้งนี้ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณายาสำหรับมนุษย์ของสหภาพยุโรป (CHMP) ด้วยข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ให้เห็นถึงระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังจากที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA1-5
แม้ว่ากว่า 65% ของประชากรโลกจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม6 แต่การเพิ่มจำนวนประชากรให้ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็มและเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากการอนุมัตินี้บุคลากรทางการแพทย์จะมีตัวเลือกมากขึ้นในการแนะนำวัคซีนให้แก่ประชาชน
เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซเนก้า กล่าวว่า “การอนุมัติให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้นั้นถือเป็นก้าวที่สำคัญในการไปสู่เป้าหมายของเราที่ต้องการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กันประชากรทั่วโลก ซึ่งการดูแลภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคให้ยาวนานขึ้นเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมและจัดการโรคนี้ได้ในระยะยาวได้ ซึ่งวัคซีนเข็มกระตุ้นนี้จะมาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามระยะเวลาหลังจากที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกแล้ว”
มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่ให้การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม หลังจากได้รับวัคซีนสองเข็มแรกชนิดต่างๆ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีน mRNA และวัคซีน CoronaVac1,7-12
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนชนิดเดียวกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า) ในสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกา นอกจากนั้นยังได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนต่างชนิดกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนไวรัล เวคเตอร์ อื่นที่ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีนเชื้อตาย หรือวัคซีน mRNA) ในหลายประเทศนอกสหภาพยุโรป
จากข้อมูลการศึกษาแบบจำลองในการประเมินผลกระทบของโรคโควิด-19 ทั่วโลก13 พบว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 กว่า 50 ล้านราย ป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 5 ล้านราย และได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-1913
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนชนิด ไวรัล เวคเตอร์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไปซึ่งทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวและไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้เทคโนโลยีวัคซีนนี้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาทิ ไข้หวัดใหญ่, อีโบลา, และ HIV14 เป็นต้น
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 90 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ (COVAX)
ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD