ใส่บอลลูน VS ผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบบไหน "ลดน้ำหนัก" ดีกว่ากัน

ใส่บอลลูน VS ผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบบไหน "ลดน้ำหนัก" ดีกว่ากัน

ใส่บอลลูน VS ผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบบไหน "ลดน้ำหนัก" ดีกว่ากัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคปัจจุบันคนให้ความสำคัญในเรื่องของรูปร่างมาเป็นอันดับต้นๆ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเพื่อสร้างเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองเท่านั้น แต่ "ความอ้วน" นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคทางเดินหายใจ จึงมีวิธีลดความอ้วนหลากหลายวิธีในปัจจุบันที่เข้ามาเป็นตัวช่วยให้การลดน้ำหนักง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำบอลลูนลดความอ้วน หรือ การผ่าตัดกระเพาะอาหาร แล้วทั้งสองวิธีนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร?

การทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric balloon)

นายแพทย์ วชิรพงศ์ เอกไพบูลย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า การทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร คือการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารด้วยการใช้เทคนิคการส่องกล้อง แล้วใส่น้ำเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลง ทำให้คนไข้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา วิธีนี้จะใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งเหมาะกับลดน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัมโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย วิธีนี้ จะใช้เวลาพักฟื้นเร็วกว่าวิธีการผ่าตัด เนื่องจากไม่มีแผล ใช้เวลาในการดำเนินการไม่นาน ประมาณ 15 – 30 นาที และสามารถปรับขนาดของบอลลูนได้ตามความเหมาะสมของคนไข้ ซึ่งจะใช้เวลาในการใส่บอลลูนนานประมาณ 1 ปี สามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 18 - 24 กิโลกรัม โดยที่ไม่กลับมาโยโย่อีก เนื่องจากในระหว่างที่ใส่บอลลูน จะมีการปรับพฤติกรรมการกินไปในตัว

ข้อดีในการใส่บอลลูน

  • ใช้เวลาในการพักฟื้นเร็ว
  • ลดความอยากอาหาร อิ่มเร็ว
  • จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียในการใส่บอลลูน

  • มีการคลื่นไส้เล็กน้อยใน 1-2 สัปดาห์แรก
  • ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีกรดไหลย้อนชนิดรุนแรง แผลที่กระเพาะอาหาร

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

จุดประสงค์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหารคือควบคุมพฤติกรรมการกิน เนื่องจากกระเพาะเล็กลงจะทำให้อิ่มเร็วขึ้น กินได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระเพาะอาหารจะทำได้เฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน แต่ใช้วิธีลดความอ้วนวิธีอื่นๆ มาแล้วไม่ได้ผล เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือกินยาลดความอ้วน ข้อควรระมัดระวังสำหรับวิธีลดความอ้วนวิธีนี้คือ มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับการผ่าตัดอื่น ๆ ดังนั้น คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย

ข้อดีผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  • ช่วยให้กระเพาะอาหารเล็กลง
  • ลดความอยากอาหาร
  • จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  • มีผลข้างเคียงเหมือนกับการผ่าตัดทั่วไป
  • ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว
  • มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง

การตัดสินใจว่าจะเลือกการรักษาในรูปแบบใดนั้นควรเข้ามาปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด และเข้ากับร่างกายของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook