ไขข้อข้องใจ น้ำมันมะพร้าว ลดน้ำหนักได้ จริงหรือไม่

ไขข้อข้องใจ น้ำมันมะพร้าว ลดน้ำหนักได้ จริงหรือไม่

ไขข้อข้องใจ น้ำมันมะพร้าว ลดน้ำหนักได้ จริงหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระแสของการกินน้ำมันมะพร้าวมีมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่สามารถระบุได้ว่าต้นกำเนิดของความเชื่อที่ว่า “น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนัก” มาจากไหน แต่ความเชื่อนี้ทำให้หลายคนหาซื้อน้ำมันมะพร้าวมากินเป็นช้อนๆ ต่อวันกันเลยทีเดียว

น้ำมันมะพร้าว ช่วยลดน้ำหนักได้ จริงหรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถใช้ลดน้ำหนักได้

ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จากรายงานการศึกษาทางคลินิก ในประเทศบราซิล ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะพร้าวและกลุ่มที่รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ทำให้น้ำหนักตัวและ body mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง รวมถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้น

จากการทดลองสรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลอง และไม่ทำให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวม ไขมันตัวร้าย(LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วย แต่การศึกษานี้ทำการทดสอบในกลุ่มคนจำนวนน้อย และระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่ำและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ(4 วัน/สัปดาห์) ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดีจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูผลของน้ำมันมะพร้าวต่อการลดน้ำหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาว ดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลต่อการลดน้ำหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ทางด้านของ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ ดร.วนะพร ทองโฉม หรือ อ.เอ็กซ์ อาจารย์กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เพิ่ม HDL ให้กับร่างกายอย่างเดียว แต่ยังเพิ่ม LDL หรือไขมันเลวด้วย และยังเพิ่มในสัดส่วนที่มากกว่า HDL เสียอีก

ประโยชน์ของนำมันมะพร้าว

อ.พญ.ณิชา สมหล่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวว่า สามารถนำน้ำมันมะพร้าวมาสกัดทำ MCT oil (Medium Chain Triglycerides หรือกรดไขมันอิ่มตัวสายกลางชนิดหนึ่ง) ได้ เพราะ MCT oil ดูดซึมเร็ว และเอาไปใช้ได้เร็วนำไปใช้ทำอาหารในกลุ่มคนไข้ที่มีปัญหา การดูดซึม หรือพวก ketogenic diet ในคนไข้เด็กลมชัก

ข้อคววระวังในการรับประทานน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็น (essential fatty acid) ต่ำ หากรับประทานในปริมาณมาก อาจมีผลข้างเคียงทำให้ท้องเสียได้

นอกจากนี้ อ. นพ.วิทวัส แนววงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวถึง 90% ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีที่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด โดยไม่ควรเกินร้อยละ 7 ของพลังงานรวมในแต่ละวัน

น้ำมันมะพร้าว ยังไม่สามารถลดไขมันในเลือดได้ และการบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคมากเกินความจำเป็น ยังอาจเพิ่มไขมันเลวชนิด LDL-C ในร่างกาย และยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย

กินน้ำมันมะพร้าวอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ ดร.วนะพร ทองโฉม หรือ อ.เอ็กซ์ อาจารย์กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เราสามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ โดยนำมาปรุงอาหารตามปกติ ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป หรือราวๆ 1 ช้อนโต๊ะ ไม่ควรนำมารับประทานเป็นอาหารเสริม หรือรับประทานสดๆ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook